หมวดหมู่: บทความ

มันเป็นเรื่องของการขุ่นเคืองใจ

16 ส.ค. 24
Sunete
No Comments

มันเป็นเรื่องของการขุ่นเคืองใจ
It Was a Matter of Self-Offense

Self Offense
   

     คุณรู้ไหมว่ามันเป็นเรื่องของการขุ่นเคืองใจ เมื่อคุณรู้สึกไม่พอใจกับสิ่งที่คนอื่นทำหรือพูด?

ความขุ่นเคืองมีบทบาทอย่างไรต่อสิ่งที่พระคัมภีร์กล่าวไว้เกี่ยวกับการให้อภัย  เกี่ยวกับสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดของเราสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้?

คุณเคยถูกใครหรือสิ่งใดทำให้ขุ่นเคืองหรือไม่? เราทุกคนต่างก็เคยรู้สึกขุ่นเคือง หลายคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทั้งหมดเป็นความจริง และปฏิบัติตามพระคัมภีร์ แต่สุดท้ายกลับต้องเผชิญกับการทดลองต่างๆ มากมายกับเพื่อนและครอบครัว หรือแม้แต่คนที่เราเคยเรียกว่าผู้นำทาง “จิตวิญญาณ”

ประสบการณ์เหล่านี้มักไม่ค่อยน่าพอใจนัก และในบางกรณีอาจใช้เวลานานหลายวัน หลายเดือน หรือหลายปีก็ได้

เราพยายามนำเสนอพระวจนะของพระเจ้า แต่สุดท้ายกลับไม่ได้รับการตอบรับหรือนำเสนอได้ดีเท่าที่เราตั้งใจไว้ เราทุกคนเคยประสบกับเหตุการณ์นั้นมาแล้ว แม้แต่กับผู้ที่อ้างว่าปฏิบัติตามพระคัมภีร์โทราห์ก็ยังมีวิธีมากมายที่จะทำให้เราขุ่นเคืองได้ มักจะมีการโต้เถียงกันในปฏิทิน หรือการสะกดหรือออกเสียงพระนามของพระผู้สร้างของเรา และปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นซึ่งมักจะทำให้เกิดการโต้เถียงที่ไม่เป็นมิตร แม้แต่ในชีวิตประจำวัน เพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และแม้แต่คนแปลกหน้าก็สามารถและจะทำสิ่งที่ทำให้เราขุ่นเคืองใจได้ ทั้งหมดนี้อาจสร้างความหงุดหงิดใจได้มากทีเดียว แม้จะอยู่ท่ามกลางพระพรต่างๆ มากมายที่เกิดจากการตระหนักและปฏิบัติตามความจริงทั้งหมดของพระองค์ก็ตาม ความจริงก็คือยิ่งเราฝึกฝนความจริงของพระองค์มากเท่าไร เราก็ยิ่งอาจทำให้ผู้อื่นขุ่นเคืองมากขึ้นเท่านั้น และพวกเขาก็ทำให้เราขุ่นเคืองด้วยเช่นกัน

มันอาจจะมีทั้งความขมขื่นและความสุข เป็นพระพรและความยินดีนั้นเป็นผลจากการปฏิบัติตามพระวจนะของพระองค์อย่างครบถ้วน และขณะเดียวกันผู้ที่ดำเนินชีวิตในสภาพเช่นนี้ก็มีความเศร้าโศกอยู่มากเช่นกัน

รู้สึกขุ่นเคือง มันอาจจะแย่ลงไปอีก ความเศร้าโศกดังกล่าวอาจกลายเป็นความตึงเครียดระหว่างบุคคล ความตึงเครียดมักเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความขมขื่น หรือเลวร้ายกว่านั้นคือความโกรธภายในตัวเรา เราทุกคนต่างก็เคยมีประสบการณ์เช่นนี้

บางครั้งการนำเสนอความจริงใน พระวจนะทั้งหมดของพระองค์เพียงอย่างเดียวอาจทำให้เกิดสถานการณ์ที่ทำให้    เราขุ่นเคืองได้ เช่น การเห็นใครสักคนปฏิเสธและไม่ยอมรับความจริงเป็นสิ่งหนึ่ง แต่การได้ยินพระวจนะของพระเจ้าถูกเรียกว่าเป็นทาส เป็นสิ่งที่ล้าสมัย หรือเป็นคำสอนที่ไม่ดีจากผู้ที่ประกาศตนว่าเป็นผู้เชื่อนั้น เป็นเรื่องที่ยากกว่าอย่างแน่นอน

เมื่อใครก็ตามพูดเช่นนั้นเกี่ยวกับพระวจนะของพระเจ้า อาจก่อให้เกิดการตอบสนองที่กระตุ้นอารมณ์ได้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่เข้าใจข้อผิดพลาดของตนเองก็ตาม พวกเขาอาจเชื่อจริงๆ ว่าพระวจนะของพระเจ้าบางส่วนเป็นทาส

การโจมตีความจริงของพระวจนะของ พระยาห์เวห์ YHWH มักจะรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นการโจมตีเรา และในความเป็นจริงแล้ว มันควรจะเป็นอย่างนั้น พระวจนะคือพระเจ้า และพระวจนะจะต้องอยู่ในตัวเรา เป็นเรื่องยากที่จะไม่ถือเอาเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องส่วนตัว เพราะพระวจนะของพระเจ้าคือสิ่งที่เราทุกคนควรปรารถนาที่จะเป็น (พระคำที่เดินได้)

ดังนั้น เมื่อพระวจนะของพระเจ้าถูกโจมตี เราจะไม่รู้สึกว่าถูกโจมตีได้อย่างไร? คำถามที่เราควรถามคือ “เรามีสิทธิ์ที่จะโกรธเคืองเป็นการส่วนตัวหรือไม่?” แม้แต่ภายใต้ร่มเงาของผู้ที่ยอมรับว่าพระวจนะของพระเจ้าทั้งหมดยังคงเป็นความจริง สถานการณ์เชิงลบก็ยังคงเกิดขึ้นได้เสมอ

เราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ ในโรม 7 เปาโลเองก็ชัดเจนว่าเขาดิ้นรนกับเนื้อหนังและกฎแห่งบาปมากเพียงใด โรม:21  “ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเป็นกฎอย่างหนึ่ง คือเมื่อใดข้าพเจ้าตั้งใจจะกระทำความดี ความชั่วก็ยังติดอยู่ในตัวข้าพเจ้า”  ในขณะเดียวกัน เขาต้องการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติของพระเจ้าโรม 7:12 เหตุฉะนั้นพระราชบัญญัติจึงเป็นสิ่งบริสุทธิ์ และพระบัญญัติก็บริสุทธิ์ ยุติธรรม และดี” กฎแห่งจิตใจของเขา “ฉะนั้นทางด้านจิตใจข้าพเจ้ารับใช้พระราชบัญญัติของพระเจ้า”

บางทีอาจมีโอกาสให้เราเข้าใจบางสิ่งบางอย่างที่ลึกซึ้ง แต่ก็เป็นสิ่งที่ยากจะยอมรับและนำไปใช้ได้ หากเราขุ่นเคืองใจผู้อื่น เช่นที่พระเยซูทรงทำกับคนแลกเงินในวิหารขณะที่พวกเขาเอาเปรียบผู้คน เราก็มีสิทธิที่จะขุ่นเคืองใจพวกเขา (มัทธิว 21:12-17) อย่างไรก็ตาม หากมีใครทำให้เราขุ่นเคืองใจโดยตรง ก็ไม่เป็นสิ่งสำคัญเราต้องปล่อยวางและตั้งคำถามถึงเหตุผลที่เราโกรธในตอนแรก เพราะการโกรธเป็นเรื่องของตัวเราเองเท่านั้น ไม่มีทางอื่นใดนอกจากตัวเราเองที่ถูกโกรธ และตัวเราเองต่างหากที่ถูกโกรธ พระเยซูไม่เคยโกรธพระองค์เอง เลยแม้แต่น้อย พระองค์ไม่เคยโกรธจนเกินเหตุหรือโกรธเคืองเพราะคนอื่นใจร้ายต่อพระองค์เลยแม้แต่ครั้งเดียว พระองค์ไม่เคยโกรธเลยแม้แต่ครั้งเดียว ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกิจ มีคนพยายามจะฆ่าพระองค์ จับพระองค์ ทำร้ายพระองค์ และทั้งหมดนี้เป็นเพียงสิ่งที่เรารู้ (สิ่งเหล่านี้ที่เขียนไว้) เราเพียงแต่จินตนาการถึงจำนวนการแสดงความไม่พอใจที่เกิดขึ้นต่อพระองค์

ลองนึกภาพการใส่ร้าย การหลอกลวง และการนินทาต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบๆ พระผู้ช่วยให้รอดของเรา ลองนึกภาพสถานการณ์ที่พระองค์ถูกยูดาสจูบ ถูกทรยศ ถ่มน้ำลายใส่ และถูกลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม

หากใครก็ตามที่สมควรถูกดูหมิ่นในสายตาของโลก ก็คงจะเป็นพระเยซูอย่างแน่นอน แม้พระองค์เสียใจต่อการหลอกลวงของผู้อื่น แต่ก็ยังทรงยกโทษให้พวกเขา ยกตัวอย่าง เรื่องของ สตีเฟนอีกตัวอย่างหนึ่ง สตีเฟนถูกลากออกจากเมืองในขณะที่กลุ่มฟาริสีที่โกรธแค้นผลัดกันขว้างก้อนหินใส่เขาด้วยเจตนาที่จะฆ่าเขา สตีเฟนควรจะรู้สึกขุ่นเคืองใจอย่างมาก สถานการณ์ที่เลวร้ายกว่านี้มีไม่มากนัก แต่สตีเฟนกลับ ขอการอภัยแทนพวกเขา ก่อนที่พวกเขาจะขว้างหินใส่เขาจนตายสำเร็จ  กิจการ 7:59-60 “เขาจึงเอาหินขว้างสเทเฟนเมื่อกำลังอ้อนวอนพระเจ้าอยู่ว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้า ขอทรงโปรดรับจิตวิญญาณของข้าพระองค์ด้วย” สเทเฟน ก็คุกเข่าลงร้องเสียงดังว่า “พระองค์เจ้าข้า ขอโปรดอย่าทรงถือโทษเขาเพราะบาปนี้” เมื่อกล่าวเช่นนี้แล้วก็ล่วงหลับไป”

แล้วลองดูพวกเราสิ เราขุ่นเคืองและขมขื่นกับเรื่องเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกัน ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับตัวอย่างที่พระเยซูทรงวางไว้ให้เรา พระองค์ยังคงสอนและปฏิบัติตามพระวจนะของพระเจ้าตามที่เขียนไว้ และด้วยเหตุนี้จึงแสดงหลักฐานว่ามีเพียงพระวจนะของพระเจ้าเท่านั้นที่อยู่ในพระองค์

พระองค์ไม่เคยยอมให้เนื้อหนังของพระองค์เอาชนะพระองค์ได้ พระองค์แสดงตนต่ำต้อยในการเชื่อฟัง บูชาพระบิดาอย่างเต็มที่ ไม่ใช่บูชาตนเอง พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ต่อพระองค์เอง แม้กระทั่งถึงขั้นสิ้นพระชนม์ทางกาย และลองเดาดูสิว่าอะไรจะเกิดขึ้นเพราะ พระองค์จะต้องเป็นตัวอย่างให้กับเรา

เราจะไม่ขุ่นเคืองใจเลยหรือ หากทุกคนต้องการฆ่าเรา หากพระองค์ไม่ขุ่นเคืองใจในเรื่องสุดโต่งเช่นนี้ เหตุใดเราจึงต้องขุ่นเคืองใจในเรื่องเล็กน้อย หากเราอุทิศตนเพื่อทำตามตัวอย่างของพระองค์

สิ่งเหล่านี้พูดได้ง่ายกว่าทำเสมอ การพูดว่าเราเชื่อในพระวจนะของพระเจ้าและสอนพระวจนะนั้นง่ายกว่าการดำเนินชีวิตตามความเชื่อในพระวจนะนั้นจริงๆ เราสามารถดำเนินชีวิตและสอนพระวจนะของพระเจ้า และผ่านการตักเตือนและแก้ไขด้วยอำนาจดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีวิธีที่จะดำเนินการดังกล่าวได้ด้วยความกรุณาและความเคารพ ความอ่อนโยนและการรู้จักควบคุมตนเอง ความอดทนและความสงบ ความยินดีและความซื่อสัตย์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบของความรัก ความห่วงใยในความรักควรแผ่ออกมาจากตัวเรา ไม่ใช่ความโกรธ ความขมขื่น และทัศนคติที่ว่า “ดูสิว่าคุณทำอะไรกับฉัน” หากเราไม่แก้ไขด้วยความรัก แต่เพียงแก้ไขเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราถูกต้องเท่านั้น เราก็พลาดประเด็นสำคัญทั้งหมดแล้ว

เราจำเป็นต้องแก้ไขในลักษณะที่บังคับให้ผู้อื่นรู้โดยไม่ต้องสงสัยว่าสิ่งที่เราทำนั้นทำด้วยความรักต่อพวกเขา และไม่ใช่เพราะเราถูกกระทำผิดและมุ่งความสนใจที่ตัวเราเอง แรงจูงใจอื่นๆ สำหรับการแก้ไขอื่นๆ นอกเหนือจากความรัก คือการเปิดเผยจุดเน้นในการแก้ไขสิ่งที่ผิดๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แทนที่จะพยายามนำใครบางคนกลับมาสู่พระวจนะของพระเจ้าด้วยความรักและความห่วงใยที่มีต่อพวกเขา

การแก้ไขด้วยแรงจูงใจที่ผิดๆ เช่นนี้จะไม่ได้รับการตอบรับที่ดีเลย และก็ไม่ควรเป็นเช่นนั้นด้วย

การขุ่นเคืองในพระวจนะของพระเจ้าควรได้รับการตักเตือนจากผู้เชื่อคนอื่นๆ ด้วยความกรุณา ความรัก ความอดทน และการรู้จักควบคุมตนเอง และเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น ผู้รับการตักเตือนดังกล่าวควรยอมรับความจริงของพระวจนะ เราสามารถประกาศความจริงของพระวจนะได้ก็โดยการกระทำเสมือนว่าเราอยู่ในพระวจนะจริงๆ เท่านั้น

นั่นหมายความว่าอย่างไร? หากรากฐานทั้งหมดของพระวจนะของพระเจ้าคือความรัก แล้วเราจะนำใครกลับมาสู่พระวจนะของพระเจ้า (ความรัก) ได้อย่างไร โดยไม่ต้องแสดงความรักในรูปแบบเดียวกัน?

   การทำอย่างอื่นถือเป็นการเสแสร้ง ลองคิดดูสิ ถ้าเราพยายามนำใครบางคนกลับมาสู่พระวจนะของพระเจ้า ซึ่งก็คือการรักพระเจ้าและรักผู้อื่น แล้วเราจะคาดหวังให้ใครกลับมาสู่ความรักได้อย่างไร แม้ว่าเราจะไม่มีความรักก็ตาม นั่นคงเป็นเรื่องไร้สาระ แต่บ่อยครั้งที่เราทำแบบนั้นในการปฏิบัติของเรา สิ่งที่ถูกส่งมอบในขณะนั้น และวิธีการส่งมอบดังกล่าว ถือเป็นการขัดแย้งอย่างร้ายแรง และจะทำให้เกิดความสับสนในกรณีที่ดีที่สุด หรืออาจก่อให้เกิดการตอบสนองเชิงลบในกรณีเลวร้ายที่สุด

ความรักต้องส่งมอบความรัก และต้องรับรู้ถึงความรักนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่เราหมกมุ่นอยู่กับความผิดใดๆ ที่มีต่อเรา   เราก็ได้ทำให้คนเก่าในตัวเราฟื้นคืนชีพ และกลายเป็นทาส ผู้ซึ่งรักสิ่งต่างๆ ที่เป็นของเนื้อหนัง ผู้ซึ่งหลีกหนีจากพระบัญญัติของพระเจ้าและสิ่งฝ่ายวิญญาณทั้งหมด นำเราออกห่างจากพระราชบัญญัติของพระเจ้าไปสู่ บัญญัติแห่งบาป (โรม 6-8) เรื่องนี้สำคัญมากที่ต้องเข้าใจ การที่ตนเองขุ่นเคืองใจเป็นการมุ่งความสนใจไปที่ “ตัวตน” ของตนเอง

ความรักตนเองไม่สามารถแก้ไขและตำหนิผู้อื่นในพระวจนะของพระเจ้าได้ เป็นไปไม่ได้เลยหากไม่เกิดความขัดแย้ง ความรักผู้อื่นเท่านั้นที่สามารถแก้ไขและตำหนิผู้อื่นในพระวจนะของพระเจ้าได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ก็เพราะพระวจนะของพระเจ้าเป็นเรื่องของการรักผู้อื่นและรักพระเจ้า ไม่ใช่การรักตนเอง หากแรงจูงใจของคนเราคือการแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้อื่นเพราะความผิดของตนเอง แรงจูงใจของคนเราก็จะผิดเพี้ยนและผิดพลาด ความปรารถนาของเราที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้อื่นควรขึ้นอยู่กับความรักที่เรามีต่อพวกเขาและความปรารถนาที่จะนำพวกเขากลับมาสู่ความจริงของพระวจนะของพระเจ้าเท่านั้น พระวจนะของพระเจ้าไม่ได้ให้เสรีภาพแก่เราในการแก้ไขใครก็ตามเมื่อมีใครมาทำให้เราขุ่นเคือง เพราะพระวจนะของพระเจ้าเป็นเรื่องของการตายเพื่อตัวเราเอง

คุณเห็นไหมว่านี่เป็นปัญหาอย่างไร? เราต้องทำให้คนเก่าฟื้นขึ้นมาจริงๆ ถึงจะแก้ไขใครก็ตามที่ทำให้เราขุ่นเคืองได้    เราต้องปล่อยให้เนื้อหนังควบคุมเราเพื่อที่เราจะได้ขุ่นเคืองใจ

 ฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแก้ไขผู้อื่นเมื่อมีใครทำให้เราขุ่นเคืองและยังคงสอดคล้องกับพระคัมภีร์ในเวลาเดียวกัน

แล้วทางแก้คืออะไร? เราเพียงแค่ปล่อยมันไป ทำอย่างที่พระคริสต์ทำ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ สำหรับทุกคน ปล่อยให้คนเก่าตายไป ปฏิบัติตามพระวจนะของพระเจ้า เพื่อว่าเมื่อพระเยซูเสด็จมาเป็นพระวจนะของพระเจ้า พระองค์จะเห็นพระองค์เองในตัวคุณเท่านั้น แล้วคุณจะไม่ต้องอับอาย

หากเรารู้สึกขุ่นเคืองกับสิ่งที่มุ่งเป้ามาที่เรา นั่นควรทำให้เราตระหนักว่ายังมีส่วนหนึ่งของเราที่พระวจนะยังต้องกำจัดออกไป ส่วนหนึ่งของเรายังคงจดจ่ออยู่กับตัวเอง ยังมีส่วนอื่นๆ ในตัวเราที่ต้องจัดการเสมอ น่าเสียดายที่เป็นเช่นนี้ในระดับหนึ่งจนกว่าพระองค์จะเสด็จกลับมา ในทำนองเดียวกัน หากเรารู้สึกขุ่นเคืองใจจริงๆ นั่นจะทำให้เราตระหนักว่ามีบางอย่างผิดปกติในตัวเรา ทำให้เรามองเห็นเนื้อหนังของเรา และเราต้องจัดการกับมัน จริงอยู่ที่ว่าจะมีบางอย่างผิดปกติในตัวเราอยู่เสมอ แต่เป้าหมายของเราคือเพื่อให้เราเป็นเหมือนพระฉายาของพระองค์มากขึ้นทุกวัน

