Blog Detail

ในคำพูดนี้ที่พระเยซูตรัสว่า อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน

11 เม.ย. 20
Sunete
No Comments

ครั้นพระองค์ได้เสด็จเข้าไปในเรือนพ้นประชาชนแล้ว เหล่าสาวกของพระองค์ก็ได้ทูลถามพระองค์ถึงคำอุปมานั้น พระองค์จึงตรัสแก่เขาว่า “ถึงท่านทั้งหลายก็ยังไม่เข้าใจหรือ ท่านยังไม่เห็นหรือว่าสิ่งใดๆแต่ภายนอกที่เข้าไปภายในมนุษย์จะกระทำให้มนุษย์เป็นมลทินไม่ได้ 19 เพราะว่าสิ่งนั้นมิได้เข้าในใจ แต่ลงไปในท้องแล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป (ทำให้อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน)  พระองค์ตรัสว่า “สิ่งที่ออกมาจากภายในมนุษย์ สิ่งนั้นแหละทำให้มนุษย์เป็นมลทิน (มาระโก 7:17-20)

ผมเพิ่งอ่านบทความว่าประเทศจีนได้จัดประเภทสุนัขใหม่ให้เป็นสัตว์เลี้ยงมากกว่าเป็นสัตย์ที่ใช้เป็นอาหาร เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของ โควิด-19 พวกเราส่วนใหญ่มักเกิดความสงสัยว่า (โดยเฉพาะชาวตะวันตก) มีบางคนกินสุนัขเป็นอาหารด้วยหรือ

เมื่อพระเยซูอ้างถึง ‘อาหารทุกอย่าง’ พระองค์จัดว่าอะไรเป็นอาหาร ในพระคัมภีร์หรืออ้างถึงอาหารที่กินในเวลานั้นทั่วโลก? เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจว่าพระเยซูจัดประเภทอะไรเป็นอาหารโดยอ่านพระคัมภีร์ในบริบทอย่างเหมาะสม

มาระโก 7: 1-23 เป็นข้อพระคัมภีร์สำคัญที่ใช้ทุกวันนี้เพื่อใช้ในการสอนซึ่งเป็นหลักคำสอนของคริสตจักรที่ ว่า พระเยซูทรงประกาศว่าอาหารทุกอย่างสะอาดรวมถึงสิ่งที่แยกประเภทไว้ในพระคัมภีร์ว่าเป็นสัตว์ไม่สะอาดห้ามกินนั้นด้วย (เลวีนิติ 11)

ข้อพระคัมภีร์อื่น ๆ ที่ใช้สำหรับการโต้แย้งนี้คือ:

  • กิจการ 10:15 นิมิตของเปโตรที่เห็นมีภาพผ้าผืนใหญ่และมีสัตว์ที่ไม่สะอาด
  • และสิ่งที่เปาโลเขียนในโรม 14:14

เราจะดูพระคัมภีร์เหล่านี้ในบริบทที่เหมาะสมของเนื้อเรื่องที่พยายามจะบอกกับเรา

มาระโก 7:1-23  สะอาดและไม่สะอาด

เมื่ออ่านเนื้อเรื่องทั้งหมดคุณจะสังเกตเห็นว่าไม่มีการอ้างถึงอาหารที่รับประทานจัดเป็นประเภทเนื้อสัตว์ไม่สะอาดในพระคัมภีร์! เราไม่เห็นว่าพวกฟาริสีอารมณ์เสียเพราะเหล่าสาวกของพระเยซูกำลังกินกุ้งเผาหรือหมูย่าง แต่ที่พวกเขาหัวเสียก็เพราะเหล่าสาวกไม่ได้ล้างมือก่อนที่จะกินอาหารตามธรรมเนียมของตน ซึ่งเป็นบัญญัติของมนุษย์(บัญญัติปากเปล่า/เทลมุด)

มาระโก 7:1-5 ครั้งนั้นพวกฟาริสีกับพวกธรรมาจารย์บางคน ซึ่งได้มาจากกรุงเยรูซาเล็ม พากันมาหาพระองค์ เมื่อเขาได้เห็นเหล่าสาวกของพระองค์บางคนรับประทานอาหารด้วยมือที่เป็นมลทิน คือมือที่ไม่ได้ล้างก่อน เขาก็ถือว่าผิด  เพราะว่าพวกฟาริสีกับพวกยิวทั้งสิ้นถือตามประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษว่า ถ้ามิได้ล้างมือตามพิธีโดยเคร่งครัด เขาก็ไม่รับประทานอาหารเลย และเมื่อเขามาจากตลาด ถ้ามิได้ล้างก่อน เขาก็ไม่รับประทานอาหาร และธรรมเนียมอื่นๆอีกหลายอย่างเขาก็ถือ คือล้างถ้วย เหยือก ภาชนะทองสัมฤทธิ์ และโต๊ะ  พวกฟาริสีกับพวกธรรมาจารย์จึงทูลถามพระองค์ว่า “ทำไมพวกสาวกของท่านไม่ประพฤติตามประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่รับประทานอาหารโดยมิได้ล้างมือเสียก่อน”

ตามบริบทของข้อความทั้งหมดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกินเนื้อสัตว์ที่ไม่สะอาด แต่เกี่ยวข้องกับการกินโดยที่ไม่ได้ล้างมือก่อน ซึ่งตามบัญญัติของมนุษย์ ทำให้คนนั้นไม่สะอาด ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่าคำจำกัดความของพระเยซูเรื่อง ‘อาหารทุกอย่าง’ จะรวมถึงสัตว์ที่ถือว่าไม่สะอาดในบริบทนี้

พระเยซูตอบอย่างชัดเจนในสิ่งที่พระองค์คิดเกี่ยวกับธรรมเนียมและบัญญัติที่มนุษย์สร้างขึ้นมา และเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าใจสิ่งที่พระเยซูพูดจริงกับสาวกของพระองค์ในตอนท้าย เราอ่านคำตอบของพระองค์ตามข้อเหล่านี้

พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “อิสยาห์ได้พยากรณ์ถึงพวกเจ้าคนหน้าซื่อใจคดก็ถูก ตามที่ได้เขียนไว้ว่า `ประชาชนนี้ให้เกียรติเราด้วยริมฝีปากของเขา แต่ใจของเขาห่างไกลจากเรา เขานมัสการเราโดยหาประโยชน์มิได้ ด้วยเอาบทบัญญัติของมนุษย์มาอวดอ้างว่า เป็นพระดำรัสสอน’ เจ้าทั้งหลายละพระบัญญัติของพระเจ้า และกลับไปถือตามประเพณีของมนุษย์ คือการล้างถ้วยเหยือก และสิ่งอื่นๆเช่นนี้อีกหลายสิ่ง เจ้าทั้งหลายก็ทำอยู่” พระองค์ตรัสแก่เขาว่า “เหมาะจริงนะ ที่เจ้าทั้งหลายได้ละทิ้งพระบัญญัติของพระเจ้า เพื่อจะได้ถือตามประเพณีของพวกท่าน  เพราะโมเสสได้สั่งไว้ว่า `จงให้เกียรติแก่บิดามารดาของตน’ และ `ผู้ใดด่าแช่งบิดามารดา ผู้นั้นต้องถูกปรับโทษถึงตาย’ แต่พวกเจ้ากลับสอนว่า `ผู้ใดจะกล่าวแก่บิดามารดาว่า “สิ่งใดของข้าพเจ้าซึ่งอาจเป็นประโยชน์แก่ท่าน สิ่งนั้นเป็นโกระบัน”‘ แปลว่าเป็นของถวายแล้ว เจ้าทั้งหลายจึงไม่อนุญาตให้ผู้นั้นทำสิ่งใดต่อไป เป็นที่ช่วยบำรุงบิดามารดาของตน เจ้าทั้งหลายจึงทำให้พระวจนะของพระเจ้าเป็นหมันไปด้วยประเพณีของพวกท่านซึ่งพวกท่านได้สอนไว้ และสิ่งอื่นๆเช่นนี้อีกหลายสิ่ง เจ้าทั้งหลายก็ทำอยู่” (มาระโก 7:6-13)

ตอนนี้ลองนึกถึงสิ่งนี้: พระองค์เรียกพวกเขาว่าคนหน้าซื่อใจคดเพราะให้เกียรติพระเจ้าด้วยริมฝีปากของพวกเขา แต่ไม่ใช่ด้วยหัวใจของพวกเขาและในการทำตามบัญญัติของมนุษย์(บัญญัติปากเปล่า)ซึ่งเป็นธรรมเนียมของพวกเขานั้น ทำให้พระบัญญัติของพระเจ้าเป็นหมันจากนั้นพระเยซูก็ดำเนินการสอนนั้นต่อไป  แต่ตามหลักคำสอนของคริสตจักรทุกวันนี้เช่นกันที่ประกาศสัตว์ที่ไม่สะอาดตามพระวจนะของพระเจ้าว่าเป็นสัตย์สะอาด ดังนั้นคริสเตียนจึงมีอิสระที่จะกินอะไรได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น หมู หมา แมว  ปู กุ้ง หอย บรรดาสัตย์เลื้อยคลาน ฯลฯ  ซึ่งการกระทำเช่นนั้นทำให้พระวจนะของพระเจ้าเป็นหมันด้วย! จริง ๆ แล้วเหมือนกับว่าจะทำให้พระเยซูเป็นคนปากว่าตาขยิบที่ยิ่งใหญ่กว่าพวกฟาริสีเสียด้วยซ้ำไป

ข้อโต้แย้งที่ใช้โดยหลักคำสอนของคริสตจักรในเรื่องนี้คือคำอธิบายของพระเยซูต่อเหล่าสาวกที่เราสามารถอ่านได้ในข้อ 7: 17-23:

มาระโก7:17-23  ครั้นพระองค์ได้เสด็จเข้าไปในเรือนพ้นประชาชนแล้ว เหล่าสาวกของพระองค์ก็ได้ทูลถามพระองค์ถึงคำอุปมานั้น  พระองค์จึงตรัสแก่เขาว่า “ถึงท่านทั้งหลายก็ยังไม่เข้าใจหรือ ท่านยังไม่เห็นหรือว่าสิ่งใดๆแต่ภายนอกที่เข้าไปภายในมนุษย์จะกระทำให้มนุษย์เป็นมลทินไม่ได้  เพราะว่าสิ่งนั้นมิได้เข้าในใจ แต่ลงไปในท้องแล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป ทำให้อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน” พระองค์ตรัสว่า “สิ่งที่ออกมาจากภายในมนุษย์ สิ่งนั้นแหละทำให้มนุษย์เป็นมลทิน  เพราะว่าจากภายในมนุษย์คือจากใจมนุษย์ มีความคิดชั่วร้าย การล่วงประเวณี การผิดผัวผิดเมีย การฆาตกรรม การลักขโมย การโลภ ความชั่ว การล่อลวงเขา ราคะตัณหา อิจฉาตาร้อน การหมิ่นประมาท ความเย่อหยิ่ง ความโฉด สารพัดการชั่วนี้เกิดมาจากภายใน และทำให้มนุษย์เป็นมลทิน”

ดังนั้นข้อสรุปที่สำคัญในการสรุปที่นี่คือ:

“ สิ่งที่เข้าไปในปากไม่ได้ทำให้คนสกปรก แต่สิ่งที่ออกมาจากหัวใจของคนนั้นทำให้เขาสกปรก”

เพียงคิดสักครู่:

ข้อโต้แย้งทุกวันนี้เหมือนข้อโต้แย้งที่พระเยซูใช้เมื่อ 2,000 ปีก่อน ซึ่งได้ยึดถือกันมาตั้งแต่วันที่พระเจ้าให้พระราชบัญญัติ ดังนั้น  คำถามก็คือ: ทำไมพระองค์จึงให้ธรรมบัญญัติตั้งแต่แรก? 

ดูมันไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลยในเมื่อพระองค์ให้พระราชบัญญัติซึ่งทุกคนต้องปฎิบัติตามหลังจากนั้นก็ยกเลิกพระราชบัญญัตินั้น  ซึ่งได้ใช้กันมานานแล้ว ตั้งแต่วันที่พระเจ้าให้พระราชบัญญัตินั้นกับโมเสสที่ภูเขาซีนาย!

ทุกคนที่เชื่อในพระคัมภีร์เป็นคริสเตียนที่ซื่อสัตย์และจริงใจต่อตนเอง ควรมีคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เราถูกสอนโดยหลักคำสอนของคริสตจักรเกี่ยวกับเรื่องนี้!

และอีกอย่างพระเยซูไม่สามารถยกเลิกพระบัญญัติอาหารที่ให้เราในเลวีนิติ 11 นั้นได้เพราะถ้าพระองค์ทำ พระองค์ก็ทำผิดพระราชบัญญติ และดังนั้นก็ไม่สามารถทำให้พระราชบัญญัติสมบูรณ์ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เชื่อในพระคัมภีร์ คริสเตียนทุกคนเห็นด้วยกับพระองค์ ! เราสามารถอ่านได้ใน:

ฉธบ 4:2 ท่านทั้งหลายอย่าเสริมเติมคำที่ข้าพเจ้าได้บัญชาท่านไว้และอย่าตัดออก เพื่อท่านทั้งหลายจะรักษาพระบัญญัติของพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ซึ่งข้าพเจ้าได้บัญชาท่าน

และใน

ฉธบ 12:32 ทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าบัญชาท่านไว้นั้น จงระวังที่จะกระทำตาม ท่านอย่าเพิ่มอะไรเข้าหรือตัดอะไรออกไปจากสิ่งเหล่านั้น”

ดังนั้นถ้าพระเยซูปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอย่างสมบูรณ์นี้ก็หมายความว่าพระองค์ไม่ได้ยกเลิกพระบัญญัติข้อใดๆ เลย ซึ่งบางอย่างพระองค์พยายามทำให้มันชัดเจนยิ่งขึ้นใน มัทธิว 5:17 อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะทำลายพระราชบัญญัติหรือคำของศาสดาพยากรณ์เสีย เรามิได้มาเพื่อจะทำลาย แต่มาเพื่อจะให้สำเร็จ

เรามีข้อพระคัมภีร์อีกข้อหนึ่งที่อ้างถึงเหตุการณ์เดียวกันและเน้นให้เห็นว่าบริบทที่แท้จริงในมาระโก 7: 1-23 เราพบเรื่องราวเดียวกันในมัทธิว 15: 16-20:

มัทธิว 15:16-20 ฝ่ายพระเยซูตรัสตอบว่า “ท่านทั้งหลายยังไม่เข้าใจด้วยหรือ ท่านยังไม่เข้าใจหรือว่า สิ่งใดๆซึ่งเข้าไปในปากก็ลงไปในท้อง แล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป
แต่สิ่งที่ออกจากปากก็ออกมาจากใจ สิ่งนั้นแหละทำให้มนุษย์เป็นมลทิน ความคิดชั่วร้าย การฆาตกรรม การผิดผัวผิดเมีย การล่วงประเวณี การลักขโมย การเป็นพยานเท็จ การพูดหมิ่นประมาท ก็ออกมาจากใจ สิ่งเหล่านี้แหละที่ทำให้มนุษย์เป็นมลทิน แต่ซึ่งจะรับประทานอาหารโดยไม่ล้างมือก่อน ไม่ทำให้มนุษย์เป็นมลทิน”

ดังนั้นเมื่อเราอ่านข้อความ “ที่พระองค์ประกาศว่าอาหารทั้งหมดสะอาด” พระองค์เพียงแค่พูดว่าการไม่ล้างมือหรือไม่ทำตามบัญญัติของมนุษย์จะไม่ทำให้อาหารที่สะอาดนั้นสกปรก! แทนที่จะทำให้พระบัญญัติของพระเจ้าเป็นโมฆะหรือทำให้พระวจนะของพระเจ้าว่างเปล่า แต่พระเยซูทำให้บัญญัติของมนุษย์ต่างหากที่ถือเป็นโมฆะ!(คือถูกยกเลิก)

กิจการ 10:15 นิมิตของเปโตร

กิจการ 10:15 แล้วจึงมีพระสุรเสียงอีกเป็นครั้งที่สองว่าแก่ท่านว่า “ซึ่งพระเจ้าได้ทรงชำระแล้ว อย่าว่าเป็นของต้องห้าม”

ข้อความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าให้นิมิตกับเปโตรมีผืนผ้าขนาดใหญ่แขวนอยู่ที่สี่มุมและภายในมีสัตว์ทุกชนิดทั้งสัตว์สะอาดและไม่สะอาดแล้วสั่งให้เปโตรฆ่าสัตว์เหล่านั้นกินเป็นอาหาร เมื่อเราอ่านข้อนี้ก่อนอื่นเราสังเกตเห็นว่ามีการปฏิเสธอย่างแรงกล้าของเปโตรต่อสิ่งที่พระเจ้าสั่งให้เขาทำคืออะไรให้เราอ่าน:

วันรุ่งขึ้นคนเหล่านั้นกำลังเดินทางไปใกล้เมืองยัฟฟาแล้ว ประมาณเวลาเที่ยงวันเปโตรก็ขึ้นไปบนหลังคาบ้านเพื่อจะอธิษฐาน ก็หิวอยากจะรับประทานอาหาร แต่ในระหว่างที่เขายังจัดอาหารอยู่ เปโตรได้เคลิ้มไป และได้เห็นท้องฟ้าแหวกออกเป็นช่อง มีภาชนะอย่างหนึ่งเหมือนผ้าผืนใหญ่ ผูกติดกันทั้งสี่มุมหย่อนลงมายังพื้นโลก ในนั้นมีสัตว์ทุกอย่างที่อยู่บนแผ่นดิน คือสัตว์สี่เท้า สัตว์ป่า สัตว์เลื้อยคลานและนกที่อยู่ในท้องฟ้า มีพระสุรเสียงมาว่าแก่ท่านว่า “เปโตรเอ๋ย จงลุกขึ้นฆ่ากินเถิด” ฝ่ายเปโตรจึงทูลว่า “มิได้ พระองค์เจ้าข้า เพราะว่าสิ่งซึ่งเป็นของต้องห้ามหรือของมลทินนั้น ข้าพระองค์ไม่เคยได้รับประทานเลย” แล้วจึงมีพระสุรเสียงอีกเป็นครั้งที่สองว่าแก่ท่านว่า “ซึ่งพระเจ้าได้ทรงชำระแล้ว อย่าว่าเป็นของต้องห้าม”เห็นอย่างนั้นถึงสามครั้ง แล้วสิ่งนั้นก็ถูกรับขึ้นไปอีกในท้องฟ้า เมื่อเปโตรยังคิดสงสัยเรื่องนิมิตที่เห็นนั้นว่ามีความหมายอย่างไร ดูเถิด คนที่โครเนลิอัสใช้ไปนั้น เมื่อถามหาและพบบ้านของซีโมนแล้วก็มายืนอยู่หน้าประตูรั้ว

เปโตรตอบว่า  “มิได้ พระองค์เจ้าข้า เพราะว่าสิ่งซึ่งเป็นของต้องห้าม (สามัญ) หรือของมลทินนั้น จากที่เรารู้สัตว์ที่แสดงให้เห็นโดยการบอกของเปโตรนั้นว่าเพราะข้าพระองค์ไม่เคยรับประทานกินอะไรที่เป็นของสามัญหรือไม่สะอาด แต่คำถามสำคัญที่เราต้องถามคือ ทำไมเปโตรปฏิเสธอย่างแรงกล้าในคำสั่งโดยตรงจากพระเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของมาระโก 7:19? (เพราะว่าสิ่งนั้นมิได้เข้าในใจ แต่ลงไปในท้องแล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป ทำให้อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน”)

ถ้าพระเยซูอธิบายชัดเจนต่อเหล่าสาวกในมาระโก 7:19 ว่าตั้งแต่นี้ต่อไปสัตว์ทุกชนิดได้รับการพิจารณาว่าสะอาดแล้วทำไมเปโตรปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง!

คำอธิบายเดียวคือพระเยซูไม่เคยบอกสิ่งนี้ในมาระโก 7:19 แต่สิ่งนี่ถูกบอกนั้นมาจาก หลักคำสอนของคริสตจักรและไม่มีรากฐานทางพระคัมภีร์เลย!

การตอบสนองของเปโตรแสดงให้เราเห็นอีกสองสิ่ง:

  1. เขายังคงรักษาบัญญัติเรื่องอาหารตามที่เราได้รับในเลวีนิติ 11 แม้หลังจากที่พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์และวันเพนเทคอร์ส
  2. และเขาปฏิเสธที่จะฝ่าฝืนพระราชบัญญัติของพระเจ้าแม้เมื่อพระเจ้าสั่งให้เขาทำเช่นนั้น โดยเขากลับมาพิจารณานิมิตนั้นแทนที่ ว่ามันหมายถึงอะไร

หลักคำสอนของคริสเตียนในทุกวันนี้จะใช้คำว่า “อย่าเรียกสิ่งใดๆ ว่าไม่บริสุทธิ์พระเจ้าทำให้สะอาด” เป็นข้อถกเถียงที่ว่าพระเจ้าประกาศว่าสัตว์ที่ไม่สะอาดนั้นเป็นสะอาดกินได้ทั้งหมดแต่นั่นมันใช่ในกรณีนี้หรือไม่? คงไม่ใช่แน่

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วเปโตรก็สงสัยว่าความหมายของนิมิตคืออะไรและถ้าเราอ่านต่อไปเราจะพบว่าพระเจ้าเปิดเผยต่อเปโตรว่านิมิตนั้นหมายถึงอะไร!

กิจการ 10:25-29 ครั้นเปโตรเข้าไป โครเนลิอัสก็ต้อนรับเปโตร และหมอบที่เท้ากราบไหว้ท่าน ฝ่ายเปโตรจึงจับตัวโครเนลิอัสให้ลุกขึ้นและกล่าวว่า “จงยืนขึ้นเถิด ข้าพเจ้าก็เป็นแต่มนุษย์เหมือนกัน” เมื่อกำลังสนทนากันอยู่ เปโตรจึงเข้าไปแลเห็นคนเป็นอันมากมาพร้อมกัน จึงกล่าวแก่คนเหล่านั้นว่า “ท่านทั้งหลายทราบแล้วว่า คนชาติยิวนั้นจะคบให้สนิทกับคนต่างชาติหรือเข้าเยี่ยมก็เป็นที่พระราชบัญญัติห้ามไว้ แต่พระเจ้าได้ทรงสำแดงแก่ข้าพเจ้าแล้วว่า ไม่ควรเรียกคนหนึ่งคนใดว่าเป็นที่ห้ามหรือมลทิน  เหตุฉะนั้น เมื่อท่านใช้คนไปเรียกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็มาโดยไม่ขัด ข้าพเจ้าจึงขอถามว่าท่านเรียกข้าพเจ้ามาด้วยประสงค์อะไร”