สิ่งที่เราทำได้คือมองหาพระวจนะของพระเจ้าเพื่อแก้ไขเรา และเมื่อเรารู้สึกขุ่นเคือง นั่นเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เมื่อเรารู้สึกขุ่นเคือง แสดงว่าเรากำลังกังวลกับการรัก “ตัวเอง” แทนที่จะตายเพื่อตัวเองและมุ่งเน้นไปที่การรักผู้อื่นและพระเจ้า สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเราทุกคน แต่เราควรอยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นน้อยลง เรื่อย ๆ เราควรเข้าใกล้เป้าหมายที่จะเป็นเหมือนพระเยซูผู้ไม่เคยขุ่นเคืองใจในสิ่งที่ทำต่อพระองค์อย่างเห็นแก่ตัว ลองพิจารณาว่าเปโตรใกล้ชิดกับพระเยซูเพียงใด อย่างไรก็ตาม เปโตรกลับปฏิเสธว่าไม่รู้จักพระเยซูถึงสามครั้ง

ถ้าเพื่อนสนิทที่สุดของเราไม่ยอมรับเราต่อหน้าสาธารณชน เราคงไม่โกรธใช่ไหม? เป็นเรื่องธรรมดา พระเยซูจดจ่ออยู่กับสิ่งที่พระองค์จำเป็นต้องทำตามพระประสงค์ของพระบิดา พระองค์ไม่จดจ่อหรือหมกมุ่นอยู่กับวิธีที่คนอื่นปฏิบัติต่อพระองค์ ล้อเลียนพระองค์ หรือทำให้พระองค์อับอาย พระองค์ไม่จดจ่อกับสิ่งที่คนอื่นพูดเกี่ยวกับพระองค์ พระองค์เพียงแต่ทำให้แน่ใจว่าพระองค์ฝึกฝนและสอนพระวจนะของพระเจ้า

เราไม่ควรทำเช่นเดียวกันหรือ? พระคัมภีร์ไม่ได้นิ่งเฉยในประเด็นนี้และให้คำแนะนำและคำเตือนที่ชัดเจนสำหรับสถานการณ์ที่เราอาจรู้สึกขุ่นเคือง ดังนั้น ครั้งต่อไปที่คุณรู้สึกขุ่นเคือง ให้ถามตัวเองว่าคุณกำลังมุ่งเน้นที่ตัวเองอย่างเห็นแก่ตัวเพื่อตอบสนองต่อเรื่องนี้หรือไม่ ในขณะที่คุณควรมุ่งเน้นที่การดำเนินชีวิตตามพระวจนะของพระเจ้า พิจารณาว่าพระวจนะของพระเจ้าสอนเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าอย่างไร หากใครทำบาปต่อเรา เราต้องให้อภัยเขาและปล่อยเขาไป

มัทธิว 6:14-15 “เพราะว่าถ้าท่านยกการละเมิดของเพื่อนมนุษย์ พระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จะทรงโปรดยกโทษให้ท่านด้วย แต่ถ้าท่านไม่ยกการละเมิดของเพื่อนมนุษย์ พระบิดาของท่านจะไม่ทรงโปรดยกการละเมิดของท่านเหมือนกัน”

เราต้องละลายความขมขื่นและความโกรธที่อาจอยู่ในตัวเราเพราะคนอื่น

เอเฟซัส 4:31-32 “จงให้ใจขมขื่น และใจขัดเคือง และใจโกรธ และการทะเลาะเถียงกัน และการพูดเสียดสี กับการคิดปองร้ายทุกอย่าง อยู่ห่างไกลจากท่านเถิด และท่านจงเมตตาต่อกัน มีใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กันเหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้ท่าน เพราะเห็นแก่พระคริสต์

พระองค์ทรงยกโทษให้ท่านแล้ว ไม่มีความขุ่นเคืองใดที่ความรักจะแก้ไขให้เราไม่ได้ แม้ว่าเราจะรักพระองค์เพียงผู้เดียวก็ตาม”

สุภาษิต 10:12 “ความเกลียดชังเร้าให้เกิดความวิวาท แต่ความรักครอบงำบรรดาความผิดบาปเสีย”

ความโกรธที่เกิดจากเนื้อหนังของเรานั้น จะไม่มีวันก่อให้เกิดความชอบธรรมได้

ยากอบ 1:19-20 “ดังนั้น พี่น้องที่รักของข้าพเจ้า จงให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ เพราะว่าความโกรธของมนุษย์ไม่ได้กระทำให้เกิดความชอบธรรมอย่างพระเจ้า”

เราต้องพยายามสร้างสันติกับทุกคนและอย่าให้ความขมขื่นแปดเปื้อน

ฮีบรู 12:14-15 “จงอุตส่าห์ที่จะสงบสุขอยู่กับคนทั้งปวง และที่จะได้ใจบริสุทธิ์ ด้วยว่านอกจากนั้นไม่มีใครจะได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และจงระวังให้ดีเกรงว่าจะมีบางคนกำลังเสื่อมจากพระกรุณาคุณของพระเจ้า และเกรงว่าจะมีรากขมขื่นแซมขึ้นมาทำให้เกิดความยุ่งยากแก่ท่าน และเป็นเหตุให้คนเป็นอันมากมลทินไป”  

เราต้องให้อภัยผู้อื่นอย่างแน่นอน ไม่ว่าพวกเขาจะมีพฤติกรรมหรือการกระทำต่อเราอย่างไรก็ตาม

มาระโก11:25 “เมื่อท่านยืนอธิษฐานอยู่ ถ้าท่านมีเหตุกับผู้หนึ่งผู้ใด จงยกโทษให้ผู้นั้นเสีย เพื่อพระบิดาของท่าน ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ จะโปรดยกการละเมิดของท่านด้วย”

เราต้องรักษาความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพระวิญญาณโดยผูกมัดด้วยสันติสุข

เอเฟซัส 4:1-5 “เหตุฉะนั้นข้าพเจ้าผู้ถูกจำจองเพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอวิงวอนท่านให้ประพฤติสมกับที่ท่านทั้งหลายถูกเรียกแล้วนั้น คือจงมีใจถ่อมลงทุกอย่างและใจอ่อนสุภาพ อดกลั้นไว้นาน และอดทนต่อกันและกันด้วยความรักจงเพียรพยายามเอาสันติสุขผูกมัดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวแห่งพระวิญญาณมีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว เหมือนมีความหวังใจอันเดียวที่เนื่องในการที่ทรงเรียกท่าน มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียวบัพติศมาเดียว”

เราต้องไม่ใส่ใจคำดูหมิ่นเหยียดหยามต่อเรา

สุภาษิต 12:16 “จะรู้ความโกรธของคนโง่ได้ทันที แต่คนที่หยั่งรู้ย่อมปิดบังความอับอาย”

การรักผู้อื่น ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของพระบัญญัติของพระเจ้า จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราไม่รู้สึกเคียดแค้นต่อผู้อื่น

เลวีนิติ 19:18 “เจ้าอย่าแก้แค้นหรือผูกพยาบาทลูกหลานญาติพี่น้องของเจ้า แต่เจ้าจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง    เราคือพระยาห์เวห์”

ในที่สุด เราควรตระหนักว่าเราไม่ควรปล่อยให้คนอื่นมาทำให้เราขุ่นเคือง การทำเช่นนั้นเท่ากับเป็นการปล่อยให้เนื้อหนังควบคุมเราแทนที่จะเป็นพระวิญญาณ เราควรปล่อยให้พระวิญญาณควบคุมเรา โดยนำเราไปตามคำสั่งของพระเจ้า และด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดผลตามที่คาดหวัง

เอเฟซัส 5:8-10 “เพราะว่าเมื่อก่อนท่านเป็นความมืด แต่บัดนี้ท่านเป็นความสว่างแล้วในองค์พระผู้เป็นเจ้า จงดำเนินชีวิตอย่างลูกของความสว่าง (ด้วยว่าผลของพระวิญญาณคือ ความดีทุกอย่างและความชอบธรรมทั้งมวลและความจริงทั้งสิ้น)   ท่านจงพิสูจน์ดูว่า ทำประการใดจึงจะเป็นที่ชอบพระทัยองค์พระผู้เป็นเจ้า”

กาลาเทีย 5:22-23 “ฝ่ายผลของพระวิญญาณนั้นคือ ความรัก ความปลาบปลื้มใจ สันติสุข ความอดกลั้นใจ ความปรานี ความดี ความเชื่อ ความสุภาพอ่อนน้อม การรู้จักบังคับตน เรื่องอย่างนี้ไม่มีพระราชบัญญัติห้ามไว้เลย”

ดังนั้นเราควรพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองขุ่นเคืองใจเพราะเรามัวแต่สนใจแต่เรื่องเนื้อหนัง แต่ควรพยายามดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ รักพระเจ้าและรักผู้อื่นเพื่อฝึกฝนความจริง

ยอห์น 4:24 “พระเจ้าทรงเป็นพระวิญญาณ และผู้ที่นมัสการพระองค์ต้องนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง”

เราต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่ต่อสิ่งที่ผู้อื่นทำกับเรา เมื่อคุณมีโอกาสรู้สึกไม่พอใจขุ่นเคืองสิ่งใดๆ จงใช้โอกาสนั้นให้เป็นประโยชน์ ปฏิกิริยาตอบสนองของคุณแสดงถึงลักษณะนิสัยของพระผู้สร้างในตัวคุณ หรือการขาดลักษณะนิสัยนั้น

 

เราหวังว่าการศึกษาครั้งนี้จะเป็นพรแก่คุณ และโปรดจำไว้ว่าต้องทดสอบทุกอย่างต่อไป

ชาโลม

ชาโลม และขอให้พระยาห์เวห์ทรงอวยพรคุณในการดำเนินชีวิตตามพระวจนะของพระเจ้าทั้งหมด

EMAIL: Info@119ministries.com

FACEBOOK: www.facebook.com/119Ministries

WEBSITE: www.TestEverthing.net

TWITTER: www.twitter.com/119Ministries <http://www.twitter.com/119Ministries>#

 

เงาของเหตุการณ์ที่จะตามมาในภายหลัง

26 เม.ย. 21
Sunete
No Comments

เหตุฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านในเรื่องการกินการดื่ม  สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาในภายหลัง แต่กายนั้นเป็นของพระคริสต์ โคโลสี 2:16-17

เมื่อคุณเริ่มนึกได้ว่าพระคัมภีร์ทั้งเล่มเป็นประโยชน์สำหรับชีวิตของเราและคุณจะเริ่มเข้าใจพระคัมภีร์เดิมโดยที่ความเชื่อของเราอยู่ในรากฐานความเชื่อของชาวฮีบรู คุณจะเริ่มเห็นพระคัมภีร์ทั้งเล่มมีชีวิตขึ้นมาและมีความหมายยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้ว อ.เปาโลกล่าวในโคโลสีบทที่ 2:16-17 ว่า อย่าให้ใครมาตัดสินคุณหรือมาตำหนิต่อว่าในเรื่องการถือเทศกาล วันต้นเดือน หรือวันสะบาโต(ที่พระเจ้าแต่งตั้ง) ซึ่งในความเป็นจริงมันตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราถูกสอนในคริสตจักรทุกวันนี้ (ดูเพิ่มเติมได้ การอ่านพระคัมภีร์ในบริบทที่เหมาะสม ในบทความชื่อ”Reading the Bible in proper context “).

เนื่องจากว่าคริสตจักรส่วนใหญ่จะสอนต่อต้านคำแนะนำของพระเจ้าเกี่ยวกับวิธีนมัสการพระองค์ คริสเตียนจึงสูญเสียเหตุการณ์ครั้งสำคัญหลายๆ เหตุการณ์ ที่จะบอกเราถึงสิ่งดี ๆ ที่จะตามมา ความลึกลับที่น่าอัศจรรย์ในคำสอนหรือการแนะนำของพระเจ้า(โทราห์) มันเป็นเงาของสิ่งดีๆที่จะตาม:

ฮิบรู10:1 โดยเหตุที่พระราชบัญญัตินั้นได้เป็นแต่เงาของสิ่งดีที่จะมาภายหน้า มิใช่ตัวจริงของสิ่งนั้นทีเดียว พระราชบัญญัตินั้นจะใช้เครื่องบูชาที่เขาถวายทุก ๆ ปีเสมอ มากระทำให้ผู้ถวายสักการบูชานั้นถึงที่สำเร็จไม่ได้

ในบทความนี้เราจะได้สัมผัสกับเงาหลายอย่างที่พบได้ในพระคัมภีร์ ยิ่งคุณเข้าสู่พระวจนะของพระเจ้าได้ลึกเท่าไหร่คุณก็จะค้นพบว่าพระเจ้าทรงวางแผนทุกอย่างไว้ตั้งแต่เริ่มต้นแม้ว่าบางครั้งสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอาจจะดูน่ากลัว แต่เราก็ได้รับการปลอบโยนเสมอโดยความจริงที่ว่า “พระเจ้าทรงควบคุมทั้งหมดอยู่”!

เราจะมาดูกันว่าการทรงสร้างเป็นเงาของแผนการของพระเจ้าสำหรับมนุษยชาติอย่างไรบ้างรวมถึงคำแนะนำของพระองค์ เกี่ยวกับวิธีนมัสการพระองค์เป็นภาพสะท้อนการเสด็จมาครั้งแรกและการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู ซึ่งได้เชื่อมโยงกันตั้งแต่ปฐมกาลถึงวิวรณ์

ดังนั้นให้เรามาเริ่มตั้งแต่แรกเพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

อิสยาห์ 46:10 ผู้แจ้งตอนจบให้ทราบตั้งแต่เริ่มต้น และแจ้งถึงสิ่งที่ยังไม่ได้ทำเลยให้ทราบตั้งแต่กาลโบราณ กล่าวว่า `แผนงานของเราจะยั่งยืน และเราจะกระทำให้ความประสงค์ของเราสำเร็จทั้งสิ้น’

การทรงสร้าง

คำพยากรณ์ที่อิสยาห์ให้ไว้ สรุปสิ่งที่เรากำลังจะดูในปฐมกาลหรือในภาษาฮีบรู เบเรชิตבראשית (“ เริ่มแรก”) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกของพระคัมภีร์

ปฐมกาล1:1 ในเริ่มแรกนั้นพระเจ้าทรงเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดินโลก

เรื่องราวการสร้างโดยตัวมันเองเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะเห็นเงาของสิ่งต่างๆที่จะตามมา คำภาษาฮีบรูสำหรับ ‘เริ่มแรก’ Bereshit เบเรซิตבראשית นั้นมีความลึกซึ้งมากจนคุณสามารถเขียนบทความทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง สำหรับผู้ที่สนใจความลึกลับนี้โปรดตรวจสอบลิงค์ชื่อนี้: Is the End of Days Prophesied in the First Word of the Bible? วันสิ้นโลกได้พยากรณ์ไว้ในคำแรกของพระคัมภีร์หรือไม่?

อีกเบาะแสหนึ่งที่ว่าการทรงสร้างเป็นเงาของสิ่งที่จะตามมาภายหลัง มีให้ดูในจดหมายของอัครทูตเปโตรซึ่งเขาโยงไปถึงพระธรรมสดุดี

2 เปโตร 3:8 แต่พวกที่รัก อย่าลืมข้อนี้เสีย คือวันเดียวขององค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นเหมือนกับพันปี และพันปีก็เป็นเหมือนกับวันเดียว

สดุดี 90:4 เพราะพันปีในสายพระเนตรของพระองค์เป็นเหมือนวานนี้ซึ่งผ่านไปแล้ว หรือเหมือนยามเดียวในเวลากลางคืน

เราเห็นว่าสำหรับพระเจ้าวันหนึ่งก็เหมือนพันปีของเราและการทรงสร้างใช้เวลา 6 วันและในวันที่เจ็ดพระเจ้าทรงหยุดพัก แล้วเงา ทีจะตามมาเป็นอย่างไร?

เมื่อแบ่งการทรงสร้างตามลำดับของวันเราจะได้ภาพรวมดังนี้:

วันที่ 1: แยกความสว่างออกจากความมืด
วันที่ 2: แยกแผ่นดินและน้ำ
วันที่ 3: สร้างพืชและเมล็ดพันธุ์ที่ให้ผล
วันที่ 4: สร้างดวงอาทิตย์สำหรับกลางวันและดวงจันทร์และดวงดาวสำหรับกลางคืน
วันที่ 5: สร้างนกในอากาศและปลาในน้ำ
วันที่ 6: สร้างบรรดาสัตว์และสร้างมนุษย์และให้มีลูกดกทวีมากขึ้นจนเต็มแผ่นดินให้มีอำนาจปกครองบรรดาสัตว์และครอบครองสิ่งต่างๆในโลก
วันที่ 7: หยุดพักงานเป็นวันสะบาโตที่ถูกแต่งตั้งขึ้นและถูกแยกออกจากวันอื่นสำหรับมนุษย์

เมื่อพิจารณาแต่ละวันเป็นช่วงเวลาพันปีเราจะเห็นว่าเหตุการณ์ครั้งสำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในรอบพันปี (สหัสวรรษ)นั้นตรงกับวันสร้าง..