อย่างที่เราพูดเสมอบริบทคือทุกสิ่ง พระเจ้าแสดงให้เปโตรเห็นว่าเขาไม่ควรเรียกคนหนึ่งคนใดว่าเป็นที่ห้ามหรือมลทิน  ดังนั้นพระเจ้าไม่ได้ประกาศสัตว์ที่ไม่สะอาด แต่พระองค์ต้องการสอนบทเรียนให้กับเปโตรว่าอย่าเรียกคนทั่วไปว่าไม่สะอาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนนั้นกำลังแสวงหาพระเจ้า ผมเชื่อว่าพระเจ้ากำลังทดสอบเปโตรตามแบบทดสอบที่พระองค์มอบให้กับอิสราเอลในเฉลยธรรมบัญญัติ 13 (ดูการทดสอบเฉลยธรรมบัญญัติ 13 ในบทความของผม “อ่านคัมภีร์ในบริบทอย่างเหมาะสม

มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบว่าเมื่อเปโตรกล่าวว่า “เป็นเรื่องผิดพระราชบัญญัติสำหรับชาวยิวที่จะคบหาสมาคมหรือเยี่ยมเยียนคนชาติอื่น (คนต่างชาติ)” ว่าเขาไม่ได้อ้างถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้า แต่เป็นบัญญติของมนุษย์(บัญญัติปากเปล่า)เราจะไม่พบที่ไหนในคัมภีร์ที่บอกว่าคนต่างชาติจะต้องถือว่าเป็นคนมีมลทินหรือไม่สะอาด ตรงกันข้ามพระบัญญัติระบุว่าคนต่างชาติที่ไม่ใช่ยิวควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในพวกเขาเอง ให้เราอ่าน:

เลวีนิติ 19:33-35 เมื่อคนต่างด้าวอาศัยอยู่กับเจ้าในแผ่นดินของเจ้า อย่าข่มเหงเขา คนต่างด้าวที่อาศัยอยู่กับเจ้านั้นก็เหมือนกับชาวเมืองของเจ้า เจ้าจงรักเขาเหมือนกับรักตัวเอง เพราะว่าเจ้าเคยเป็นคนต่างด้าวในแผ่นดินอียิปต์ เราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า เจ้าอย่ากระทำผิดในการพิพากษา ในการวัดยาว หรือชั่งน้ำหนักหรือนับจำนวน

กันดารวิถี 15:14-16 ถ้าคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่กับเจ้า หรือคนหนึ่งคนใดท่ามกลางเจ้าตลอดชั่วอายุของเจ้าจะใคร่ถวายเครื่องบูชาด้วยไฟ เป็นกลิ่นที่พอพระทัยแด่พระเยโฮวาห์ ก็ให้เขาทั้งหลายกระทำเหมือนเจ้าทั้งหลายได้กระทำนั้น 15 จะต้องมีกฎอย่างเดียวกันสำหรับชุมนุมชนและสำหรับคนต่างด้าวผู้มาอาศัยอยู่กับเจ้า เป็นกฎถาวรตลอดชั่วอายุของเจ้า คือเจ้าเป็นอย่างใด คนต่างด้าวก็เป็นอย่างนั้นต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์ จะต้องมีพระราชบัญญัติอย่างเดียวกันและลักษณะอย่างเดียวกันสำหรับเจ้าและสำหรับคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่กับเจ้า”

อีกครั้งการอ่านพระคัมภีร์เพียงข้อเดียวในบริบท เราอาจเข้าใจชัดเจนว่าพระคัมภีร์พยายามสอนเราอะไรโดยเฉพาะถ้าเราตีความในพระคัมภีร์ในตัวของมันเองเพียงข้อเดียว มันสามารถนำข้อความออกจากบริบทและทำให้เกิดการขัดแย้งในเนื้อหาได้ (บริบท – ข้อความ = กลลวง)!

โรม 14

โดยทั่วไปทั้งหมดในบทเกี่ยวกับอาหารและบอกเราว่าอย่าตัดสินคนอื่นเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากินหรือไม่กิน นอกจากนี้ยังบอกเราว่าอย่ากินหรือดื่มอะไรที่อาจทำให้คนอื่นสะดุดถึงแม้ว่าคุณจะเชื่อว่ามันไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง ก่อนที่เราจะเริ่มอ่านบทนี้ ที่ละข้อ ๆ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบว่าเปาโลไม่เคยอ้างถึงคำว่า สะบาโตสักเลยสักครั้งเดียวในบทนี้ของจดหมายทั้งหมดถึงชาวโรมัน! เนื่องจากเป็นจดหมายเราต้องพิจารณาเนื้อหาทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจบริบทที่เหมาะสม

เรามาเริ่มด้วยการแบ่งเป็นที่ละข้อ ข้อข้อแรกเป็นกุญแจสำคัญในบททั้งหมด!

โรม 14:1 ส่วนคนที่ยังอ่อนในความเชื่อนั้น จงรับเขาไว้ แต่มิใช่เพื่อให้โต้เถียงกันในเรื่องความเชื่อที่แตกต่างกันนั้น

เปาโลเริ่มต้นบทนี้เพื่อแสดงว่าเขาจะพูดถึงความคิดเห็นประเด็นที่โต้แย้งได้ คำจำกัดความของการโต้แย้งคือ; ไม่เป็นที่ยอมรับและเปิดให้มีคำถามหรือการอภิปราย ดังนั้นเรากำลังพูดถึงความรู้สึกคิดเห็นส่วนตัวและไม่ใช่เป้าหมาย!

พระบัญญัติของพระเจ้าไม่ได้เป็นการแสดงความคิดส่วนตัว ข้อเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์และใช้เพื่อพิจารณาการตัดสินผู้อื่นด้วย! เราอ่านในจดหมายฉบับเดียวกันใน (โรม 2:27) ว่าเปาโลบอกชาวยิวที่เข้าสุหนัตทางร่างกาย แต่ไม่ได้รักษาพระราชบัญญัติ ซึ่งพวกเขาจะถูกตัดสินโดยคนต่างชาติที่รักษาพระราชบัญญัติเดียวกันกับยิว! คุณไม่สามารถตัดสินใครบางคนในเรื่องที่โต้แย้งโดยแสดงความคิดเห็นส่วนตัว นั่นคือสิ่งที่เปาโลพยายามอธิบายให้ชัดเจนในบทนี้ ในทางกลับกันเราได้รับการสอนว่าเราต้องตัดสินคนอื่นตามที่พระราชบัญญัติกำหนด

เมื่อพูดถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้าเราอ่าน:

โรม 2:27 และคนทั้งหลายที่ไม่เข้าสุหนัตซึ่งเป็นตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ประพฤติตามพระราชบัญญัติ เขาจะปรับโทษท่านผู้มีประมวลพระราชบัญญัติและได้เข้าสุหนัตแล้ว แต่ยังละเมิดพระราชบัญญัตินั้น

1โครินธ์ 5:12 ไม่ใช่หน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะไปตัดสินลงโทษคนภายนอก ท่านจะต้องตัดสินลงโทษคนภายในคริสตจักรมิใช่หรือ?

ลูกา 17:3 จงระวังตัวให้ดี ถ้าพี่น้องทำการละเมิดต่อท่าน จงเตือนเขา และถ้าเขากลับใจแล้ว จงยกโทษให้เขา

1 ทิโมธี 5:20 สำหรับผู้ปกครองที่ยังคงกระทำบาป จงว่ากล่าวเขาต่อหน้าคนทั้งปวง เพื่อผู้อื่นจะได้เกรงกลัวด้วย

ยอห์น 7:24 อย่าตัดสินตามที่เห็นภายนอก แต่จงตัดสินตามชอบธรรมเถิด”

ยอห์น 7:51 “พระราชบัญญัติของเราตัดสินคนใดโดยที่ยังไม่ได้ฟังเขาก่อน และรู้ว่าเขาได้ทำอะไรบ้างหรือ”

เศคาริยาห์ 8:16 ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เจ้าทั้งหลายพึงกระทำ จงต่างคนต่างพูดความจริงกับเพื่อนบ้าน จงให้การพิพากษาที่ประตูเมืองของเจ้าเป็นตามความจริงและกระทำเพื่อสันติ

ดังนั้นหากบททั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องโต้แย้งหรือเรื่องของความเห็นและเราถูกขอให้ไม่ตัดสินคนอ่อนแอเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ในขณะที่คัมภีร์สอนให้เราตัดสินพี่น้องของเราเมื่อพูดถึงการทำผิดพระราชบัญญัติของพระเจ้า ว่าที่เราจะสรุปได้ว่า:

  1. ทั้งหมดในบทไม่ได้พูดถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้า
  2. แต่เป็นเพียงการพูดถึงความเชื่อส่วนตัวความคิดเห็นหรือบัญญัติของมนุษย์ ( บัญญัติปากเปล่า)เป็นสิ่งที่เราไม่ควรตัดสินคนอื่นตราบใดที่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรที่ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติของพระเจ้า

ตอนนี้เรายอมรับแล้วว่าบทนี้ไม่ได้อ้างถึงพระบัญญัติของพระเจ้าให้เราดำเนินการต่อไปด้วยข้อที่สำคัญที่ถูกนำออกมาจากบริบท อันแรกคือข้อ 5 ซึ่งใช้บอกว่าเราสามารถนมัสการพระเจ้าได้ทุกวันที่เราชอบ ความจริงไม่เกี่ยวกับกรณีนี้เลยเช่นกัน ให้เราอ่าน:

โรม 14:5-6 คนหนึ่งถือว่าวันหนึ่งดีกว่าอีกวันหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งถือว่าทุกวันเหมือนกัน ขอให้ทุกคนมีความแน่ใจในความคิดเห็นของตนเถิด ผู้ที่ถือวันก็ถือเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า และผู้ที่ไม่ถือวันก็ไม่ถือเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่กินก็กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขาขอบพระคุณพระเจ้า และผู้ที่มิได้กินก็มิได้กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า และยังขอบพระคุณพระเจ้า

สิ่งแรกที่เราสังเกตเห็นคือการอ้างอิงถึงสิ่งที่ “คนหนึ่งถือว่า” สิ่งที่มนุษย์พิจารณาว่าเป็นสิ่งบริสุทธิ์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่ ถ้าตราบใดที่มันไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่พระเจ้าสั่งให้เราทำ ดังที่เปโตรและอัครสาวกคนอื่น ๆ กล่าว “ข้าพเจ้าทั้งหลายจำต้องเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์ (กิจการ 5:29).

ดังนั้นวันบริสุทธิ์เหล่านี้หมายถึงอะไรและเป็นวันอะไร? เราอ่านสิ่งนี้ในตอนท้ายของ โรม14:6

ผู้ที่กินเนื้อ (เนื้อสัตว์สะอาดในพระคัมภีร์) ก็กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขาขอบพระคุณพระเจ้า และผู้ที่มิได้กินก็มิได้กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า และยังขอบพระคุณพระเจ้า

การงดอาหารเป็นคำจำกัดความของการอดอาหารซึ่งทำให้มีเหตุผลมากขึ้นว่าบททั้งหมดเกี่ยวกับอาหาร ดังนั้นมันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับวันอดอาหารหรือวันที่ไม่อดอาหาร? เหตุผลนี้สามารถพบได้ในลูกา 18:12

ลูกา 18:11-12 คนฟาริสีนั้นยืนนึกในใจของตนอธิษฐานว่า `ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ขอบพระคุณพระองค์ ที่ข้าพระองค์ไม่เหมือนคนอื่นซึ่งเป็นคนฉ้อโกง คนอธรรม และคนล่วงประเวณี และไม่เหมือนคนเก็บภาษีคนนี้ ในสัปดาห์หนึ่งข้าพระองค์ถืออดอาหารสองหน และของสารพัดซึ่งข้าพระองค์หาได้ ข้าพระองค์ได้เอาสิบชักหนึ่งมาถวาย’