วันที่ 1- เริ่มปี 0-1000 ปี:

สิ่งสำคัญที่เราเห็นในวันที่1 คือการแยกความสว่างออกจากความมืด ความสว่างเกี่ยวข้องกับความดีและความมืดเกี่ยวข้องกับความชั่วหรือความชอบธรรมเทียบกับการไร้ธรรมบัญญัติ สิ่งนี้สะท้อนให้เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นที่สวนเอเดนเมื่ออาดัมและเอวากินผลจากต้นไม้แห่งความดีและความชั่ว ในขณะนั้นทั้งความดีและความชั่วความชอบธรรมและการไร้ธรรมบัญญัติกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา นอกจากนั้นแล้วยังเป็นครั้งแรกที่การพยากรณ์ถึงพระผู้ไถ่บาปจากเชื้อสายของหญิงนั้น (ปฐมกาล 3:15) และเราเริ่มเห็นความแตกต่างระหว่างคน 2 กลุ่ม กลุ่มที่เชื่อในพระสัญญาและกลุ่มวางใจในความสามารถของตนเอง บุตรของพระเจ้า (ผู้มีความเชื่อและวางใจในพระสัญญาดูในฮีบรู 11)และ บุตรของมนุษย์ (ผู้เชื่อวางใจในในความสามารถของตนเอง)

วันที่ 2 – เริ่มปี 1000-2000 ปี:

สิ่งสำคัญที่เราเห็นในวันที่สองคือการแยกแผ่นดินและน้ำ เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรอบพันปีนี้คือน้ำท่วมโลกในสมัยของโนอาห์สิ่งเดียวกันก็เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อแผ่นดินโลกถูกน้ำท่วม 150 วัน (ปฐม7:24) หลังจากนั้นพื้นแผ่นดินก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง นี่เป็นสิ่งที่เทียบกันเห็นชัดในระหว่างรอบพันปีที่สองซึ่งตรงกับ วันที่ 2 ของการทรงสร้าง

วันที่  3 – เริ่มปี 2000-3000 ปี:

สิ่งที่โดดเด่นสำหรับวันแห่งการสร้างวันที่ 3 นี้คือเมล็ดพันธุ์พืชที่จะเกิดดอกออกผล ช่วงเวลาสำคัญช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์พระคัมภีร์ที่ตรงกับพระสัญญานี้คือพระสัญญาที่พระเจ้าให้กับอับราฮัมว่าทุกชาติจะได้รับพรโดยทางเชื้อสายของท่าน

ปฐมกาล 22:17-18 เราจะอวยพรเจ้าแน่ เราจะทวีเชื้อสายของเจ้า(ในภาษาฮีบรูเชื้อสายคือ זֶרַע ->เมล็ด) ให้มากขึ้น ดังดวงดาวในท้องฟ้า และดังเม็ดทรายบนฝั่งทะเล เชื้อสายของเจ้าจะได้ประตูเมืองศัตรูของเจ้าเป็นกรรมสิทธิ์ ประชาชาติทั้งหลายทั่วโลกจะได้พรเพราะเชื้อสายของเจ้า เพราะว่าเจ้าได้เชื่อฟังเสียงของเรา”

ปฐมกาล 26:4-5 เราจะทวีเชื้อสายของเจ้า(ในภาษาฮีบรู זֶרַע ->เมล็ด)ให้มากขึ้นดังดาวบนฟ้าและจะให้แผ่นดินเหล่านี้ทั้งหมดแก่เชื้อสายของเจ้า ประชาชาติทั้งหลายในโลกจะได้รับพรก็เพราะเชื้อสายของเจ้า เพราะว่าอับราฮัมได้เชื่อฟังเสียงของเราและได้รักษาคำกำชับของเราบัญญัติของเรา กฎเกณฑ์ของเรา และราชบัญญัติของเรา”

สังเกตความเกี่ยวพันระหว่างเชื้อสายของอับราฮัมที่ทำให้ทุกชาติได้รับพรและพระสัญญาที่ให้กับนางเอวาว่าเชื้อสายของนางจะทำให้หัวของงูฟกช้ำ

ปฐมกาล 3:15 เราจะให้เจ้ากับหญิงนี้เป็นปฏิปักษ์กัน ทั้งเชื้อสายของเจ้ากับเชื้อสายของนาง เชื้อสายของนางจะกระทำให้หัวของเจ้าฟกช้ำ และเจ้าจะกระทำให้ส้นเท้าของท่านฟกช้ำ”

วันที่ 4 – เริ่มปี 3000-4000 ปี:

ผู้เสด็จมา / การสร้างดวงอาทิตย์เพื่อแยกความสว่างออกจากความมืด

ปฐมกาล 1:14-18 พระเจ้าตรัสว่า “จงให้มีดวงสว่างบนพื้นฟ้าอากาศเพื่อแยกวันออกจากคืน และเพื่อใช้เป็นหมายสำคัญ และที่กำหนดฤดู วันและปีต่างๆ และจงให้เป็นดวงสว่างบนพื้นฟ้าอากาศเพื่อส่องสว่างบนแผ่นดินโลก” ก็เป็นดังนั้น พระเจ้าได้ทรงสร้างดวงสว่างใหญ่สองดวง ให้ดวงสว่างที่ใหญ่กว่านั้นครองกลางวัน และให้ดวงที่เล็กกว่าครองกลางคืน พระองค์ทรงสร้างดวงดาวต่างๆด้วยเช่นกัน พระเจ้าทรงตั้งดวงสว่างเหล่านี้ไว้บนพื้นฟ้าอากาศเพื่อส่องสว่างบนแผ่นดินโลก เพื่อครองกลางวันและครองกลางคืน และเพื่อแยกความสว่างออกจากความมืด พระเจ้าทรงเห็นว่าดี

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในตอนท้ายของรอบพันปีที่ 4 คือการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ของเราเพื่อนำความสว่างเข้าสู่ความมืด การเสด็จมาของพระเยซูเปรียบได้กับดวงอาทิตย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปกครองตลอดวัน ข้อพระคัมภีร์คำพยากรณ์เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์มีอยู่ในมาลาคี 4: 2

มาลาคี 4:2  แต่ดวงอาทิตย์แห่งความชอบธรรมซึ่งมีปีกรักษาโรคภัยได้จะขึ้นมาสำหรับคนเหล่านั้นที่ยำเกรงนามของเรา เจ้าจะกระโดดโลดเต้นออกไปเหมือนลูกวัวออกไปจากคอก

นอกจากนี้พระเยซูเองยังบอกว่าพระองค์เป็นความสว่าง:

ยอห์น12:46 เราเข้ามาในโลกเป็นความสว่าง เพื่อผู้ใดที่เชื่อในเราจะมิได้อยู่ในความมืด 

สังเกตว่าการสร้างวันที่ 1 คือการสร้างความสว่างและความมืด (วันที่บาปได้เข้ามาในโลก) และการทรงสร้างในวันที่ 4 คือการแยกความสว่างออกจากความมืด (การมาของพระผู้ไถ่บาปทำให้เราสามารถเอาชนะความมืด / ความบาป) วันที่ 4 คือการบรรลุตามพระสัญญาที่ให้ไว้กับเอวาเกี่ยวกับการที่เชื้อสายของหญิงจะขยี้หัวงูและต่ออับราฮัมว่าคนทั้งโลกจะได้รับพรผ่านเชื้อสายของเขา!

วันที่ 5 -เริ่มปี 4000-5000 ปี:

นกและปลาเข้ามาในภาพ  ทั้ง 2 สิ่งที่ผมต้องนึกถึงปลากับนกเข้ามาในภาพคือ:

  1. มัทธิว 4:19 พระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงตามเรามาเถิด และเราจะตั้งท่านให้เป็นผู้หาคนดั่งหาปลา”
  2. และพระวิญญาณบริสุทธิ์ในพระคัมภีร์แสดงให้เห็นเป็นนกพิราบ ยอห์น 1:32 “ข้าพเจ้าเห็นพระวิญญาณเหมือนดังนกเขาเสด็จลงมาจากสวรรค์ และทรงสถิตบนพระองค์

สองเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของรอบพันปีที่ 5 และสิ่งเหล่านี้ดำเนินการตลอดรอบพันปีได้แก่

  • พระมหาบัญชาที่ประทานให้เราออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ และสร้างสาวก (มัทธิว 28: 18-20)
  • และเราได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ในเทศกาลวันเพ็นเทคอสต์ของชาวยิวที่ช่วยให้เราสามารถทำตามพระมหาบัญชานั้นได้ (กิจการ 2: 2-4)

วันที่ 6 – เริ่มปี 5000-6000 ปี:

วันที่หกหมายถึงการสร้างมนุษย์และการปกครองโลกของมนุษย์ในรอบพันปีที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าทั้งประชากรโลกและความรู้ความสามารถของมนุษย์เติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ!

ดาเนียล12:4 แต่ตัวเจ้า โอ ดาเนียลเอ๋ย จงปิดถ้อยคำเหล่านั้นไว้ และประทับตราหนังสือนั้นเสีย จนถึงวาระสุดท้าย คนเป็นอันมากจะวิ่งไปวิ่งมา และความรู้จะทวีขึ้น”

แท้จริงสหัสวรรษนี้คือรอบพันปีของมนุษย์ เป็นสิ่งที่โดดเด่นในคำทำนายของแดเนียลคือการเชื่อมโยงกับจุดจบของการสิ้นยุค! โดยพื้นฐานแล้วเป็นการส่งสัญญาณการสิ้นสุดของการปกครองโลกของมนุษย์ซึ่งเป็นระยะเวลา 6000 ปี! สอดคล้องกันทั้งสองครั้งนี้แสดงรอบพันปีที่ 6 และระยะเวลาของ 6 พันปี

วันที่ 7 – เริ่มปี 6000-7000 ปี:

วันสะบาโตเป็นตัวแทนของวันหยุดพัก (ไม่ทำงาน) ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งไว้!

ปฐมกาล 2:1-3 ดังนี้ฟ้าและแผ่นดินโลกและบรรดาบริวารก็ถูกสร้างขึ้นให้สำเร็จ ในวันที่เจ็ดพระเจ้าก็เสร็จงานของพระองค์ซึ่งพระองค์ได้ทรงสร้างมาแล้วนั้น และในวันที่เจ็ดพระองค์ทรงพักการงานทั้งสิ้นของพระองค์ซึ่งพระองค์ได้ทรงสร้างมาแล้วนั้น พระเจ้าทรงอวยพระพรวันที่เจ็ดและทรงตั้งวันนี้ไว้เป็นวันบริสุทธิ์ เพราะในวันนั้นพระองค์ได้ทรงหยุดพักจากการงานทั้งสิ้นของพระองค์ซึ่งพระเจ้าได้ทรงเนรมิตสร้างไว้แล้วนั้น

ผมคิดว่าพวกเราส่วนใหญ่ตระหนักถึงพระราชอาณาจักรพันปี ช่วงเวลาหนึ่งพันปีที่พระเยซูปกครองในฐานะทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งมหากษัตริย์ทั้งปวงและเจ้านายแห่งเจ้านายทั้งปวงในโลก วันของพระเจ้าที่อ้างถึงหลายครั้งในพระคัมภีร์บอกถึงการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระคริสต์ในตอนท้ายของวันที่ 6 ซึ่งพระองค์จะทำสงครามบนโลกกับกองทัพมนุษย์ที่ได้ยกกำลังพลเข้าโจมตีอิสราเอล หรือที่ทราบกันดี “อาร์มาเก็ดโดน” Armageddon เราอ่านทั้งหมดนี้ได้ในหนังสือวิวรณ์ตอนท้ายของวันที่ 6 (ปี 6000) และการเริ่มต้นของวันที่ 7 !(ปี7000)

อาร์มาเก็ดโดนในภาษาฮิบรู“ ฮิลล์ออฟเมกิดโด”Hill of Megiddo”เมืองเมกิดโดของปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่บนทางผ่านซึ่งมีถนนที่เชื่อมระหว่างอียิปต์และซีเรียอาจได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์แห่งการสู้รบดังกล่าวเนื่องจากเป็นสถานที่เกิดเหตุของการเผชิญหน้าทางทหารหลายครั้งเป็นสถานที่ตั้งทางยุทธศาสตร์

วันสิ้นสุดของวันที่ 6: (ปี 6000) วิวรณ์ 19: 16-21พระองค์ทรงมีพระนามจารึกที่ฉลองพระองค์ และที่ต้นพระอูรุของพระองค์ว่า “พระมหากษัตริย์แห่งมหากษัตริย์ทั้งปวงและเจ้านายแห่งเจ้านายทั้งปวง” แล้วข้าพเจ้าเห็นทูตสวรรค์องค์หนึ่งยืนอยู่บนดวงอาทิตย์ ท่านร้องประกาศแก่นกทั้งปวงที่บินอยู่ในท้องฟ้าด้วยเสียงอันดังว่า “จงมาประชุมกันในการเลี้ยงของพระเจ้ายิ่งใหญ่ เพื่อจะได้กินเนื้อกษัตริย์ เนื้อนายทหาร เนื้อคนมีบรรดาศักดิ์ เนื้อม้า และเนื้อคนที่นั่งบนม้า และเนื้อประชาชน ทั้งไทยและทาส ทั้งผู้น้อยและผู้ใหญ่” และข้าพเจ้าเห็นสัตว์ร้ายนั้น และบรรดากษัตริย์บนแผ่นดินโลก พร้อมทั้งพลรบของกษัตริย์เหล่านั้น มาประชุมกันจะทำสงครามกับพระองค์ผู้ทรงม้า และกับพลโยธาของพระองค์ สัตว์ร้ายนั้นถูกจับพร้อมด้วยผู้พยากรณ์เท็จ ที่ได้กระทำการอัศจรรย์ต่อหน้าสัตว์ร้ายนั้น และใช้การอัศจรรย์นั้นล่อลวงคนทั้งหลายที่ได้รับเครื่องหมายของสัตว์ร้ายนั้น และบูชารูปของมัน สัตว์ร้ายและผู้พยากรณ์เท็จถูกทิ้งทั้งเป็นลงในบึงไฟที่ไหม้ด้วยกำมะถัน และคนที่เหลืออยู่นั้น ก็ถูกฆ่าด้วยพระแสงที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์ผู้ทรงม้านั้นเสีย และนกทั้งปวงก็กินเนื้อของคนเหล่านั้นจนอิ่ม

เริ่มต้นวันที่ 7: (ปี7000) วิวรณ์ 20: 1-6 แล้วข้าพเจ้าเห็นทูตสวรรค์องค์หนึ่งลงมาจากสวรรค์ ท่านถือลูกกุญแจของเหวที่ไม่มีก้นเหวนั้นและถือโซ่ใหญ่ และท่านได้จับพญานาค ซึ่งเป็นงูดึกดำบรรพ์ ผู้ซึ่งเป็นพญามารและซาตาน และล่ามมันไว้พันปี แล้วทิ้งมันลงไปในเหวที่ไม่มีก้นเหวนั้น แล้วได้ลั่นกุญแจประทับตรา เพื่อไม่ให้มันล่อลวงบรรดาประชาชาติได้อีกต่อไป จนครบกำหนดพันปีแล้วหลังจากนั้นจะต้องปล่อยมันออกไปชั่วขณะหนึ่ง ข้าพเจ้าได้เห็นบัลลังก์หลายบัลลังก์ และผู้ที่นั่งบนบัลลังก์นั้น ทรงมอบให้เป็นผู้ที่จะพิพากษา และข้าพเจ้ายังได้เห็นดวงวิญญาณของคนทั้งปวงที่ถูกตัดศีรษะ เพราะเป็นพยานของพระเยซู และเพราะพระวจนะของพระเจ้า และเป็นผู้ที่ไม่ได้บูชาสัตว์ร้ายนั้นหรือรูปของมัน และไม่ได้รับเครื่องหมายของมันไว้ที่หน้าผากหรือที่มือของเขา คนเหล่านั้นกลับมีชีวิตขึ้นมาใหม่และได้ครอบครองร่วมกับพระคริสต์เป็นเวลาพันปี แต่คนอื่นๆที่ตายแล้วไม่ได้กลับมีชีวิตอีกจนกว่าจะครบกำหนดพันปี นี่แหละคือการฟื้นจากความตายครั้งแรก ผู้ใดที่ได้มีส่วนในการฟื้นจากความตายครั้งแรกก็เป็นสุขและบริสุทธิ์ ความตายครั้งที่สองจะไม่มีอำนาจเหนือคนเหล่านั้น แต่เขาจะเป็นปุโรหิตของพระเจ้าและของพระคริสต์ และจะครอบครองร่วมกับพระองค์ตลอดเวลาพันปี 

ที่นี่เราจะเห็นว่าการเสด็จกลับมาในวันของพระเจ้า (การเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์) ประกาศการเริ่มต้นของการปกครองพันปีของพระคริสต์บนโลก นี่คือสิ่งที่วันสะบาโตแสดงให้เห็นตลอดมาถือเป็นเงาของการครองราชย์1,000 ปีของพระเยซู บนโลกนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการหยุดพักสงบ และการฟื้นฟูใหม่ของทั้งอย่างคือ โลกรับการฟื้นฟูใหม่และผู้ที่อาศัยอยู่บนโลก เพื่อจะแสดงให้เราเห็นว่าพระเจ้าทรงประสงค์ให้มนุษย์ปกครองอย่างไร และมนุษย์คิดว่าจะรักษาคำแนะนำของพระองค์ที่มอบให้เราตั้งแต่เริ่มต้นได้อย่างไร

เมื่อพระเยซูตรัสว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งวันสะบาโตพระองค์ทรงหมายถึงอย่างนั้นจริง!

มัทธิว 12:8 เพราะว่าบุตรมนุษย์เป็นเจ้าเป็นใหญ่เหนือวันสะบาโต”

พระเยซูทรงเป็น พระมหากษัตริย์แห่งมหากษัตริย์ทั้งปวงและเจ้านายแห่งเจ้านายทั้งปวงตลอดพันปีเต็มบนโลกนี้และในฮิบรู ยิ่งให้ความหมายสำคัญยิ่งขึ้น

ฮิบรู4:1 เหตุฉะนั้น เมื่อมีพระสัญญาทรงประทานไว้แล้วว่า จะให้เข้าในที่สงบสุขของพระองค์ ให้เราทั้งหลายมีความยำเกรงว่า ในพวกท่านอาจจะมีผู้หนึ่งผู้ใดเหมือนไปไม่ถึง

ฮิบรู 4:8-9 เพราะว่าถ้าโยชูวาได้พาเขาเข้าสู่ที่สงบสุขนั้นแล้ว พระองค์ก็คงมิได้ตรัสในภายหลังถึงวันอื่นอีก ฉะนั้นจึงยังมีสะบาโตสำหรับชนชาติของพระเจ้า 

วันนั้นตามที่กล่าวไว้ในฮีบรู 4 เป็นวันสำหรับผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นคืนชีพครั้งแรกดังที่เราอ่านในวิวรณ์ 20:6 ผู้ใดที่ได้มีส่วนในการฟื้นจากความตายครั้งแรก ก็เป็นสุขและบริสุทธิ์ ความตายครั้งที่สองจะไม่มีอำนาจเหนือคนเหล่านั้น แต่เขาจะเป็นปุโรหิตของพระเจ้าและของพระคริสต์ และจะครอบครองร่วมกับพระองค์ตลอดเวลาพันปี

คล้ายกับ อ.เปาโล เราต้องต่อสู้กับการต่อสู้ที่ดีและจบการแข่งขันเพื่อที่เราจะได้เข้าสู่การพักสงบ :

2 ทิโมธี 4:7 ข้าพเจ้าได้ต่อสู้อย่างเต็มกำลัง ข้าพเจ้าได้แข่งขันจนถึงที่สุด ข้าพเจ้าได้รักษาความเชื่อไว้แล้ว

 

วันที่พระเจ้าทรงแต่งตั้ง

เราจบลงด้วยวันสะบาโตซึ่งเป็นการแนะนำที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งหรือคำแนะนำของพระองค์แก่เราอย่างสมบูรณ์แบบเกี่ยวกับวิธีที่พระองค์ต้องการให้เรานมัสการพระองค์! เราพบสิ่งเหล่านี้ในเลวีนิติ 23 และเรียกอีกอย่างว่า วันงานเลี้ยงของพระเจ้า /ยาเวห์ YHVH (יהוה)

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำว่าวันหยุด คำว่า ‘วันหยุด’ มาจากคำว่า วันบริสุทธิ์ (Holy-day) และเป็นวันที่พระเจ้าประกาศว่าเป็นวันบริสุทธิ์และมอบให้เราเพื่อให้เป็นคำแนะนำในการปฏิบัติตามพระองค์

แล้วสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเงาต่างๆ ที่จะตามมา เราเห็นแล้วในโคโลสีว่าเปาโลกล่าวถึงวันแต่งตั้งนี้ว่า

“สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาในภายหลัง แต่กายนั้นเป็นของพระคริสต์” โคโลสี 2:17.

ดังนั้นเรามาดูบทสรุปของวันที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งตามที่กล่าวไว้ในเลวีนิติ 23 มีดังนี้:

  1. วันสะบาโต
  2. งานเลี้ยงเทสกาลปัสกา + วันงานเลี้ยงขนมปังไร้เชื้อ
  3. งานเลี้ยงวันผลแรก
  4. เทศกาลวันเพ็นเทคอสต์/ หรือ งานเลี้ยงสัปดาห์
  5. งานเลี้ยงวันเป่าแตร
  6. วันลบมลทิน
  7. งานเลี้ยงเทศกาลอยู่เพิง + วันที่ 8

เราได้พูดถึงวันสะบาโตแล้วว่านี่เป็นเงาของอาณาจักรรอบพันปีเป็นอย่างไร ข้อสำคัญอย่างหนึ่งของวันในพระคัมภีร์จะนับเริ่มต้นจากพระอาทิตย์ตกวันนั้นและ สิ้นสุดด้วยพระอาทิตย์ตกในวันถัดไปดังนั้น วันสะบาโตจึงต้องเริ่มต้นในเย็นวันศุกร์และสิ้นสุดในเย็นวันเสาร์ “เจ้าต้องรักษาวันสะบาโตจากเวลาเย็นถึงเวลาเย็น”(เลวีนิติ 23:32)!