พวกฟาริสีกระตือรือร้นที่จะประกาศให้โลกรู้ว่าพวกเขาถือศีลอดอาหารสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่พระคัมภีร์ไม่ได้ระบุวันที่พวกเขาอดอาหาร จากการเขียนอื่น ๆ ในสมัยนั้นน่าจะเป็นวันที่สองและห้าของสัปดาห์และคริสเตียนได้รับการสนับสนุนไม่ให้ถือวันนั้นเหมือนกับคนหน้าซื่อใจคดอย่างพวกฟาริสี เราพบสิ่งนี้ในงานเขียนศตวรรษแรก ” เดอะ ดิเดค The Didache – บทที่ 8″

เดอะ ดิเดค The Didache (คำสอนของอัครสาวก – เขียนในศตวรรษแรก), บทที่ 8:
“ แต่อย่าให้การอดอาหารของท่านเช่นเดียวกับคนหน้าซื่อใจคดเพราะเขาถือศีลอดอาหารในวันที่สองและห้าของสัปดาห์ แทนที่จะถือศีลอดอหารในวันที่สี่และวันเตรียม” (วันพุธและวันศุกร์)
(http://www.earlychristianwritings.com/text/didache-roberts.html)

สังเกตว่าวันศุกร์กล่าวถึงที่นี่เป็นวัน จัดเตรียม หากวันสะบาโตไม่ได้เป็นวันหยุดพักของพระเจ้ามีไว้สำหรับเราอีกต่อไปตามหลักคำสอนของคริสตจักรก็อาจมีข้อสงสัยว่าแล้วพวกเขาเตรียมอะไรในวันนั้น อย่างไรก็ตามในบริบทนี้แสดงเหตุผลที่ดีว่ามันเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับวันถือศีลอดอาหารหรือไม่ถือศีลอดอาหารและจะอธิบายสิ่งนี้ได้ดีกว่าใน โรม 14:5-6 คนหนึ่งถือว่าวันหนึ่งดีกว่าอีกวันหนึ่ง……ผู้ที่ถือวันก็ถือเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า… ผู้ที่กินก็กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า…..

ข้อเท็จจริงที่ว่านี้คือหลักคำสอนของคริสตจักรพยายามเอาวันสะบาโตมาลงในเนื้อหานี้ ดูไม่มีเหตุผลเอาเสียเลยและแสดงให้เห็นอีกว่าพวกเขาพยายามใช้ข้อพระคัมภีร์เพียงข้อเดียวเพื่อเป็นข้ออ้างสำหรับหลักคำสอนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนในพระคัมภีร์ เพื่อยกระดับสิ่งที่มนุษย์คิดว่าเป็นสิ่งบริสุทธิ์ในระดับเดียวกับสิ่งที่พระเจ้าเรียกว่าบริสุทธิ์นั้น ดูไม่น่าเชื่อถือเลย!

อีกข้อที่ใช้ในทำนองเดียวกันกับมาระโก 7:19 คือโรม 14:14

โรม 14:14 ข้าพเจ้ารู้และปลงใจเชื่อเป็นแน่ในองค์พระเยซูเจ้าว่า ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นมลทินในตัวเองเลย แต่ถ้าผู้ใดถือว่าสิ่งใดเป็นมลทิน สิ่งนั้นก็เป็นมลทินสำหรับคนนั้น

เปาโลจัดประเภทอาหารในแบบเดียวกับที่พระเยซูทรงทำซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์ คล้ายกับสิ่งที่เราเห็นในมาระโกบทที่ 7 เราเห็นแล้วว่าบทนี้เกี่ยวกับความคิดเห็นส่วนตัวหรือเรื่องโต้แย้งเนื่องจากบางคนอาจมีความเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สะอาดเพราะ:

  • คนที่ไม่ล้างมือของพวกเขาคล้ายกับมาระโก 7
  • อาหารที่มาจากตลาดและอาจเป็นอาหารที่ถวายแก่รูปเคารพ (เนื้อสัตว์ที่ถวายแก่รูปเคารพแล้วมีขายที่ตลาดในยุคนั้น)
  • ไม่ได้ทำความสะอาดหม้อหรือจานที่บรรจุอาหารตามวิธีการโดยเฉพาะ
  • พวกเขาไม่ได้อธิษฐานก่อนกินอาหาร
  • ฯลฯ …

ดังนั้นเราเห็นเหตุผลส่วนตัวหลายประการว่าทำไมคนคนหนึ่งอาจพิจารณาสิ่งที่ไม่สะอาดและสิ่งที่เปาโลพยายามสอนเราที่นี่คือการยอมรับบุคคลนั้นและไม่ตัดสินพวกเขา เขายังบอกเราด้วยว่าเป็นการดีกว่าที่จะไม่กินหรือดื่มอะไรถ้ามันจะทำให้คนอื่นสะดุด:

โรม 14:19-23 เหตุฉะนั้นให้เรามุ่งประพฤติในสิ่งซึ่งทำให้เกิดความสงบสุขแก่กันและกัน และสิ่งเหล่านั้นซึ่งทำให้เกิดความเจริญแก่กันและกัน
อย่าทำลายงานของพระเจ้าเพราะเรื่องอาหารเลย ทุกสิ่งทุกอย่างปราศจากมลทินก็จริง แต่ผู้ใดที่กินอาหารซึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นหลงผิด ก็มีความผิดด้วย เป็นการดีที่จะไม่กินเนื้อสัตว์หรือดื่มน้ำองุ่นหรือทำสิ่งใดๆที่เป็นเหตุให้พี่น้องสะดุด หรือสะดุดใจหรือทำให้อ่อนกำลัง ท่านมีความเชื่อหรือ จงยึดไว้ให้มั่นต่อพระพักตร์พระเจ้า ผู้ใดไม่มีเหตุที่จะติเตียนตัวเองในสิ่งที่ตนเห็นชอบแล้วนั้นก็เป็นสุข แต่ผู้ที่ยังสงสัยอยู่นั้น ถ้าเขากินก็จะถูกลงพระอาชญา เพราะเขามิได้กินด้วยความเชื่อ ทั้งนี้เพราะการกระทำใดๆก็ตามที่มิได้กระทำด้วยความเชื่อก็เป็นบาปทั้งสิ้น

สรุป

เรื่องการกินอาหารไม่ล้างมือถือเป็นมลทินเป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่มีเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติแต่เกี่ยวกับบัญญัติมนุษย์(บัญญัติปากเปล่า) และเรื่องสัตว์ไม่สะอาดในนิมิตของเปโตรไม่เกี่ยวกับเรื่องอาหารแต่เกี่ยวข้องกับการไม่ให้ถือคนที่ไม่ใช่ยิวว่าเป็นมลทินต้องเปิดโอกาสให้คนต่างชาติเชื่อในพระเจ้าได้รับความรอดเช่นเดียวกับยิว ส่วนเรื่องวันบริสุทธ์หรือวันสะบาโตไม่ได้กล่าวถึงในบริบทเหล่านี้ ที่เกี่ยวข้องคือเรื่องของวันที่ถือศีลอดอาหารที่แตกต่างวันกัน          รวมทั้งการกินเนื้อหรือกินเจของผู้มีความเชื่อที่แตกต่างกัน อย่าตัดสินคนอื่นเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากินหรือไม่กิน ถ้าไม่ผิดต่อพระราชบัญญัติของพระเจ้าก็ควรยอมรับกันไว้ หรือถ้าการกินและดื่มอาจเป็นสาเหตุให้ผู้เชื่อคนอื่นสดุดได้ ก็ไม่ควรกินหรือดื่มก็จะดีกว่า รวมถึงเรื่องการตัดสินกันด้วยความชอบธรรมว่าเราต้องตัดสินผู้เชื่ออื่นที่ทำผิดต่อพระราชบัญญัติของพระเจ้าอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยเขาที่จะคงอยู่ในความเชื่อ

ด้วยการใช้ 3 ข้อเราเห็นว่าโดยกระแสหลักคริสตจักรพยายามสร้างหลักคำสอนที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบริบทของพระคัมภีร์!

  1. มาระโก 7:19 เพราะว่าสิ่งนั้นมิได้เข้าในใจ แต่ลงไปในท้องแล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป ทำให้อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน”(ในการพูดแบบนี้ พระเยซูทรงประกาศว่าอาหารทั้งหมด”สะอาด”)
  2. กิจการ 10:15 แล้วจึงมีพระสุรเสียงอีกเป็นครั้งที่สองว่าแก่ท่านว่า “ซึ่งพระเจ้าได้ทรงชำระแล้ว อย่าว่าเป็นของต้องห้าม”
  3. โรม 14:14 ข้าพเจ้ารู้และปลงใจเชื่อเป็นแน่ในองค์พระเยซูเจ้าว่า ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นมลทินในตัวเองเลย แต่ถ้าผู้ใดถือว่าสิ่งใดเป็นมลทิน สิ่งนั้นก็เป็นมลทินสำหรับคนนั้น

ด้วยการเพิกเฉยจากบริบทของข้อเหล่านี้ทำให้เราหลงเชื่อว่าทุกวันนี้เราสามารถกินอะไรก็ได้ที่เราชอบ พระเยซูไม่ได้ยกเลิกพระบัญญัติที่ให้ไว้กับเราในเลวีนิติ 11 และเมื่ออ่านข้อเหล่านี้ภายในบริบทที่เหมาะสมเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่มีข้อใดสนับสนุนหลักคำสอนนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นคริสตจักรที่สอนเราทุกวันนี้

เราพบว่ามีการตำหนิอย่างมากเกี่ยวกับการสอนประเภทนี้ในพันธสัญญาเดิม:

เอเศเคียล 22:26-27 ปุโรหิตของเขาได้ละเมิดราชบัญญัติของเรา และได้ลบหลู่สิ่งบริสุทธิ์ของเรา เขามิได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งที่บริสุทธิ์และสิ่งสามัญ เขามิได้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างของมลทินและของสะอาด เขาได้ซ่อนนัยน์ตาของเขาไว้จากวันสะบาโตของเรา ดังนั้นแหละเราจึงถูกลบหลู่ท่ามกลางเขาทั้งหลาย  เจ้านายในท่ามกลางแผ่นดินเป็นเหมือนสุนัขป่าที่ฉีกเหยื่อ ทำให้โลหิตตก ทำลายชีวิตเพื่อจะเอากำไรที่อสัตย์

ดูเหมือนว่าพระเจ้ามีเหตุผลที่ดีมาก ว่าทำไมพระองค์บอกเราห้ามกินอะไรที่พระองค์ตรัสว่าไม่สะอาด ยิ่งไปกว่านี้ตอนนี้มีการระบาดของโควิด-19 เราควรคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้! ผมเองเชื่อว่า โควิด-19, โรคซาร์ส ไข้หวัดหมู จะไม่เกิดขึ้นถ้าคนเรายึดรักษาพระบัญญัติของพระเจ้าเรื่องสัตว์สะอาดไม่สะอาด

ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณ:

  • รักษาสิ่งที่พระเจ้าประกาศบริสุทธิ์และสะอาด ให้เป็นสิ่งบริสุทธิ์และสะอาด
  • แยกแยะระหว่างสิ่งบริสุทธิ์และสิ่งสามัญและสิ่งที่สะอาดและไม่สะอาด

ขอให้พระเจ้าอวยพรท่านและอย่าลืมทดสอบทุกอย่าง!