วันอื่น ๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงระยะที่แตกต่างกัน:

  1.  งานเลี้ยงฤดูใบไม้ผลิ
    a) งานเลี้ยงเทศกาลปัสกา +งานเลี้ยงขนมปังไร้เชื้อ
    b) งานเลี้ยงวันผลแรก
    c) เทศกาลวันเพ็นเทคอสต์/หรืองานเลี้ยงสัปดาห์
  2.  งานเลี้ยงฤดูใบไม้ร่วง
    a) งานเลี้ยงวันเป่าแตร ยัมเทรัวอา Yom Teruah (יוֹםתְּרוּעָה)
    b) วันลบมลทิน ยัมคิพโพร์ Yom Kippur (יוֹםכִּיפּוּר)
    c) งานเลี้ยงเทศกาลอยู่เพิง + วันที่ 8

ดังนั้น 2 ช่วงเวลานี้มีความสำคัญและเป็นเงาของสิ่งต่างๆที่จะตามมาอย่างไร?

เช่นเดียวกับมีวันงานเลี้ยง 2 งาน และเรามีพระเมสสิยาห์ / พระคริสต์มา 2 ครั้ง ในพันธสัญญาเดิมเรายังเห็นพระเมสสิยาห์อยู่ใน 2 สภาพที่อธิบายไว้

  1. พระเมสสิยาห์สภาพหนึ่งได้อธิบายว่าเป็นผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานและถูกแทงและชดใช้การละเมิดของเราดัง เราอ่านในอิสยาห์ 53 สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับโจเซฟเมื่อเขาถูกขายให้เป็นทาสและต้องทนทุกข์ทรมานในขณะที่เขาเป็นผู้บริสุทธิ์
    เรารู้จักพระเมสสิยาห์นี้ในฐานะเมสสิยาห์ เบ็นโจเซฟ (บุตรชายของโจเซฟ)
  2. พระเมสสิยาห์อีกสภาพหนึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการพยากรณ์ว่าจะเสด็จมาและสถาปนาราชอาณาจักรของพระองค์และขึ้นครองราชย์นำสันติสุขมาสู่โลกเมื่อพระเยซูเสด็จมาครั้งแรกเป็นผู้ที่ชาวยิวกำลังมองหาและพระเมสสิยาห์องค์นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เมสสิยาห์เบ็นดาวิด (บุตรชายของดาวิด)

การมาทั้ง2ครั้ง ของพระเมสสิยาห์เป็นเงาของสิ่งที่จะตามมาทำให้เรามี:

  1. งานเลี้ยงฤดูใบไม้ผลิ – การเสด็จมาครั้งแรกของพระเมสสิยาห์ในฐานะเมสสิยาห์เบน – โจเซฟ
  2. งานเลี้ยงฤดูใบไม้ร่วง – การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเมสสิยาห์ในฐานะพระเมสสิยาห์เบ็น – ดาวิด

เมื่อคำนึงถึงสิ่งนี้ก่อนอื่นเรามาดูงานเลี้ยงในฤดูใบไม้ผลิและเหล่านี้ดูสอดคล้องกันอย่างดีกับข้อพระคัมภีร์และงานเลี้ยง

งานเลี้ยงฤดูใบไม้ผลิ

งานเลี้ยงฤดูใบไม้ผลิเริ่มต้นในเดือนแรกของปฏิทินฮีบรูชื่อเดือน อาบิบ Abib หรือที่รู้จักกันในชื่อเดือนนิซาน (เลียนแบบชื่อในบาบิโลนตอนตกเป็นเชลย) เมื่อเราดูวันที่สำหรับงานเลี้ยงเราจะได้รายการเรียงลำดับตามนี้:

  • วันที่ 10 อาบิบ/นิซาน: วันสะบาโตใหญ่ เป็นวันตรวจสอบลูกแกะปัสกา (อพยพ 12: 3)
  • วันที่ 14 อาบิบ/นิซาน: งานเลี้ยงเทศกาลปัสกา – เริ่มต้นด้วยการถวายลูกแกะปัสกาในวันที่ 14 ของอาบิบและการรับประทานเนื้อลูกแกะปัสกาในเย็นวันเดียวกันซึ่งเป็นวันที่ 15 อาบิบ/นีซาน วันเริ่มงานเลี้ยงขนมปังไร้เชื้อ
  • วันถัดจากวันสะบาโตแรกอยู่ในช่วงงานเลี้ยงขนมปังไร้เชื้อเรียกว่างานเลี้ยงแห่งผลแรก
  • วันเพ็นเทคอสต์ / งานเลี้ยงสัปดาห์: การนับถอยหลังสำหรับสิ่งนี้เริ่มต้นด้วย The Feast of Firstfruits นับจากวันนี้พวกเขาเริ่มนับสัปดาห์ด้วยเหตุนี้การฉลองการตั้งชื่อของสัปดาห์วันหลังจาก 7 สัปดาห์หรือ 7 วันสะบาโตเป็นวันเพ็นเทคอสต์

ดังนั้นในขณะที่ 2 งานเลี้ยงแรกได้รับการแก้ไข แต่งานอื่น ๆ นั้นขึ้นอยู่กับวันที่เกิดขึ้นจริงในวันนั้น ๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าจุดเริ่มต้นของเดือนขึ้นอยู่กับการเริ่มต้นของดวงจันทร์ใหม่ เมื่อพระเจ้าตรัสในปฐมกาล 1:14 “ขอให้มีแสงไฟบนท้องฟ้าเพื่อแยกวันออกจากกลางคืนและให้มันเป็นสัญญาณบ่งบอกฤดูกาล  และวันและปี” คำภาษาฮีบรูที่ใช้สำหรับฤดูกาลหมายถึง วันเวลาที่พระเจ้าแต่งตั้ง!

ให้เรามาดูกันว่าวันเหล่านี้มันตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับพระเมสสิยาห์ เบ็น – โจเซฟ หมายถึงพระเยซูตอนเสด็จมาครั้งแรกอย่างไร

วันสะบาโตพิเศษ ชาบัท ฮากาโดล์ (10 อาบิบ) วันเตรียมลูกแกะ ในอพยพ12:3

ก่อนที่พระเยซูจะสิ้นพระชนม์พระองค์เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มและผู้คนกล่าวสรรเสริญพระองค์ว่าเป็นพระเมสสิยาห์ส่วนใหญ่ในโลกคริสเตียนรู้จักวันนี้ ว่าปาล์มซันเดย์ เราอ่านเรื่องนี้ในมัทธิว 21: 1-11 และเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับข้อ 9 เมื่อชาวยิวส่งเสียงป่าวร้องสรรเสรฺญ

“โฮซันนาแก่ราชโอรสของดาวิด `ขอให้พระองค์ผู้เสด็จมาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงพระเจริญ โฮซันนา’ ในที่สูงสุด”

สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงในวันที่10 อาบิบซึ่งเป็นการตรวจสอบลูกแกะ นี้น่าจะเป็นไปได้มากในเวลาเดียวกันว่าลูกแกะทั้งหมดต้องมีอายุ 1 ปีถึงจะถูกนำตัวมาจากเบธเลเฮมไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อให้แต่ละครอบครัวได้รับการคัดเลือกและถูกพาเข้าบ้านตามที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์

อพยพ 12:1-8 พระเยโฮวาห์ตรัสกับโมเสสและอาโรนในประเทศอียิปต์ว่า “ให้เดือนนี้เป็นเดือนเริ่มต้นสำหรับเจ้าทั้งหลาย ให้เป็นเดือนแรกในปีใหม่สำหรับพวกเจ้า จงสั่งชุมนุมคนอิสราเอลทั้งหมดว่า ในวันที่สิบเดือนนี้ ให้ผู้ชายทุกคนเตรียมลูกแกะครอบครัวละตัวตามเรือนบรรพบุรุษของตน ถ้าครอบครัวใดมีคนน้อยกินลูกแกะตัวหนึ่งไม่หมด ก็ให้รวมกับเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกันเตรียมลูกแกะตัวหนึ่งตามจำนวนคนตามที่เขาจะกินได้กี่มากน้อย ให้นับจำนวนคนที่จะกินลูกแกะนั้น ลูกแกะของเจ้าต้องปราศจากตำหนิเป็นตัวผู้อายุไม่เกินหนึ่งขวบ เจ้าจงเอามาจากฝูงแกะ หรือฝูงแพะ จงเก็บไว้ให้ดีถึงวันที่สิบสี่เดือนนี้ แล้วในเย็นวันนั้นให้ที่ประชุมของคนอิสราเอลทั้งหมดฆ่าลูกแกะของเขา แล้วเอาเลือดทาที่ไม้วงกบประตูทั้งสองข้าง และไม้ข้างบน ณ เรือนที่เขาเลี้ยงกันนั้นด้วย ในคืนวันนั้นให้เขากินเนื้อปิ้ง กับขนมปังไร้เชื้อและผักรสขม 

ดังนั้นพระเยซูเสด็จมาในกรุงเยรูซาเล็มในวันที่ 10  เดือนอาบิบ-นีซาน แสดงให้เห็นถึงลูกแกะที่จะถูกนำไปฆ่าและพระเจ้าทรงนำลูกแกะที่ทรงเลือกแล้วนั้นเข้ามาในบ้านของพระองค์(เยรูซาเล็ม) ตามที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์จนถึงวันที่ถูกปลงพระชนม์ในวันที่ 14 อาบิบ เวลาบ่าย 3 โมง

ปัสกา (14 อาบิบ)

วันที่พระเยซูกลายเป็นลูกแกะปัสกาของเราและถูกฆ่าบูชาเนื่องจากการละเมิดของเราในวันที่ 14 เวลาพลบค่ำความหมายของพลบค่ำในสมัยนั้นคือเวลาหลังจากดวงอาทิตย์ขึ้นถึงจุดสูงสุดและเริ่มอยู่ในระหว่างที่ดวงอาทิตย์จะตกและมืดลง มีการบันทึกว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์ในเวลาบ่าย 15.00 น. ของวันที่ 14 อาบิบในช่วงบ่ายสามโมงเป็นช่วงอยู่ระหว่างกลางของช่วงเวลาพลบค่ำซึ่งยังไม่ตกเย็น

1 โครินธ์ 5:7 ดังนั้นจงชำระเชื้อเก่าเสียเพื่อท่านจะได้เป็นแป้งดิบก้อนใหม่เหมือนขนมปังไร้เชื้อ เพราะพระคริสต์ผู้ทรงเป็นปัสกาของเรา ได้ถูกฆ่าบูชาเพื่อเราเสียแล้ว

เกือบ 2 ปีที่แล้ว พึ่งจะก่อนวันอีสเตอร์ศิษยาภิบาลได้สอนเกี่ยวกับเทศกาลงานเลี้ยงต่าง ๆ ของชาวยิวติดต่อกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์ เมื่อเราเรียนถึงเทศกาลปัสกา จู่ๆผมก็ถูกกระตุกให้ตื่นเมื่อผมรู้ว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์ในวันเทศกาลนั้นโดยเป็นลูกแกะปัสกา นั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับเราและเราเริ่มสงสัยว่าทำไมพวกเราถึงไม่ฉลองเทศกาลปัสกาแทนวันอีสเตอร์ ซึ่งเป็นวันหยุดในพระคัมภีร์จริง ๆ แทนการฉลองวันหยุดของเพแกนที่เป็นรากเหง้าของคนที่ไม่เชื่อในพระเจ้าและไม่มีที่ไหนที่จะพบได้ในพระคัมภีร์ให้เราฉลองวันอีสเตอร์

อีกครั้งเหตุการณ์นี้ตรงกับพระคัมภีร์และเป็นวันที่พระเจ้าทรงแต่งตั้ง

เทศกาลปัสกาเคลื่อนเข้าสู่งานเลี้ยงขนมปังไร้เชื้อและเราเห็น อ. เปาโลกล่าวถึงเรื่องนี้แล้วใน 1 โครินธ์ 5: 7 สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้คือนี่เป็นงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการครั้งแรกและใช้เวลากินเลี้ยงเป็นเวลา 7 วันซึ่งสะท้อนถึงสัปดาห์แห่งการทรงสร้าง นอกจากนี้ครั้งสุดท้ายของเวลาที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ “งานเลี้ยงเทศกาลอยู่เพิง” ใช้เวลา 7 วัน ดังนั้นเราจึงมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดงานเลี้ยง (เอลฟา א และ โอเมกา ת) ซึ่งใช้เวลา 7 วัน!

งานเลี้ยงวันถวายผลแรก

รายการถัดไปคือ งานเลี้ยงวันผลแรกวันดังกล่าวขึ้นอยู่กับว่าวันปัสกาเริ่มต้นในวันใดเนื่องจากเป็นวันถัดจากวันสะบาโตแรกระหว่างงานเลี้ยงขนมปังไร้เชื้อ

เมื่อเราตรวจสอบพระคัมภีร์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประจักษ์พยานของสาวกของพระเยซูในระหว่างและหลัง การตรึงกางเขนวันเดียวที่เป็นไปได้สำหรับวันที่ 14 อาบิบจะเป็นวันพุธ (ดูในไทม์ไลน์) ดังนั้นแนวคิดของวันศุกร์ประเสริฐ เป็นความคิดที่ไม่ใช่ตามพระคัมภีร์! นี่จะทำให้เรามีวันถวายผลแรก เป็นวันที่ 18 อาบิบ ตรงกับวันแห่งการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู!

1โครินธ์15:20-23 แต่บัดนี้พระคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว และทรงเป็นผลแรกในพวกคนทั้งหลายที่ได้ล่วงหลับไปแล้วนั้น เพราะว่าความตายได้อุบัติขึ้นเพราะมนุษย์คนหนึ่งเป็นเหตุฉันใด การเป็นขึ้นมาจากความตายก็ได้อุบัติขึ้นเพราะมนุษย์ผู้หนึ่งเป็นเหตุฉันนั้น เพราะว่าคนทั้งปวงต้องตายเกี่ยวเนื่องกับอาดัมฉันใด คนทั้งปวงก็จะกลับได้ชีวิตเกี่ยวเนื่องกับพระคริสต์ฉันนั้น แต่ว่าทุกคนจะเป็นไปตามลำดับ คือพระคริสต์ทรงเป็นผลแรก แล้วภายหลังก็คือคนทั้งหลายที่เป็นของพระคริสต์ ในเมื่อพระองค์จะเสด็จมา

Also, note that a Biblical day starts at Sunset so the Day of FirstFruit starts just after the Sabbath at Sunset on a Saturday! When we look at the number of days and nights Jesus was in the grave we get:

นอกจากนี้โปรดทราบว่า การเริ่มวันใหม่ตามที่พระคัมภีร์ที่กำหนดนับจากเวลาที่พระอาทิตย์ตกดังนั้นวันผลแรกจะเริ่มต้นหลังจากพระอาทิตย์ตกในวันเสาร์(วันสะบาโต)! เมื่อเราดูจำนวนวันและคืนที่พระเยซูอยู่ในหลุมศพเราจะทราบได้ว่า:

สามวันสามคืน

  • 15 อาบิบคืนที่ 1 + วันที่ 1 : วันสะบาโตพิเศษ ดูยอห์น 19:31 ด้วย
  • 16 อาบิบคืนที่ 2 + วันที่ 2 พวกผู้หญิงซื้อเครื่องเทศหลังวันสะบาโตใหญ่ (16 มี.ค. 1) และเตรียมเครื่องเทศก่อนวันสะบาโตปกติ (ลก 23:56) วันเดียวที่สามารถเป็นได้คือวันศุกร์ เพราะวันพฤหัสบดีเป็นวันสะบาโตพิเศษ (ยอห์น 19:31) และวันเสาร์ซึ่งเป็นวันสะบาโตปกติ
  • 17 อาบิบคืนที่ 3 + วันที่ 3

แล้วสัญญาณเดียวที่พระเยซูบอกว่าจะให้พวกฟาริสีคืออะไร?

มัทธิว12:38-40 คราวนั้นมีบางคนในพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสีทูลว่า “อาจารย์เจ้าข้า พวกข้าพเจ้าอยากจะเห็นหมายสำคัญจากท่าน” พระองค์จึงตรัสตอบเขาว่า “คนชาติชั่วและเล่นชู้แสวงหาหมายสำคัญ และจะไม่ทรงโปรดให้หมายสำคัญแก่เขา เว้นไว้แต่หมายสำคัญของโยนาห์ศาสดาพยากรณ์ ด้วยว่า `โยนาห์ได้อยู่ในท้องปลาวาฬสามวันสามคืน’ ฉันใด บุตรมนุษย์จะอยู่ในท้องแผ่นดินสามวันสามคืนฉันนั้น

นอกจากนั้นเราจะเห็นว่าโยนาห์เป็นเพียงเงาของสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพระคริสต์ที่เราเห็นว่าพระคัมภีร์สอดคล้องกับงานเลี้ยงที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้อย่างสมบูรณ์แบบและคำพยากรณ์ด้วย พระเยซูสิ้นพระชนม์ในวันพุธและพระองค์ทรงเป็นขึ้นจากความตายในเย็นวันเสาร์ !(ไม่ใช่วันอาทิตย์)

พระเยซูทรงแสดงตนเป็นผลแรกแด่พระบิดาในวันผลแรกเวลาเดียวกับที่ปุโรหิตจะต้องทำเช่นนั้น (เลวีนิติ 23: 10-11 นี่จะเป็นวันอาทิตย์ของเรา) เรารู้เรื่องนี้จากการพบพระเยซูที่อุโมงค์ฝังศพกับมารีย์แม็กดาลีน พระเยซูบอกเธอว่าอย่าแตะต้องพระองค์เพราะพระองค์ยังไม่ได้กลับไปหาพระบิดา (ยน 20:17)

ยอห์น 20:17 พระเยซูตรัสกับเธอว่า “อย่าแตะต้องเรา เพราะเรายังมิได้ขึ้นไปหาพระบิดาของเรา แต่จงไปหาพวกพี่น้องของเรา และบอกเขาว่า เราจะขึ้นไปหาพระบิดาของเราและพระบิดาของท่านทั้งหลาย และไปหาพระเจ้าของเราและพระเจ้าของท่านทั้งหลาย”

หลังจากนั้นในวันเดียวกันนั้นพระองค์บอกให้โทมัสแตะต้องแผลของพระองค์ (ยน 20:27) สิ่งนี้บอกว่าในขณะนี้อยู่กับนางมารีย์พระองค์ยังไม่ได้ถวายตัวแด่พระบิดาในฐานะผลแรกในขณะที่อยู่กับโทมัสพระองค์ได้ทำไปแล้ว ! เป็นภาพที่สวยงามของสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น!

วันเพ็นเทคอสต์/งานเลี้ยงสัปดาห์

งานเลี้ยงฤดูใบไม้ผลิครั้งสุดท้ายคือวันเพ็นเทคอสต์หรือเรียกอีกอย่างว่างานฉลองสัปดาห์เนื่องจากการนับสัปดาห์นับจากวันถวายผลแรก งานเลี้ยงวันเพ็นเทคอสต์ของชาวยิว (Shavuot) เป็นงานเลี้ยงขอบคุณสำหรับผลแรกของการเก็บเกี่ยวข้าวสาลี แต่ก็เกี่ยวข้องกับการระลึกถึงพระราชบัญญัติที่พระเจ้าประทานให้โมเสสบนภูเขาซีนายด้วย

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่วันเพ็นเทคอสต์เป็นวันที่พระเจ้าทรงทำพันธสัญญากับชนชาติอิสราเอลและประทานพระราชบัญญัติของพระองค์เพื่อควบคุมพันธสัญญานั้น ยังเป็นวันที่พระเจ้าประทานคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีสร้างพลับพลาบนโลกซึ่งเป็นเงาของพลับพลาสวรรค์ที่โมเสสมองเห็นจากสวรรค์

ฮิบรู 8:5 ปุโรหิตเหล่านั้นปฏิบัติตามแบบและเงาแห่งสิ่งเหล่านั้นที่อยู่ในสวรรค์ เหมือนพระเจ้าได้ทรงสั่งแก่โมเสสครั้นเมื่อท่านจะสร้างพลับพลานั้นว่า `ดูเถิด จงทำทุกสิ่งตามแบบอย่างที่เราแจ้งแก่ท่านบนภูเขา’

อพยพ 25:8-9แล้วให้เขาสร้างสถานบริสุทธิ์ถวายแก่เรา เพื่อเราจะได้อยู่ท่ามกลางพวกเขา แบบอย่างพลับพลาและเครื่องทั้งปวงของพลับพลานั้น เจ้าจงทำตามที่เราแจ้งไว้แก่เจ้านี้ทุกประการ 

แล้ววันนี้ตรงกับการมาครั้งแรกของพระเยซูอย่างไร? คริสเตียนส่วนใหญ่รู้จักวันเพ็นเทคอสต์เป็นอย่างดีในขณะเดียวกันหลายคนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นงานเลี้ยงของชาวยิวจริง ๆ หรือเป็นหนึ่งในวันที่พระเจ้าแต่งตั้ง พวกเขามองว่ามันเป็นสิ่งสำหรับคริสเตียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นเพ็นเทคอสต์

เงาที่สำคัญสำหรับงานเลี้ยงนี้คือพันธสัญญาใหม่ที่พระเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ในเยเรมีย์และยังพบได้ในฮีบรู 8: 8

เยเรเมีย์31:31-34 พระเยโฮวาห์ตรัสว่า “ดูเถิด วันเวลาจะมาถึง ซึ่งเราจะทำพันธสัญญาใหม่กับวงศ์วานอิสราเอลและวงศ์วานยูดาห์ ไม่เหมือนกับพันธสัญญาซึ่งเราได้กระทำกับบรรพบุรุษของเขาทั้งหลาย ในวันที่เราจูงมือเขาเพื่อนำเขาออกมาจากแผ่นดินอียิปต์ เป็นพันธสัญญาของเราซึ่งเขาผิด ถึงแม้ว่าเราได้เป็นสามีของเขา” พระเยโฮวาห์ตรัสดังนี้แหละ”แต่นี่จะเป็นพันธสัญญาซึ่งเราจะกระทำกับวงศ์วานอิสราเอล ภายหลังสมัยนั้น” พระเยโฮวาห์ตรัสดังนี้แหละ “เราจะบรรจุราชบัญญัติ(תּוֹרָה Torah)ของเราไว้ภายในเขาทั้งหลาย และเราจะจารึกมันไว้ที่ในดวงใจของเขาทั้งหลาย และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นประชาชนของเรา และทุกคนจะไม่สอนเพื่อนบ้านของตนและพี่น้องของตนแต่ละคนอีกว่า `จงรู้จักพระเยโฮวาห์’ เพราะเขาทั้งหลายจะรู้จักเราหมด ตั้งแต่คนเล็กน้อยที่สุดถึงคนใหญ่โตที่สุด” พระเยโฮวาห์ตรัสดังนี้แหละ “เพราะเราจะให้อภัยความชั่วช้าของเขา และจะไม่จดจำบาปของเขาทั้งหลายอีกต่อไป”

ดังนั้นสิ่งนี้ตรงกับสิ่งที่เราทุกคนรู้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันเพ็นเทคอสต์และเราอ่านในกิจการ 2 การเสด็จมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์อย่างไร เชื่มโยงกับพระวิญญาณบริสุทธิ์มีอยู่ในเอเสเคียล 36: 26-27

เอเสเคียล 36:26-27 เราจะให้ใจใหม่แก่เจ้า และเราจะบรรจุจิตวิญญาณใหม่ไว้ในเจ้า เราจะนำใจหินออกไปเสียจากเนื้อของเจ้า และจะให้ใจเนื้อแก่เจ้า และเราจะใส่วิญญาณของเราภายในเจ้า และกระทำให้เจ้าดำเนินตามกฎเกณฑ์ของเรา และเจ้าจะรักษาคำตัดสินของเราและกระทำตาม 

ส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงกันพระวิญญาณบริสุทธิ์กับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ แต่หน้าที่สำคัญของพระวิญญาณบริสุทธิ์คือกระตุ้นให้เราปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์และระมัดระวังที่จะรักษาพระราชบัญญัติของพระองค์ (โทราห์)แท้จริงแล้วภาษาฮีบรูพระบัญญัติที่ใช้ในเยเรมีย์คือคำว่า โทราห์ (תּוֹרָה)!

พระเจ้าจะใส่โทราห์ของพระองค์ (ไม่ใช่บัญญัติใหม่แต่เป็นบัญญัติเดียวกัน)เข้าไปในความคิดและจิตใจของเรา (หัวใจใหม่ที่เป็นเนื้อแทนหัวใจหินของเรา) และประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์เพื่อกระตุ้นเราให้ทำตามคำสั่งของพระองค์และรักษาบัญญัติของพระองค์! แล้วที่เป็นพันธสัญญาใหม่คืออะไร?

  1. หัวใจใหม่ที่เป็นเนื้อมาแทนที่หัวใจที่เป็นหิน
  2. พระองค์จะทรงเขียนพระบัญญัติของพระองค์ (תּוֹרָהโทราห์)ไว้ในหัวใจและความคิดของเราแทนบนใจหิน
  3. พระองค์จะประทานพระวิญญาณของพระองค์เพื่อช่วยกระตุ้นเราให้รักษาพระราชบัญญัติของพระองค์

ดังนั้นอีกครั้งเวลากำหนดของพระเจ้าสะท้อนให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างการเสด็จมาครั้งแรกของพระคริสต์

เรายังสามารถเห็นได้ว่าลำดับเหตุการณ์ดูสอดคล้องกันกับลำดับของงานเลี้ยงแรกซึ่งนำเราไปสู่จุดเริ่มต้นของการมาของพระเยซูในการประสูติของพระองค์ หากเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นไปตามลำดับแล้วการประสูติของพระเยซูน่าจะเกิดขึ้นก่อนวันที่ 10 อาบีบ เราได้เห็นคำแนะนำบางประการเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูแล้วในบทความนี้ที่จะสรุปเพื่อให้เห็นภาพที่น่าประทับใจ

วันที่ 10 ของอาบีบคือวันที่นำลูกแกะอายุ 1 ปีจากเบธเลเฮมไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อให้ครอบครัวต่าง ๆ  ได้คัดเลือกแกะเหล่านั้นและนำไปที่บ้านของพวกเขา ความจริงที่ว่าลูกแกะมีอายุ 1 ปี ทำให้เราทราบได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาของปีที่ลูกแกะเกิด นี่คือในฤดูใบไม้ผลิประมาณเดือนอาบิบ/นีซาน! นอกจากนี้เบธเลเฮมยังเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกแกะสำหรับการบูชาในพระวิหารและตรงกับสถานที่ประสูติของพระเยซู! เรารู้ว่าเมื่อพระเยซูประสูตินั้นมีเรื่องของผู้เลี้ยงแกะที่เฝ้าดูแลฝูงแกะของตนในตอนกลางคืนปรากฏขึ้น เหตุผลเดียวที่ผู้เลี้ยงแกะต้องทำเช่นนั้นก็เพื่อดูแลและช่วยเหลือแกะที่จะคลอดลูกตอนกลางคืนซึ่งบางทีอาจมีปัญหา!

จากข้อมูลอีกอย่างคือคำแนะนำที่พระเจ้าประทานให้โมเสสเพื่อสร้างพลับพลาลองดูข้อนั้นอีกครั้ง:

อพยพ 25:8-9 แล้วให้เขาสร้างสถานบริสุทธิ์ถวายแก่เรา เพื่อเราจะได้อยู่ท่ามกลางพวกเขา แบบอย่างพลับพลาและเครื่องทั้งปวงของพลับพลานั้น เจ้าจงทำตามที่เราแจ้งไว้แก่เจ้านี้ทุกประการ

เรารู้จักพระคัมภีร์อีกข้อหนึ่งที่กล่าวถึงพระเยซูที่ทรงเป็นพระวจนะที่กลายเป็นเนื้อหนังและอยู่ท่ามกลางพวกเรา:

ยอห์น1:14 พระวาทะได้ทรงสภาพของเนื้อหนัง และทรงอยู่ท่ามกลางเรา (และเราทั้งหลายได้เห็นสง่าราศีของพระองค์ คือสง่าราศีอันสมกับพระบุตรองค์เดียวที่บังเกิดจากพระบิดา) บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง

ดังนั้นในวันเพ็นเทคอสต์โมเสสได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสร้างพลับพลาว่าพวกเขาต้องใช้เวลาในการสร้างนานแค่ไหนจึงจะเริ่มใช้มันได้และที่พระเจ้าจะสถิตอยู่ท่ามกลางพวกเขา อันที่จริงเราสามารถรู้วันเวลาที่แน่นอนได้ว่าพวกเขาต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการสร้างพลับพลา

เวลาของการออกแบบพลับพลาจนเสร็จสิ้นการสร้างใช้เวลา 9 เดือน เราสามารถอ่านได้ ว่าพลับพลาสร้างเสร็จเมื่อใดที่พระเจ้าสั่งให้โมเสสสร้างขึ้นในอพยพ 40: 1-2

อพยพ 40:1-2พระเยโฮวาห์ตรัสกับโมเสสว่า”ในวันที่หนึ่งของเดือนแรก จงตั้งพลับพลาแห่งเต็นท์ของชุมนุม

ว้าว!!! นางมารีย์จึงตั้งครรภ์พระเยซูในวันเพ็นเทคอสต์และพระเยซูประสูติในวันแรกของอาบิบในวันปีใหม่ !!! หวังว่าคุณจะเริ่มเห็นภาพแล้ว เวลาที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้สวยงามและสมบูรณ์เพียงใดที่ตรงกับการเสด็จมาครั้งแรกของพระคริสต์เมสสิยาห์เบ็นโจเซฟ! เราสามารถคาดหวังเช่นเดียวกันสำหรับการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระองค์!

งานเลี้ยงฤดูใบไม้ร่วง

งานเลี้ยงฤดูใบไม้ร่วงยังไม่มา แต่เราใกล้จะเริ่มแล้ว เนื่องจากยังไม่เกิดขึ้นจึงยากที่จะทราบว่างานเลี้ยงแต่ละงานหมายถึงอะไร แต่เราสามารถทราบได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเดือนในพระคัมภีร์ สำหรับการเริ่มต้นงานเลี้ยงในฤดูใบไม้ร่วงคือเดือนที่เจ็ดที่เรียกว่า เอทานิม Etanim และส่วนใหญ่เป็นที่รู้กันว่าหลังจากการถูกเนรเทศในชื่อของ ทิชชรี Tishri วันงานเลี้ยงฉลองเหล่านี้เป็นวันที่กำหนดโดยเริ่มต้นของเดือนที่เจ็ด:

  • วันที่ 1   เอทานิม – วันเป่าแตร ยัมทัวอาห์ Yom Teruah (יוֹםתְּרוּעָה)
  • วันที่ 10 เอทานิม – วันลบมลทิน ยัมคิพโพร์ Yom Kippur  (יוֹםכִּיפּוּר)
  • วันที่ 15 เอทานิม – เทศกาลอยู่เพิง สุคคอท- Sukkot

ยัมทัวอาห์ Yom Teruah  (יוֹםתְּרוּעָה)

เรารู้ว่าพระเยซูเสด็จมาครั้งที่สองในฐานะเมสสิยาห์เบ็นเดวิดจะได้รับการประกาศโดยการป่าวร้องและเป่าแตรซึ่งตรงกับวันเริ่มต้นของเทศกาลฤดูใบไม้ร่วงที่เริ่มต้นด้วยงานเลี้ยงแตร! ชื่อในพระคัมภีร์สำหรับวันหยุดนี้คือ ยัมทัวอาห์ Yom Teruah (יוֹםתְּרוּעָה) ซึ่งแปลว่า “วันแห่งการป่าวร้องหรือเป่าแตร”!

เลวีนิติ 23:23-25 พระเยโฮวาห์ตรัสกับโมเสสว่า “จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ด เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันสะบาโต เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร เจ้าอย่าทำงานหนัก และเจ้าจงนำเครื่องบูชาด้วยไฟถวายแด่พระเยโฮวาห์”

พวกเราส่วนใหญ่ตระหนักถึงการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์ ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าการสร้างเป็นเพียงเงาของสิ่งต่างๆที่จะตามมาซึ่งจบลงด้วยวันสะบาโตที่แสดงถึงการมาของวันของพระเจ้านี่คือวันเริ่มต้นของวันของพระเจ้า!

งานเลี้ยงฤดูใบไม้ร่วงส่วนใหญ่นำเสนอในสองสามบทสุดท้ายของหนังสือวิวรณ์และอิสยาห์ แต่ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยทรัมเป็ตที่เจ็ด:

วิวรณ์11:15 และทูตสวรรค์องค์ที่เจ็ดก็เป่าแตรขึ้น และมีเสียงหลายๆเสียงกล่าวขึ้นดังๆในสวรรค์ว่า “ราชอาณาจักรทั้งหลายแห่งพิภพนี้ได้กลับเป็นราชอาณาจักรทั้งหลายขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา และเป็นของพระคริสต์ของพระองค์ และพระองค์จะทรงครอบครองตลอดไปเป็นนิตย์”

นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของวันของพระเจ้าการเริ่มต้นของการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์

เหตุการณ์สำคัญในวันนี้คือการฟื้นคืนชีพครั้งแรกของคนตายและการรวบรวมนักบุญที่รักษาพระบัญญัติของพระเจ้าและศรัทธาในพระเยซู

วิวรณ์ 14:12 นี่แหละคือความอดทนของพวกวิสุทธิชน คือผู้ที่ประพฤติตามพระบัญญัติของพระเจ้า และดำเนินตามความเชื่อของพระเยซู

วิวรณ์ 20:4-6 คนเหล่านี้เป็นคนที่มิได้มีมลทินกับผู้หญิง เพราะว่าเขาเป็นพวกพรหมจารี พระเมษโปดกเสด็จไปที่ใด คนเหล่านี้ก็ตามเสด็จไปด้วย พวกเขาเป็นผู้ที่ทรงไถ่จากมวลมนุษย์ เป็นผลแรกถวายแด่พระเจ้าและแด่พระเมษโปดก (5) ปากเขาไม่กล่าวคำอุบายเลย เพราะเขาไม่มีความผิดต่อหน้าพระที่นั่งของพระเจ้า (6) แล้วข้าพเจ้าได้เห็นทูตสวรรค์อีกองค์หนึ่งที่บินอยู่ในท้องฟ้า เพื่อประกาศข่าวประเสริฐอันเป็นอมตะแก่คนทั้งหลายที่อยู่ในโลก แก่ทุกชาติ ทุกตระกูล ทุกภาษา และประชากร

1 เธสโลนิกา 4:13-17แต่พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่อยากให้ท่านไม่ทราบถึงเรื่องคนเหล่านั้นที่ล่วงหลับไปแล้ว เพื่อท่านจะไม่เป็นทุกข์โศกเศร้าอย่างคนอื่นๆที่ไม่มีความหวัง เพราะถ้าเราเชื่อว่าพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ และทรงคืนพระชนม์แล้ว เช่นเดียวกันบรรดาคนที่ล่วงหลับไปในพระเยซูนั้น พระเจ้าจะทรงนำคนเหล่านั้นมากับพระองค์ด้วย ในข้อนี้เราขอบอกให้ท่านทราบตามพระวจนะขององค์พระผู้เป็นเจ้าว่า เราผู้ยังเป็นอยู่และเหลืออยู่จนถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าเสด็จมา จะล่วงหน้าไปก่อนคนเหล่านั้นที่ล่วงหลับไปแล้วก็หามิได้ ด้วยว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าเองจะเสด็จมาจากสวรรค์ ด้วยเสียงกู่ก้อง ด้วยสำเนียงของเทพบดี และด้วยเสียงแตรของพระเจ้า และคนทั้งปวงที่ตายแล้วในพระคริสต์จะเป็นขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นเราทั้งหลายซึ่งยังเป็นอยู่และเหลืออยู่ จะถูกรับขึ้นไปในเมฆพร้อมกับคนเหล่านั้น เพื่อจะได้พบองค์พระผู้เป็นเจ้าในฟ้าอากาศ อย่างนั้นแหละเราก็จะอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นนิตย์

ยัมคิพโพร์ Yom Kippur (יוֹם כִּיפּוּר)

Yom Kippur, also known as the Day of Atonement, is the holiest day of the year in Judaism. Its central themes are atonement and repentance.
ยัมคิพโพร์ หรือที่เรียกว่าวันแห่งการลบมลทิน เป็นวันบริสุทธิ์ที่สุดของปีในศาสนายิว สาระสำคัญคือการไถ่บาปและการกลับใจ

เลวีนิติ  23:26-32 พระเยโฮวาห์ตรัสกับโมเสสว่า”ในวันที่สิบของเดือนที่เจ็ดนี้เป็นวันทำการลบมลทิน จะเป็นวันประชุมบริสุทธิ์แก่เจ้า และเจ้าต้องถ่อมใจลง และนำเครื่องบูชาด้วยไฟถวายแด่พระเยโฮวาห์ ในวันเดียวกันนั้นเจ้าอย่าทำงานใดๆ เพราะเป็นวันทำการลบมลทิน ที่จะทำการลบมลทินของเจ้าต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า ในวันเดียวกันนั้น ผู้ใดก็ตามไม่ถ่อมใจลง ผู้นั้นจะต้องถูกตัดขาดจากท่ามกลางชนชาติของตน และในวันเดียวกันนี้ถ้าผู้ใดทำงานใดๆ เราจะทำลายผู้นั้นเสียจากท่ามกลางชนชาติของเขา เจ้าอย่าทำงานสิ่งใดเลย ทั้งนี้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรตลอดชั่วอายุของเจ้าทั่วไปในที่อาศัยของเจ้าจะเป็นวันสะบาโตสำหรับหยุดพักสงบแก่เจ้า และเจ้าจงถ่อมใจลง เริ่มแต่เวลาเย็นในวันที่เก้าของเดือน เจ้าต้องรักษาวันสะบาโตจากเวลาเย็นถึงเวลาเย็น”

10 วันหลังจากการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์และอาจถูกมองว่าเป็นวันแห่งการพิจารณาคดีหรือการพิพากษา เมื่อพระเยซูเสด็จกลับมาพระองค์จะทำสงครามกับชาติต่าง ๆ ที่โจมตีอิสราเอล สงครามครั้งนี้จะยาวนานเพียงใดไม่ทราบได่แต่จะเป็นภาพที่ไม่สวยนักการต่อสู้อาจสิ้นสุดในไม่กี่ชั่วโมงหรืออาจใช้เวลา 10 วัน ในปัจจุบันเวลาระหว่าง วันเป่าแตร (ยัมทัวอาห์ Yom Teruah) และวันลบมลทิน(ยัมคิพโพวร์ Yom Kippur) ใช้สำหรับการประเมินตนเองการกลับใจและการคืนดีในสิบวันดังที่ทราบกันดีว่าเป็นโอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลง บางทีพระเยซูอาจอยากให้กลุ่มประเทศที่ต่อต้านและโจมตีอิสราเอล 10 วันเพื่อการกลับใจก่อนการพิพากษาจะเกิดขึ้นก็อาจเป็นได้

แต่ 2 สิ่งที่เรารู้แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้:

1) สัตว์ร้ายและผู้เผยพระวจนะเท็จถูกจับและถูกโยนลงไปในบึงไฟ

วิวรณ์ 19: 19-20 และข้าพเจ้าเห็นสัตว์ร้ายนั้น และบรรดากษัตริย์บนแผ่นดินโลก พร้อมทั้งพลรบของกษัตริย์เหล่านั้น มาประชุมกันจะทำสงครามกับพระองค์ผู้ทรงม้า และกับพลโยธาของพระองค์ สัตว์ร้ายนั้นถูกจับพร้อมด้วยผู้พยากรณ์เท็จ ที่ได้กระทำการอัศจรรย์ต่อหน้าสัตว์ร้ายนั้น และใช้การอัศจรรย์นั้นล่อลวงคนทั้งหลายที่ได้รับเครื่องหมายของสัตว์ร้ายนั้น และบูชารูปของมัน สัตว์ร้ายและผู้พยากรณ์เท็จถูกทิ้งทั้งเป็นลงในบึงไฟที่ไหม้ด้วยกำมะถัน

2) ซาตานจะถูกมัดและโยนไว้ในก้นหลุมลึกและถูกขังไว้เป็นเวลานานนับพันปี

วิวรณ์ 20:1-3

แล้วข้าพเจ้าเห็นทูตสวรรค์องค์หนึ่งลงมาจากสวรรค์ ท่านถือลูกกุญแจของเหวที่ไม่มีก้นเหวนั้นและถือโซ่ใหญ่ และท่านได้จับพญานาค ซึ่งเป็นงูดึกดำบรรพ์ ผู้ซึ่งเป็นพญามารและซาตาน และล่ามมันไว้พันปี แล้วทิ้งมันลงไปในเหวที่ไม่มีก้นเหวนั้น แล้วได้ลั่นกุญแจประทับตรา เพื่อไม่ให้มันล่อลวงบรรดาประชาชาติได้อีกต่อไป จนครบกำหนดพันปีแล้วหลังจากนั้นจะต้องปล่อยมันออกไปชั่วขณะหนึ่ง

งานเลี้ยงเทศกาลอยู่เพิง- สุคโคต

เมื่อซาตานถูกมัดขังไว้เป็นเวลาพันปีเราจึงเข้าสู่จุดเริ่มต้นของพระราชอาณาจักรพันปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งสันติสุขและการปกครองของพระคริสต์บนโลกนี้ เหตุผลประการหนึ่งที่มอบให้เราสำหรับ เทศกาลอยู่เพิง สุคโคต Sukkot ในเลวีนิติคือการได้รับการเตือนว่าพระเจ้าทรงให้คนอิสราเอลอาศัยอยู่ในเพิงพระองค์ทรงนำพวกเขาออกจากแผ่นดินอียิปต์

เลวีนิติ 23:42-43 เจ้าจงอยู่ในเพิงเจ็ดวัน ทุกคนที่เกิดในวงศ์วานพวกอิสราเอลให้เข้าอยู่ในเพิง เพื่อตลอดชั่วอายุของเจ้าจะได้ทราบว่า เมื่อเราพาคนอิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์นั้นเราได้ให้เขาอยู่ในเพิง เราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า” ดังนี้แหละโมเสสจึงได้ประกาศให้คนอิสราเอลทราบถึงเทศกาลเลี้ยงตามกำหนดของพระเยโฮวาห์

งานเลี้ยงนั้นคือ 7 วันและจากนั้นเราก็มีวันที่ 8 ที่ลึกลับซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจความหมายของ Sukkot ตามที่กล่าวไว้ในช่วงต้นงานเลี้ยงแรก (‘งานเลี้ยงในวันขนมปังไร้เชื้อ Unleavened Bread) คือ 7 วันและงานเลี้ยงสุดท้ายนี้คือ 7 วัน ช่วงเวลาเดียวกับเงาของสัปดาห์แห่งการสร้าง นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

ไม่ต้องสงสัยเลยว่างานเลี้ยงเทศกาลอยู่เพิง Sukkot เกี่ยวข้องกับอาณาจักรพันปีซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นวันที่ 7 ของการสร้าง

นอกจากนี้เรายังทราบว่าในช่วงพันปี ทุกประเทศทั่วโลกต้องเฉลิมฉลองเทศกาลอยู่เพิงนี้เราอ่านใน เศคาริยาห์ 14:16

เศคาริยาห์ 14:16 และอยู่มาบรรดาคนที่เหลืออยู่ในประชาชาติทั้งปวงซึ่งยกขึ้นมาสู้รบกับเยรูซาเล็ม จะขึ้นไปนมัสการกษัตริย์ปีแล้วปีเล่า คือพระเยโฮวาห์จอมโยธา และจะถือเทศกาลอยู่เพิง

นอกจากนี้เรารู้ว่าเราจะได้รับการสอนให้เชื่อฟังพระบัญญัติทั้งหมดของพระองค์

มีคาห์ 4:1-2ในยุคหลังจะเป็นดังนี้ คือภูเขาแห่งพระนิเวศของพระเยโฮวาห์จะถูกสถาปนาขึ้นให้สูงที่สุดในจำพวกภูเขาทั้งหลาย และจะถูกยกขึ้นให้เหนือบรรดาเนินเขา ชนชาติทั้งหลายจะหลั่งไหลเข้ามาหา และประชาชาติเป็นอันมากจะมากล่าวว่า “มาเถิด ให้เราขึ้นไปยังภูเขาของพระเยโฮวาห์ ยังพระนิเวศแห่งพระเจ้าของยาโคบ เพื่อพระองค์จะทรงสอนวิถีของพระองค์แก่เรา และเพื่อเราจะเดินในมรรคาของพระองค์” เพราะว่าพระราชบัญญัติจะออกมาจากศิโยน และพระวจนะของพระเยโฮวาห์จะออกมาจากเยรูซาเล็ม

ดังนั้นดูเหมือนว่างานเลี้ยงจะพยายามสรุปประวัติศาสตร์ของมนุษย์และเตือนให้พวกเขานึกถึงวิธีที่พระองค์ทรงนำพวกเขาออกจากอียิปต์ (เป็นตัวแทนของโลกหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในความไร้ธรรมบัญญัติ) และทำให้พวกเขาอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยชั่วคราวเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าทั้งหมดนี้คือ สิ่งชั่วคราวจริง ๆ และมันจะสิ้นสุดลง

แล้วสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับวันที่ 8 อย่างไร?

ยอห์น 7:37-38 ในวันสุดท้ายของเทศกาลซึ่งเป็นวันใหญ่นั้น พระเยซูทรงยืนและประกาศว่า “ถ้าผู้ใดกระหาย ผู้นั้นจงมาหาเราและดื่ม ผู้ที่เชื่อในเรา ตามที่พระคัมภีร์ได้กล่าวไว้แล้วว่า `แม่น้ำที่มีน้ำประกอบด้วยชีวิตจะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น'”

It is not coincident that Jesus mentioned this on the 8th Day of Sukkot, Jesus is referring with this to the New Jerusalem

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่พระเยซูตรัสถึงเรื่องนี้ในวันที่ 8 ของเทศกาลอยู่เพิง สุคคต พระเยซูตรัสถึงเรื่องนี้กล่าวถึงเยรูซาเล็มใหม่

เศคาริยาห์ 14: 7-8แต่จะเป็นวันหนึ่งที่พระเยโฮวาห์ทรงทราบแล้ว ไม่ใช่วันหรือคืน แต่ต่อมาเวลาเย็นจะมีแสงสว่าง ในวันนั้นน้ำแห่งชีวิตจะไหลออกจากเยรูซาเล็ม ครึ่งหนึ่งจะไหลไปสู่ทะเลด้านตะวันออก และครึ่งหนึ่งจะไหลไปสู่ทะเลด้านตะวันตก ในฤดูร้อนก็จะไหลเรื่อยไปดังในฤดูหนาว

และ

วิวรณ์ 22:1-5 ท่านได้ชี้ให้ข้าพเจ้าดูแม่น้ำบริสุทธิ์ที่มีน้ำแห่งชีวิต ใสเหมือนแก้วผลึก ไหลออกมาจากพระที่นั่งของพระเจ้า และของพระเมษโปดก ท่ามกลางถนนในเมืองนั้นและริมแม่น้ำทั้งสองฟากมีต้นไม้แห่งชีวิต ซึ่งออกผลสิบสองชนิด ออกผลทุกๆเดือน และใบของต้นไม้นั้นสำหรับรักษาบรรดาประชาชาติให้หาย จะไม่มีการสาปแช่งใดๆอีกต่อไป พระที่นั่งของพระเจ้าและของพระเมษโปดกจะตั้งอยู่ในเมืองนั้น และบรรดาผู้รับใช้ของพระองค์จะปรนนิบัติพระองค์ เขาเหล่านั้นจะเห็นพระพักตร์พระองค์ และพระนามของพระองค์จะประทับอยู่ที่หน้าผากเขา กลางคืนจะไม่มีที่นั่น เขาไม่ต้องการแสงเทียนหรือแสงอาทิตย์ เพราะว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าคือพระเจ้าทรงประทานแสงสว่างแก่เขา และเขาจะครอบครองอยู่ตลอดไปเป็นนิตย์

เรามีมนุษย์ที่ได้ปกครองบนโลกตลอด 6 พันปีได้เปลี่ยนโลกนี้ให้เกิดความสับสนและยุ่งเหยิงจากนั้นเราจะมี 1พันปีของพระเยซูที่ปกครองโลกเปลี่ยนให้เป็นอย่างที่ควรจะเป็นและในตอนท้ายของวันที่ 7 เราอ่านว่าทั้งสอง ฟ้าและแผ่นดินโลกจะถูกทำลายหลังจากซาตานได้รับการปลดปล่อยจากที่คุมขังและมันได้รวบรวมกองทัพอีกครั้ง ทำศึกสงครามโจมตี กรุงเยรูซาเล็ม (วิวรณ์ 20)

เมื่อวันที่ 7 สิ้นสุดลงแล้วเราก็เข้าสู่จุดสิ้นสุดของวันที่ 8 เราจะเห็นการเริ่มต้นใหม่อย่างสมบูรณ์ด้วยสวรรค์ใหม่และโลกใหม่และเยรูซาเล็มใหม่จะดีจากสวรรค์สู่โลก เราอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ในวิวรณ์ 21:

วิวรณ์ 21:1-7 ข้าพเจ้าได้เห็นท้องฟ้าใหม่และแผ่นดินโลกใหม่ เพราะท้องฟ้าเดิมและแผ่นดินโลกเดิมนั้นหายไปหมดสิ้นแล้ว และทะเลก็ไม่มีอีกแล้ว ข้าพเจ้า คือยอห์น ได้เห็นเมืองบริสุทธิ์ คือกรุงเยรูซาเล็มใหม่ เลื่อนลอยลงมาจากพระเจ้าและจากสวรรค์ กรุงนี้ได้จัดเตรียมไว้พร้อมแล้ว เหมือนอย่างเจ้าสาวแต่งตัวไว้สำหรับสามี ข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังมาจากสวรรค์ว่า “ดูเถิด พลับพลาของพระเจ้าอยู่กับมนุษย์แล้ว พระองค์จะทรงสถิตกับเขา เขาจะเป็นชนชาติของพระองค์ และพระเจ้าเองจะประทับอยู่กับเขา และจะทรงเป็นพระเจ้าของเขา พระเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาทุกๆหยดจากตาของเขา ความตายจะไม่มีอีกต่อไป ความคร่ำครวญ การร้องไห้ และการเจ็บปวดจะไม่มีอีกต่อไป เพราะยุคเดิมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว” พระองค์ผู้ประทับบนพระที่นั่งตรัสว่า “ดูเถิด เราสร้างสิ่งสารพัดขึ้นใหม่” และพระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า “จงเขียนไว้เถิด เพราะว่าถ้อยคำเหล่านี้เป็นคำสัตย์จริงและสัตย์ซื่อ”พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า “สำเร็จแล้ว เราเป็นอัลฟาและโอเมกา เป็นปฐมและอวสาน ผู้ใดกระหาย เราจะให้ผู้นั้นดื่มจากบ่อน้ำพุแห่งชีวิตโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย ผู้ใดมีชัยชนะ ผู้นั้นจะได้รับสิ่งสารพัดเป็นมรดก และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นบุตรของเรา แต่คนขลาด คนไม่เชื่อ คนที่น่าสะอิดสะเอียน ฆาตกร คนล่วงประเวณี คนใช้เวทมนตร์ คนไหว้รูปเคารพ และคนทั้งปวงที่พูดมุสานั้น จะได้รับส่วนของตนในบึงที่เผาไหม้ด้วยไฟและกำมะถัน นั่นคือความตายครั้งที่สอง”

วันที่ 8 แสดงถึงการทรงสร้างใหม่ชั่วนิรันดร์จะไม่มีคืนอีกต่อไปและไม่มีบาปอีกต่อไปทุกคนที่อยู่ในการทรงสร้างใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องรับการเตือนว่าจะเชื่อฟังพระเจ้าได้หรือทำตามพระบัญญัติ อย่างไร เพราะมันจะเป็นธรรมชาติของละคนและทุกคนที่จะเชื่อฟังและทำตาม ซึ่งพันธสัญญาใหม่นี้ทำกับวงศ์วานยูดาห์และวงศ์วานอิสราเอล (รวมผู้เชื่อต่างชาติที่ได้ต่อกิ่งเข้าไปเป็นอิสราเอล)

เยเรมีย์ 31:34 และทุกคนจะไม่สอนเพื่อนบ้านของตนและพี่น้องของตนแต่ละคนอีกว่า `จงรู้จักพระเยโฮวาห์’ เพราะเขาทั้งหลายจะรู้จักเราหมด ตั้งแต่คนเล็กน้อยที่สุดถึงคนใหญ่โตที่สุด” พระเยโฮวาห์ตรัสดังนี้แหละ “เพราะเราจะให้อภัยความชั่วช้าของเขา และจะไม่จดจำบาปของเขาทั้งหลายอีกต่อไป”

นอกจากนี้โปรดทราบว่า ไม่ได้หมายความว่าเราไดัไปอยู่บนสวรรค์กับพระเจ้า  แต่เราจะอาศัยอยู่บนโลกใหม่ที่ซึ่งพระเจ้าจะสถิตอยู่ท่ามกลางเราตามที่พระองค์ตั้งพระทัยไว้ “ดูเถิด พลับพลาของพระเจ้าอยู่กับมนุษย์แล้ว พระองค์จะทรงสถิตกับเขา”

พระวจนะของพระเจ้าสวยงามเพียงใดและทุกสิ่งที่วางแผนไว้นั้นสมบูรณ์แบบเพียงใด! เราสามารถใช้เป็นคำปลอบประโลมใจเมื่อเราเทียบเสียสติ ด้วยความรู้นี้ที่ว่าพระเจ้าทรงควบคุมและสิ่งต่างๆจะเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางแผนไว้ซึ่งแสดงให้เราเห็นผ่านเงาของเวลาที่พระองค์ทรงกำหนดไว้นั่นเอง

เราเริ่มต้นด้วยปฐมกาล 1: 1 และลงท้ายด้วยวิวรณ์ 21 และ 22 ซึ่งผมเชื่อว่าบทความนี้จบลงอย่างสมบูรณ์แบบ

ด้วยคำพูดนี้ผมอยากจะปิดท้ายด้วยคำถาม: คุณรักษาวันงานเลี้ยงที่พระเจ้าแต่งตั้งไว้และนมัสการพระองค์ตามที่พระองค์ทรงแนะนำเราหรือคุณนมัสการพระเจ้าในแบบของคุณเองและทำตามวันงานเลี้ยงตามรูปแบบของพวกไม่มีพระเจ้า (Pegan) โดยไม่มีรากฐานในพระวจนะของพระเจ้าเลย

ขอพระเจ้าอวยพรคุณและอย่าลืมทดสอบทุกสิ่ง!

 

เปาโลและคำสอนของพระคริสต์

02 เม.ย. 21
Sunete
No Comments

พระเยซูจึงตรัสกับพวกยิวที่เชื่อในพระองค์แล้วว่า “ถ้าท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในคำของเรา ท่านก็เป็นสาวกของเราอย่างแท้จริง และท่านทั้งหลายจะรู้จักความจริง และความจริงนั้นจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไทย” ยอห์น 8:31-32

นี่เป็นคำพูดที่น่าสนใจและมีพลังมากที่พระเยซู รือเยชูวา ที่ได้กล่าวที่คนส่วนใหญ่อ่านแล้วไม่รู้ว่าพูดถึงอะไร เรายึดมั่นในคำสอนของพระเยซูจริงหรือไม่? คนส่วนใหญ่ยึดมั่นในคำสอนของอาจารย์เปาโลที่เชื่อว่าอ.เปาโลใช้หลักคำสอนใหม่ที่แตกต่างจากคำสอนของพระคริสต์

บ่อยครั้งเมื่อผมได้สนทนาและโต้ตอบโดยใช้ข้อพระคัมภีร์กับคริสเตียนหลายคน ผมรู้สึกว่าพวกเขายึดถือในคำพูดของอาจารย์เปาโลด้วยความนับถือยิ่งกว่าสิ่งที่พระเยซูตรัสเสียอีก และทำให้ผมเกิดความสงสัยว่าพวกเขาเป็นสาวกของใครกันของพระคริสต์หรือของอาจารย์เปาโล?

อาจารย์เปาโลเองก็พูดคล้าย ๆ กับที่พระเยซูตรัสในยอห์น 8:31 อ่านใน 1 ทิโมธี 6: 3-4

1 ทิโมธี 6: 3-4  ถ้าผู้ใดสอนผิดไปจากนี้ และไม่ยอมเห็นด้วยกับพระวจนะอันมีหลัก คือพระวจนะของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา และคำสอนที่สมกับทางของพระเจ้า ผู้นั้นก็เป็นคนทะนงตัวและไม่รู้อะไร…….

ยอห์นยังพูดบางสิ่งที่คล้ายกับสิ่งที่อ.เปาโลพูด:

2ยอห์น 1:9-11 ผู้ใดละเมิดและไม่อยู่ในพระโอวาทของพระคริสต์ ผู้นั้นก็ไม่มีพระเจ้า ผู้ใดอยู่ในพระโอวาทของพระคริสต์ ผู้นั้นก็มีทั้งพระบิดาและพระบุตร ถ้าผู้ใดมาหาท่านและไม่นำพระโอวาทนี้มาด้วย อย่ารับเขาไว้ในเรือน และอย่าขอพรให้เขาเลย เพราะว่าผู้ที่ขอพรให้เขา ก็เข้าส่วนในการกระทำชั่วของเขานั้น

อ.เปาโลยังพูด 2 ครั้ง ในกาลาเทีย 1: 6-10  ว่าใครก็ตามที่สอนข่าวประเสริฐอื่นนอกเหนือจากพระคริสต์ผู้นั้นจะต้องถูกสาปแช่ง!

กาลาเทีย 1: 6-10 ข้าพเจ้าประหลาดใจนักที่ท่านทั้งหลายได้ผินหน้าหนีโดยเร็วจากพระองค์ ผู้ได้ทรงเรียกท่านให้เข้าในพระคุณของพระคริสต์ และได้ไปหาข่าวประเสริฐอื่น ซึ่งมิใช่อย่างอื่นดอก แต่ว่ามีบางคนที่ทำให้ท่านยุ่งยาก และปรารถนาที่จะบิดเบือนข่าวประเสริฐของพระคริสต์ แต่แม้ว่าเราเองหรือทูตสวรรค์ ถ้าประกาศข่าวประเสริฐอื่นแก่ท่าน ซึ่งขัดกับข่าวประเสริฐที่เราได้ประกาศแก่ท่านไปแล้วก็ให้ผู้นั้นถูกสาปแช่ง ตามที่เราได้พูดไว้ก่อนแล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าพูดอีกว่า ถ้าผู้ใดประกาศข่าวประเสริฐอื่นแก่ท่านที่ขัดกับข่าวประเสริฐซึ่งท่านได้รับไว้แล้ว ผู้นั้นจะต้องถูกสาปแช่ง บัดนี้ข้าพเจ้ากำลังพูดเอาใจมนุษย์หรือ หรือให้เป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้า ข้าพเจ้าอุตส่าห์ประจบประแจงมนุษย์หรือ เพราะถ้าข้าพเจ้ากำลังประจบประแจงมนุษย์อยู่ข้าพเจ้าก็ไม่ใช่ผู้รับใช้ของพระคริสต์

ให้มองใกล้ๆคำนี้ “ แต่แม้ว่าเราเอง (เปาโล) จะสั่งสอนพระกิตติคุณอื่นที่ไม่ใช่พระกิตติคุณของพระคริสต์ขอให้เขาถูกสาปแช่ง

เขายังอ้างถึง“ เรา” รวมทั้งตัวเขาเองและอัครสาวกคนอื่น ๆ และปิดท้ายด้วยการพูดว่า“ บัดนี้ข้าพเจ้ากำลังพูดเอาใจมนุษย์หรือ หรือให้เป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้า ข้าพเจ้าอุตส่าห์ประจบประแจงมนุษย์หรือ เพราะถ้าข้าพเจ้ากำลังประจบประแจงมนุษย์อยู่ข้าพเจ้าก็ไม่ใช่ผู้รับใช้ของพระคริสต์” อาจารย์เปาโล เป็นผู้รับใช้ของพระคริสต์และทุกสิ่งที่เขากล่าวก็เป็นการยอมจำนนต่อพระองค์ผู้เป็นนาย!

ด้วยเหตุผลบางประการมีคนเชื่อว่าอาจารย์เปาโลสอนพระกิตติคุณอื่นที่ไม่ใช่พระคริสต์หรือสาวกคนอื่น ๆ ที่สั่งสอนชาวยิวโดยคิดว่ามีพระกิตติคุณเล่มหนึ่งสำหรับชาวยิวและอีกเล่มสำหรับคนต่างชาติ นั้นขัดแย้งกับพระคัมภีร์โดยตรง แต่ก็เป็นสิ่งที่สอนกันในคริสตจักรทุกวันนี้

1โครินธ์12:13 เพราะว่าเราทุกคนรับบัพติศมาโดยพระวิญญาณองค์เดียวให้เป็นกายเดียวไม่ว่าจะเป็นชาวยิวหรือชาวกรีกเป็นทาสหรือมิใช่ทาสก็ตาม เราทั้งหลายได้รับบัพติศมาโดยพระวิญญาณองค์เดียวเข้าเป็นกายอันเดียวกัน และพระวิญญาณองค์เดียวกันนั้นซาบซ่านอยู่

โรมัน 2:28-29 เพราะว่ายิวแท้ มิใช่คนที่เป็นยิวแต่ภายนอกเท่านั้น และการเข้าสุหนัตแท้ก็ไม่ใช่การเข้าสุหนัตซึ่งปรากฏที่เนื้อหนังเท่านั้น คนที่เป็นยิวแท้ คือคนที่เป็นยิวภายใน และการเข้าสุหนัตแท้นั้นเป็นเรื่องของจิตใจตามจิตวิญญาณ มิใช่ตามตัวบทบัญญัติ คนอย่างนั้นพระเจ้าสรรเสริญ มนุษย์ไม่สรรเสริญ

กาลาเทีย 3:26-29 เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นบุตรของพระเจ้าโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์ เพราะเหตุว่า ทุกคนในพวกท่านที่รับบัพติศมาเข้าร่วมในพระคริสต์แล้ว ก็ได้สวมชีวิตพระคริสต์ จะไม่เป็นยิวหรือกรีก จะไม่เป็นทาสหรือไทย จะไม่เป็นชายหรือหญิง เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระเยซูคริสต์ และถ้าท่านเป็นของพระคริสต์แล้ว ท่านก็เป็นเชื้อสายของอับราฮัม คือเป็นผู้รับมรดกตามพระสัญญา

เอเฟซัส 2:19-20 เหตุฉะนั้นบัดนี้ท่านจึงไม่ใช่คนต่างด้าวต่างแดนอีกต่อไป แต่ว่าเป็นพลเมืองเดียวกันกับวิสุทธิชนและเป็นครอบครัวของพระเจ้า ท่านได้ถูกประดิษฐานขึ้นบนรากแห่งพวกอัครสาวกและพวกศาสดาพยากรณ์ พระเยซูคริสต์เองทรงเป็นศิลามุมเอก

เอเฟซัส 3:6  นี้คือความลึกลับที่ผ่านพระกิตติคุณ คือว่าคนต่างชาติจะเป็นผู้รับมรดกร่วมกับอิสราเอลและเป็นอวัยวะของกายอันเดียวกัน และมีส่วนได้รับพระสัญญาของพระองค์ในพระคริสต์โดยข่าวประเสริฐนั้น

อะไรคือสิ่งที่อาจารย์เปาโลบอกเกี่ยวกับคำสอนของเขาเอง

เราเห็นอาจารย์เปาโลพูดถึงตัวเขาเองด้วยถ้าเขาสอนพระกิตติคุณอื่นที่ไม่ใช่ของพระคริสต์ เรายังเห็นว่าเขาเรียกหลักคำสอนอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากที่พระเยซูคริสต์ทรงสอนนั้นว่าเป็นหลักคำสอนเท็จ มาดูกันว่าอาจารย์เปาโลพูดอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขาสอน

ในกิจการเราเห็นสถานการณ์หลายอย่างที่อาจารย์เปาโลถูกกล่าวหาว่าสอนผิดบัญญัติของโมเสสและประเพณีของชาวยิวซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องรับโทษประหารชีวิตในสมัยนั้น แต่ไม่เคยมีสักครั้งที่ชาวยิวจะพิสูจน์คำกล่าวอ้างของพวกเขาได้! ในระหว่างการทดลองเหล่านี้เปาโลได้แก้คดีให้ตัวเองนี่คือบางสิ่งที่เขาพูดเกี่ยวกับคำสอนของเขาเองว่า:

กิจการ 26:22-23 เป็นเพราะพระเจ้าได้ทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ ข้าพระองค์จึงมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้และเป็นพยานได้ต่อหน้าผู้น้อยผู้ใหญ่ ข้าพระองค์ไม่พูดเรื่องอื่นนอกจากเรื่องซึ่งบรรดาศาสดาพยากรณ์กับโมเสสได้กล่าวไว้ว่าจะมีขึ้น คือว่าพระคริสต์จะต้องทนทุกข์ทรมาน และพระองค์จะทรงแสดงความสว่างแก่ชนอิสราเอลและแก่คนต่างชาติ โดยที่ทรงเป็นผู้แรกซึ่งคืนพระชนม์”

ไม่พูดเรื่องอื่นนอกจากเรื่องซึ่งบรรดาศาสดาพยากรณ์กับโมเสสได้กล่าวไว้ว่าจะมีขึ้น

อาจารย์เปาโลระบุขอบเขตถ้อยคำของเขาว่าเขาไม่ได้เพิ่มอะไรเข้าไปในสิ่งที่โมเสสและศาสดาพยากรณ์ที่กล่าวไว้เลย! ฟังดูคล้ายกับสิ่งที่พระเยซูตรัสในมัทธิว 5:17

มัทธิว 5:17-18อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะทำลายพระราชบัญญัติหรือคำของศาสดาพยากรณ์เสีย เรามิได้มาเพื่อจะทำลาย แต่มาเพื่อจะให้สำเร็จ เพราะเราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถึงฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรหนึ่งหรือจุดๆหนึ่งก็จะไม่สูญไปจากพระราชบัญญัติ จนกว่าจะสำเร็จทั้งสิ้น

ครั้งก่อนหน้านี้เรารู้ว่าอาจารย์เปาโลได้กล่าวว่า:

กิจการ 25:7-8 ครั้นเปาโลเข้ามาแล้ว พวกยิวที่ลงมาจากกรุงเยรูซาเล็มก็ยืนล้อมไว้รอบ และกล่าวความอุกฉกรรจ์ใส่เปาโลหลายข้อ แต่พิสูจน์ไม่ได้  เปาโลจึงแก้คดีเองว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำอะไรผิดกฎหมายของพวกยิว หรือต่อพระวิหาร หรือต่อซีซาร์”

“ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำอะไรผิดกฎหมายของพวกยิว หรือต่อพระวิหาร หรือต่อซีซาร์”

อาจารย์เปาโลอ้างว่าเขาไม่ได้ทำกฎหมายของยิวหรือของโรมัน เราสรุปได้ว่า อาจารย์เปาโลกำลังพูดความจริงและไม่เคยออกนอกขอบเขตของสิ่งที่โมเสสและศาสดาพยากรณ์สอนและด้วยเหตุนี้จึงไม่เคยละเมิดกฏหมายของยิวเลยหรือไม่เช่นนั้นเขาก็โกหก!

อาจารย์เปาโลเป็นสาวกที่แท้จริงของพระคริสต์ที่ยึดมั่นในคำสอนของพระองค์และปฏิบัติตามด้วยตัวเองนั่นคือเหตุผลที่เขาบอกว่า:

ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอย่างข้าพเจ้า เหมือนอย่างที่ข้าพเจ้าปฏิบัติตามอย่างพระคริสต์ (1 โครินธ์ 11:1)

คนอื่น ๆ เป็นพยานอะไรเกี่ยวกับคำสอนของอาจารย์เปาโล

เรามีพยานหลายคนที่รู้เห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อาจารย์เปาโลสอนและในสิ่งที่เขาไม่ได้สอน! ข้อที่โดดเด่นที่สุดพบได้ในกิจการ 21 ซึ่งยากอบเป็นพยานในนามของเปาโลว่าเปาโลไม่ได้สอนให้ละเมิดกฎของโมเสสหรือประเพณีของชาวยิวและเปาโลเองก็รักษาธรรมบัญญัติ / โทราห์เราอ่าน:

กิจการ 21:20-24 ครั้นคนทั้งหลายได้ยินจึงสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า และกล่าวแก่เปาโลว่า “พี่เอ๋ย ท่านเห็นว่ามีพวกยิวสักกี่พันคนที่เชื่อถือ และทุกคนยังมีใจร้อนรนในการถือพระราชบัญญัติ (21) เขาทั้งหลายได้ยินถึงท่านว่า ท่านได้สั่งสอนพวกยิวทั้งปวงที่อยู่ในหมู่ชนต่างชาติให้ละทิ้งโมเสส และว่าไม่ต้องให้บุตรของตนเข้าสุหนัตหรือประพฤติตามธรรมเนียมเก่านั้น(22) เรื่องนั้นเป็นอย่างไร คนเป็นอันมากจะต้องมาประชุมกัน เพราะเขาทั้งหลายจะได้ยินว่าท่านมาแล้ว (23) เหตุฉะนั้นจงทำอย่างนี้ตามที่เราจะบอกแก่ท่าน คือว่าเรามีชายสี่คนที่ได้ปฏิญาณตัวไว้ (24) ท่านจงพาคนเหล่านั้นไปชำระตัวด้วยกันกับเขาและเสียเงินแทนเขา เพื่อเขาจะได้โกนศีรษะ คนทั้งหลายจึงจะรู้ว่าความที่เขาได้ยินถึงท่านนั้นเป็นความเท็จ แต่ท่านเองเป็นผู้ยึดถือและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอยู่ 

ให้เราดูใกล้ๆ สิ่งแรกที่เด่นชัดสำหรับผมคือคำพูดของยากอบ:

พี่เอ๋ย ท่านเห็นว่ามีพวกยิวสักกี่พันคนที่เชื่อถือ และทุกคนยังมีใจร้อนรนในการถือพระราชบัญญัติ

การแสดงความกระตือรือร้นในการถือพระราชบัญญัติเป็นสิ่งที่ดีมาก! โปรดสังเกตด้วยว่าชาวยิวหลายคนเชื่อสาเหตุที่พวกเขาเชื่อเพราะอาจารย์เปาโลใช้คำจากพระราชบัญญัติของโมเสส และจากคัมภีร์ศาสดาพยากรณ์เพื่อแสดงให้พวกเขาเห็นว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์!

กิจการ18:4เปาโลได้โต้เถียงในธรรมศาลาทุกวันสะบาโต ได้ชักชวนทั้งพวกยิวและพวกกรีก 

กิจการ 28:23เมื่อเขานัดวันพบกับท่าน คนเป็นอันมากก็พากันมาหายังที่อาศัยของท่าน ท่านจึงกล่าวแก่เขาตั้งแต่เช้าจนเย็น เป็นพยานถึงอาณาจักรของพระเจ้า และชักชวนให้เขาเชื่อถือในพระเยซู โดยใช้ข้อความจากพระราชบัญญัติของโมเสส และจากคัมภีร์ศาสดาพยากรณ์เป็นหลัก 

กิจการ 17:10-12 พอค่ำลงพวกพี่น้องจึงส่งเปาโลกับสิลาสไปยังเมืองเบโรอา ครั้นถึงแล้วท่านจึงเข้าไปในธรรมศาลาของพวกยิว
ชาวเมืองนั้นสุภาพกว่าชาวเมืองเธสะโลนิกา ด้วยเขาได้รับพระวจนะด้วยความเต็มใจ และค้นดูพระคัมภีร์ทุกวัน หวังจะรู้ว่า ข้อความเหล่านั้นจะจริงดังกล่าวหรือไม่ เหตุฉะนั้น มีหลายคนในพวกเขาได้เชื่อถือ กับสตรีผู้มีศักดิ์ชาติกรีก ทั้งผู้ชายไม่น้อย

ข้อพระคัมภีร์ในกิจการ 17 รับประกันได้เมื่อมองใกล้ๆ สังเกตว่าชาวเมืองเบโรอาถูกเรียกว่ามีลักษณะที่สุภาพกว่าชาวเธสะโลนิกาเพราะพวกเขาได้รับพระวจนะด้วยความเต็มใจและตรวจสอบในพระคัมภีa closer lookร์ (ทานัคห์ /พันธสัญญาเดิม) ทุกวันเพื่อดูว่าเปาโลพูดหรือคำสอนอะไรที่สอดคล้องกับพันธสัญญาเดิม!

เป็นสิ่งดีที่ตรวจสอบคำสอนของอาจารย์เปาโลกับพันธสัญญาเดิม ซึ่งไม่ใช่ในสิ่งที่นิยมทำกันในคริสตจักรทุกวันนี้ ความจริงที่ระบุไว้ว่าการที่ชาวยิวหลายคนเชื่อนั่นหมายความว่าคำสอนของอ.เปาโลต้องสอดคล้องกับพันธสัญญาเดิม(ทานัคห์) เช่นเดียวที่เขาเป็นพยานต่อหน้าศาล!

เปโตรเป็นพยานในเรื่องคำสอนของอาจารย์เปาโลด้วย ลองดูคำพูดสุดท้ายของเปโตรที่พูดถึงผู้เชื่อใน 2 เปโตร 3

2 เปโตร 3:14-18 เหตุฉะนั้นพวกที่รัก เมื่อท่านทั้งหลายยังคอยสิ่งเหล่านี้อยู่ ท่านก็จงอุตส่าห์ให้พระองค์ทรงพบท่านทั้งหลายอยู่เป็นสุข ปราศจากมลทินและข้อตำหนิ และจงถือว่า การที่องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราทรงอดกลั้นพระทัยไว้นานนั้นเป็นการช่วยให้รอด ดังที่เปาโลน้องที่รักของเราได้เขียนจดหมายถึงท่านทั้งหลายด้วย ตามสติปัญญาซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดประทานแก่ท่านนั้น เหมือนในจดหมายของท่านทุกฉบับ ท่านได้กล่าวถึงเหตุการณ์เหล่านั้น และในจดหมายนั้นมีบางข้อที่เข้าใจยาก ซึ่งคนทั้งหลายที่ไม่ได้เรียนรู้และไม่แน่นอนมั่นคงนั้นได้เปลี่ยนแปลงเสีย เหมือนเขาได้เปลี่ยนแปลงข้ออื่นๆในพระคัมภีร์ จึงเป็นเหตุกระทำให้ตัวพินาศ เพราะเหตุนั้น พวกที่รัก เมื่อท่านทั้งหลายรู้เรื่องนี้ก่อนแล้ว ท่านก็จงระวังให้ดี เกรงว่าท่านอาจจะหลงไปกระทำผิดตามการผิดของคนชั่ว และท่านทั้งหลายจะสูญเสียความหนักแน่นมั่นคงของท่านแต่ขอท่านทั้งหลายจงเจริญขึ้นในพระคุณ และในความรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของเรา สง่าราศีจงมีแด่พระองค์ทั้งในปัจจุบันนี้และตลอดไปเป็นนิตย์ เอเมน

เปโตรยืนยันว่าคำสอนของอ.เปาโลสอดคล้องกับคำสอนในพระคัมภีร์ “เช่นเดียวกับที่เปาโลน้องที่รักของเราเขียน” และในจดหมายนั้นมีบางข้อที่เข้าใจยาก ซึ่งคนทั้งหลายที่ไม่ได้เรียนรู้และไม่แน่นอนมั่นคงนั้นได้เปลี่ยนแปลงเสีย เหมือนเขาได้เปลี่ยนแปลงข้ออื่นๆในพระคัมภีร์  อีกครั้งการเขียนของอาจารย์เปาโลตรงกับพระคัมภีร์ข้ออื่นๆ!จากนั้นเขาเตือนว่าอย่าหลงไปจากความผิดพลาดของคนที่ไม่มีพระบัญญัติเช่นเดียวกับที่เอาคำสอนของเปาโลไปใช้นอกบริบท!

ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้วเปโตรกล่าวถึงพระกายของพระคริสต์ (ชาวยิวและชาวกรีก) ในคำพูดสุดท้ายของเขาเป็นพยานว่างานเขียนของอาจารย์เปาโลไม่ได้สอนให้ขัดต่อธรรมบัญญัติของโมเสส แต่สอดคล้องกับพระคัมภีร์อื่น ๆ (บัญญัติโมเสสและคำของศาสดาพยากรณ์ – พันธสัญญาเดิม) คนที่คิดอย่างอื่นจะนำไปสื่อการสอนผิด โดยเป็นคนที่ไม่มีมีธรรมบัญญัติ!

คนที่ไม่มีธรรมบัญญัติ= คนที่ไม่เชื่อว่าพระราชบัญญัติมีผลกับพวกเขา!

เราเห็นในตอนเริ่มต้นพระเยซูตรัสว่า: “ถ้าท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในคำของเรา ท่านก็เป็นสาวกของเราอย่างแท้จริง(ยอห์น 8:31)” ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ในคริสตจักรทั่วไปยึดมั่นในสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าคำสอนของอาจารย์แทนที่จะเป็นคำสอนของพระคริสต์ซึ่งเป็นสิ่งที่เปาโลเตือนใน 1 ทิโมธี 6: 3 และในกาลาเทีย 1 ด้วย

เราต้องกลับมาที่คำสอนและพระกิตติคุณของพระคริสต์!
เป็นผู้ติดตามพระองค์โดยดำเนินชีวิตอย่างที่พระองค์ทรงทำ! หรือตามที่อาจารย์เปาโลกล่าวไว้:

ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอย่างข้าพเจ้า เหมือนอย่างที่ข้าพเจ้าปฏิบัติตามอย่างพระคริสต์(1 โครินธ์11:1)

 

ขอพระเจ้าอวยพรท่านและอย่าลืมทดสอบทุกสิ่ง!

 

เชมา Shema ที่สอง (שְׁמַע שֵׁנִי)

30 ต.ค. 20
Sunete
No Comments

Shema Israel

เชมา Shema ที่สอง (שְׁמַע שֵׁנִי)

เชมา Shema (שְׁמַע): หมายถึงฟังเอาใจใส่หรือได้ยินแล้วทำตามจริงและเชื่อมโยงโดยตรงกับการแสดงในสิ่งที่คุณได้ยินไม่เพียงแต่แค่ฟังอย่างเดียว! เชมา Shema (ได้ยินแล้วทำตาม) เป็นที่รู้จักกันดีในชุมชนชาวฮีบรูและมีอยู่ 3 ส่วนดูใน:

  1. เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4-9
  2. เฉลยธรรมบัญญัติ 11:13–21
  3. กันดารวิถี 15:37-41

ส่วนที่หนึ่ง ของ เชมา Shema(ได้ยินแล้วทำตาม) มีอยู่ในเฉลยธรรมบัญญัติ 6: 4-9

เฉลยธรรมบัญญัติ 6: 4-9 โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเราทั้งหลายเป็นพระเยโฮวาห์เดียว 5  พวกท่านจงรักพระเยโฮวาห์ผู้เป็นพระเจ้าของท่าน ด้วยสุดจิตสุดใจของท่าน และด้วยสิ้นสุดกำลังของท่าน 6  และจงให้ถ้อยคำที่ข้าพเจ้าบัญชาพวกท่านในวันนี้อยู่ในใจของท่าน 7  และพวกท่านจงอุตส่าห์สอนถ้อยคำเหล่านี้แก่ลูกหลานของท่าน เมื่อท่านนั่งอยู่ในเรือน เดินอยู่ตามทาง และนอนลงหรือลุกขึ้น จงพูดถึงถ้อยคำนี้ 8 จงเอาถ้อยคำเหล่านี้พันไว้ที่มือของท่านเป็นหมายสำคัญ และจงเป็นดังเครื่องหมายระหว่างนัยน์ตาของท่าน 9  และเขียนไว้ที่เสาประตูเรือน และที่ประตูของท่าน

พระเยซู / เยชัวอาอ้างถึงพระบัญญัตินี้โดยตรงเมื่อถูกถามว่าพระบัญญัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออะไรเราอ่านในมัทธิว 22: 36-40:

อาจารย์เจ้าข้า ในพระราชบัญญัตินั้น พระบัญญัติข้อใดสำคัญที่สุด” พระเยซูทรงตอบเขาว่า “`จงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของเจ้า ด้วยสุดจิตสุดใจของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า’  นี่แหละเป็นพระบัญญัติข้อต้นและข้อใหญ่ ข้อที่สองก็เหมือนกัน คือ `จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง’ พระราชบัญญัติและคำพยากรณ์ทั้งสิ้นก็ขึ้นอยู่กับพระบัญญัติสองข้อนี้”

ในความเป็นจริงที่ว่าพระเยซูยกคำนี้เป็นพระบัญญัติข้อแรกและยิ่งใหญ่ที่สุดมีความสำคัญและแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงชี้ให้เราเห็นพระบิดาเสมอ

เชมา Shemaที่สอง (ได้ยินแล้วทำตาม) มีอยู่ในเฉลยธรรมบัญญัติ 11: 13–21 และข้อความสำคัญที่กลับมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าคือเราต้องเชื่อฟังพระบัญญัติของพระเจ้าและไม่ปฏิบัติตามพระเจ้าอื่นใด

หลายคนไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเราได้รับคำสั่งในโทราห์ให้ฟังผู้นั้นที่เหมือนโมเสสและถ้าใครไม่ฟัง เชมาShema(ได้ยินแล้วทำตาม) (שְׁמַע) ต่อพระองค์ เอโลฮิม Elohim (พระเจ้า)และคนนั้นจะถูกกำหนดโทษ! นี่เป็นคำเตือนที่หนักแน่นสำหรับผู้ที่ได้ยิน เชมาShema ครั้งที่สอง(พูดถึงเยชัวอา/พระเยซูที่จะมาภายหลัง)

เราอ่านในเฉลยธรรมบัญญัติ 18: 15-20

เฉลยธรรมบัญญัติ 18: 15-20 พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านจะโปรดให้ผู้พยากรณ์อย่างข้าพเจ้านี้เกิดขึ้นในหมู่พวกท่านจากพี่น้องของท่าน ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังเขา16 อย่างที่ท่านปรารถนาจากพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านที่โฮเรบในวันประชุมเมื่อท่านกล่าวว่า `อย่าให้ข้าพเจ้าได้ยินพระสุรเสียงของพระเยโฮวาห์พระเจ้าของข้าพเจ้า หรือได้เห็นเพลิงมหึมานี้อีกเลย เกรงว่าข้าพเจ้าจะตายเสีย 17และพระเยโฮวาห์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า `ซึ่งเขาพูดมาเช่นนั้นก็ดีอยู่18 เราจะโปรดให้บังเกิดผู้พยากรณ์อย่างเจ้าในหมู่พวกพี่น้องของเขา และเราจะใส่ถ้อยคำของเราในปากของเขา และเขาจะกล่าวบรรดาสิ่งที่เราบัญชาเขาไว้นั้นแก่ประชาชนทั้งหลาย19 ต่อมาผู้ใดไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา ซึ่งผู้พยากรณ์กล่าวในนามของเรา เราจะกำหนดโทษผู้นั้น  20 แต่ผู้พยากรณ์คนใดบังอาจกล่าวคำในนามของเราซึ่งเรามิได้บัญชาให้กล่าวหรือผู้นั้นกล่าวในนามของพระอื่น ผู้พยากรณ์นั้นต้องมีโทษถึงตาย’

ข้อความนี้มีหลายส่วนที่น่าสนใจมาก สิ่งแรกการพูดของผู้พยากรณ์จะพูดเฉพาะคำพูดตามวิธีของเอโลฮิม(พระเจ้า)เท่านั้น ดูข้อ18-19

18 …เราจะโปรดให้บังเกิดผู้พยากรณ์อย่างเจ้าในหมู่พวกพี่น้องของเขา และเราจะใส่ถ้อยคำของเราในปากของเขา และเขาจะกล่าวบรรดาสิ่งที่เราบัญชาเขาไว้นั้นแก่ประชาชนทั้งหลาย 19 ต่อมาผู้ใดไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา ซึ่งผู้พยากรณ์กล่าวในนามของเรา เราจะกำหนดโทษผู้นั้น

ตอนนี้ให้เรามาดู ว่าอะไรที่พระเยซู (เยชัวอา) พูดเกี่ยวกับตัวพระองค์เอง

  • ยอห์น 5:30
    เราจะทำสิ่งใดตามอำเภอใจไม่ได้ เราได้ยินอย่างไร เราก็พิพากษาอย่างนั้น และการพิพากษาของเราก็ยุติธรรม เพราะเรามิได้มุ่งที่จะทำตามใจของเรา เอง แต่ตามพระประสงค์ของพระบิดาผู้ทรงใช้เรามา
  • ยอห์น 7:16
    พระเยซูจึงตรัสตอบเขาว่า “คำสอนของเราไม่ใช่ของเราเอง แต่เป็นของพระองค์ผู้ทรงใช้เรามา
  • ยอห์น 10:37-38
    ถ้าเราไม่ปฏิบัติพระราชกิจของพระบิดาของเรา ก็อย่าเชื่อในเราเลย  แต่ถ้าเราปฏิบัติพระราชกิจนั้น แม้ว่าท่านมิได้เชื่อในเรา ก็จงเชื่อเพราะพระราชกิจ นั้นเถิด เพื่อท่านจะได้รู้และเชื่อว่าพระบิดาทรงอยู่ในเรา และเราอยู่ในพระบิดา”
  • ยอห์น 12:49-50
    เพราะเรามิได้กล่าวตามใจเราเอง แต่ซึ่งเรากล่าวและพูดนั้น พระบิดาผู้ทรงใช้เรามา พระองค์นั้นได้ทรงบัญชาให้แก่เรา เรารู้ว่าพระบัญชาของพระองค์นั้นเป็นชีวิตนิรันดร์ เหตุฉะนั้นสิ่งที่เราพูดนั้น เราก็พูดตามที่พระบิดาทรงบัญชาเรา”
  • ยอห์น 14:10
    ท่านไม่เชื่อหรือว่า เราอยู่ในพระบิดาและพระบิดาทรงอยู่ในเรา คำซึ่งเรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายนั้น เรามิได้กล่าวตามใจชอบ แต่พระบิดาผู้ทรงสถิตอยู่ ในเราได้ทรงกระทำพระราชกิจของพระองค์

สิ่งที่เยชัวอาเป็นพยานเกี่ยวกับพระองค์เองนั้นตรงกันอย่างสวยงาม ที่เราได้อ่านใน เฉลยธรรมบัญญัติ18:18-19.พระเยซู / พระเยชัวอาอ้างโดยตรงถึงเฉลยธรรมบัญญัติ 18:15 เราสามารถอ่านได้ในยอห์น 5 ข้อ 46:

ยอห์น 5:46 ถ้าท่านทั้งหลายเชื่อโมเสส ท่านทั้งหลายก็จะเชื่อเรา เพราะโมเสสได้เขียนกล่าวถึงเรา

ครั้งที่สองที่โดดเด่นสำหรับผมคือใน เฉลยธรรมบัญญัติ18:20

(20) แต่ผู้พยากรณ์คนใดบังอาจกล่าวคำในนามของเราซึ่งเรามิได้บัญชาให้กล่าวหรือผู้นั้นกล่าวในนามของพระอื่น ผู้พยากรณ์นั้นต้องมีโทษถึงตาย’

เมื่อผมอ่านครั้งที่สองก็พบด้วยตัวเองว่า! ข้อความนี้เชื่อมโยงโดยตรงกับเฉลยธรรมบัญญัติ 13 และการทดสอบของพระเจ้า(เอโลฮิม) ที่ให้เราตรวจสอบว่าบุคคลนั้นเป็นผู้เผยพระวจนะหรือครูจริงหรือไม่ หากต้องการอ่านในบริบทที่เหมาะสมเราต้องรวมข้อสุดท้ายของเฉลยธรรมบัญญัติบทที่ 12.

เฉลยธรรมบัญญัติ12:32-13:1-6

(ฉธบ12:32) ทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าบัญชาท่านไว้นั้น จงระวังที่จะกระทำตาม ท่านอย่าเพิ่มอะไรเข้าหรือตัดอะไรออกไปจากสิ่งเหล่านั้น”

(ฉธบ13:1-6) “ถ้าในหมู่พวกท่านเกิดมีผู้พยากรณ์หรือผู้ฝันเห็นเหตุการณ์ขึ้น และสำแดงหมายสำคัญหรือการมหัศจรรย์แก่ท่าน 2 และหมายสำคัญหรือการมหัศจรรย์ซึ่งเขาบอกท่านนั้นสำเร็จจริง ถ้าเขากล่าวว่า `ให้เราติดตามพระอื่นกันเถิด’ ซึ่งเป็นพระที่ท่านไม่รู้จัก `และให้เรามาปรนนิบัติพระนั้น’ 3 ท่านอย่าเชื่อฟังคำของผู้พยากรณ์หรือผู้ฝันเห็นเหตุการณ์คนนั้น เพราะพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านลองใจท่านดู เพื่อให้ทรงทราบว่า ท่านทั้งหลายรักพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านด้วยสุดจิตสุดใจของท่านหรือไม่ 4 ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน และยำเกรงพระองค์ และรักษาพระบัญญัติของพระองค์ และเชื่อฟังพระสุรเสียงของพระองค์ และท่านจงปรนนิบัติพระองค์ และติดสนิทอยู่กับพระองค์ 5 แต่ผู้พยากรณ์หรือผู้ฝันเห็นเหตุการณ์คนนั้นต้องมีโทษถึงตาย เพราะว่าเขาได้สั่งสอนให้กบฏต่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ผู้ทรงนำท่านออกจากแผ่นดินอียิปต์ และทรงไถ่ท่านออกจากเรือนทาส เขากระทำให้ท่านทิ้งหนทางซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านบัญชาให้ท่านดำเนินตามเสีย ดังนั้นแหละท่านจะต้องล้างความชั่วเช่นนี้จากท่ามกลางท่าน 6 ถ้าพี่ชายน้องชายของท่านมารดาเดียวกันกับท่าน หรือบุตรชายบุตรสาวของท่าน หรือภรรยาที่อยู่ในอ้อมอกของท่าน หรือมิตรสหายร่วมใจของท่าน ชักชวนท่านอย่างลับๆว่า `ให้เราไปปรนนิบัติพระอื่นกันเถิด’ ซึ่งเป็นพระที่ท่านเองหรือบรรพบุรุษของท่านไม่รู้จัก

เปรียบเทียบสิ่งนี้กับข้อความของ เชมา Shema (ได้ยินแล้วทำตาม) ที่เราพบในเฉลยธรรมบัญญัติ 6 และ 11

เฉลยธรรมบัญญัติ 6:14 ท่านทั้งหลายอย่าติดตามพระอื่น ซึ่งเป็นพระของชนชาติทั้งหลายที่อยู่ล้อมรอบท่าน

และ

เฉลยธรรมบัญญัติ11:16 จงระวังตัวอย่าให้จิตใจของท่านทั้งหลายลุ่มหลงและหันเหไปปรนนิบัตินมัสการพระอื่น

ความสำคัญของสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ผู้ที่เปรียบเสมือนโมเสสที่เราได้รับคำสั่งให้ฟังแล้วทำตาม (เชมาพระองค์) โดยเชื่อมโยงโดยตรงในการตรวจสอบที่มอบให้เราเพื่อทดสอบว่า บรรดาผู้เผยพระวจนะหรือบรรดาครู ได้สอนให้เราปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ และไม่สอนให้เราต่อต้านพระบัญญัติเหล่านั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระเยชูไม่เคยสอนพระบัญญัติอื่นใด ที่ต่อต้านต่อคำของเอโลฮิม(พระเจ้า) เยชูวาผู้ที่เปรียบเสมือนโมเสสกล่าวด้วยตัวเองว่า:

มัทธิว 5:17 “อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะทำลายพระราชบัญญัติหรือคำของศาสดาพยากรณ์เสีย เรามิได้มาเพื่อจะทำลาย แต่มาเพื่อจะให้สำเร็จ”

พระองค์บอกให้เราฟังและเชื่อฟังพระองค์เช่นเดียวกับที่พระองค์ฟังและเชื่อฟังพระบิดา (เชมา ฟังแล้วทำตาม)

ยอห์น 15:10 ถ้าท่านทั้งหลายประพฤติตามบัญญัติของเรา ท่านก็จะยึดมั่นอยู่ในความรักของเรา เหมือนดังที่เราประพฤติตามพระบัญญัติของพระบิดาเรา และยึดมั่นอยู่ในความรักของพระองค์

โทราห์(พระคัมภีร์) สั่งให้เราทำเช่นเดียวกัน

เฉลยธรรมบัญญัติ18:15 พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านจะโปรดให้ผู้พยากรณ์อย่างข้าพเจ้านี้เกิดขึ้นในหมู่พวกท่านจากพี่น้องของท่าน ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังเขา

ส่วนที่ 3 ของ เชมาShema(ได้ยินแล้วทำตาม)ในกันดารวิถี 15: 37-41 และพบว่าสิ่งนี้ค่อนข้างน่าสนใจเช่นกัน กันดารวิถี 15: 37-41 กำลังพูดถึงการติดพู่ห้อยเสื้อผ้าเพื่อเตือนให้เราระลึกถึงการรักษาบัญญัติของเอโลฮิม(พระเจ้า)

กันดารวิถี15:37-41 พระเยโฮวาห์ตรัสกับโมเสสว่า 38  “จงพูดกับคนอิสราเอลและสั่งเขาให้ทำพู่ที่มุมชายเสื้อตลอดชั่วอายุของเขา ให้เอาด้ายสีฟ้าติดพู่ที่มุมทุกมุม 39  เพื่อเจ้าจะมองดูพู่นั้น และจดจำพระบัญญัติทั้งสิ้นของพระเยโฮวาห์ และปฏิบัติตาม เพื่อเจ้าจะไม่กระทำอะไรตามความพอใจพอตาของเจ้าซึ่งเจ้ามักหลงตามนั้น 40 เพื่อว่าเจ้าจะจดจำและกระทำตามบัญญัติทั้งสิ้นของเรา และเป็นคนบริสุทธิ์แด่พระเจ้าของเจ้า 41  เราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าผู้นำเจ้าออกจากแผ่นดินอียิปต์ เพื่อเป็นพระเจ้าของเจ้า เราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า”

เป็นการเตือนให้เราปฏิบัติตามพระบัญญัติทั้งหมดของพระองค์รวมถึงเชมา Shema ฟังแล้วทำตามครั้งที่สองด้วย ที่จะฟังและเชื่อฟังผู้ที่เปรียบเสมือน โมเสส นั่นคือ เยชัวอา/พระเยซูเท่านั้น

ขอพระเจ้าอวยพรท่านและอย่าลืมทดสอบทุกสิ่ง!

 

เราไม่เคยรู้จักเจ้าเลย จงไปเสียให้พ้นจากเรา เจ้าผู้ไร้พระบัญญัติ

07 พ.ค. 20
Sunete
No Comments

  มิใช่ทุกคนที่ร้องแก่เราว่า `พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า’ จะได้เข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระทัยพระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์จึงจะเข้าได้ เมื่อถึงวันนั้นจะมีคนเป็นอันมากร้องแก่เราว่า `พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า ข้าพระองค์ได้พยากรณ์ในพระนามของพระองค์ และได้ขับผีออกในพระนามของพระองค์ และได้กระทำการมหัศจรรย์เป็นอันมากในพระนามของพระองค์มิใช่หรือ’ เมื่อนั้นเราจะแจ้งแก่เขาว่า `เราไม่เคยรู้จักเจ้าเลย เจ้าผู้กระทำความชั่วช้า'(คนงานที่ไร้พระบัญญัติ) จงไปเสียให้พ้นจากเรา‘มัทธิว 7:21-23

สำหรับผมนี่เป็นข้อความที่น่ากลัวที่สุดในพระคัมภีร์ โดยส่วนตัวแล้วผมจะไม่วัดคนที่คำพยากรณ์หรือการขับไล่ผีออกไปของเขาและการทำการอัศจรรย์ด้วยพลังอำนาจทุกชนิดเช่นรักษาคนเจ็บป่วย พิการ แต่พระเยซูกำลังบอกคนเหล่านั้นว่า “เราไม่เคยรู้จักเจ้าเลย เห็นได้ชัดว่าคนที่เชื่อว่าพวกเขารับใช้พระเจ้าโดยประกาศว่าพวกเขาทำสิ่งเหล่านั้นในนามของพระองค์ ! ดังนั้นพระคัมภีร์ข้อนี้จึงอ้างถึงคนเหล่านั้นที่เชื่อว่าพวกเขาเป็นคริสเตียน อย่างไรก็ตามพระเยซูทรงกล่าวอย่างจริงจังว่า”เราไม่เคยรู้จักเจ้าเลย ” และตามด้วย “จงไปเสียให้พ้นจากเรา คนงานที่ไร้พระบัญญัติ“(แปลจากภาษาอังกฤษ)

เหตุผลที่พระองค์ปฏิเสธไม่รู้จักพวกเขา เป็นเพราะพวกเขาเป็นคนงานที่ไม่มีพระบัญญัติ (workers of lawlessness) ในขณะที่พระเยซูเริ่มกล่าว ว่า เฉพาะผู้ที่ทำตามพระประสงค์ของพระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์เท่านั้นที่จะเข้าสู่อาณาจักรแห่งสวรรค์

สิ่งแรกที่ผมนึกถึงก็คือคำอธิษฐานของพระเจ้า:

มัทธิว 6:9-10 เหตุฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงอธิษฐานตามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระบิดาของข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ 10 ขอให้อาณาจักรของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไร ก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดินโลก

ผู้ที่ถูกอธิบายไว้ในมัทธิว 7: 21-23 พวกเขาเชื่ออย่างมั่นใจว่าพวกเขาเป็นสาวกของพระเยซูคริสต์และเป็นไปได้มากว่าพวกเขาทั้งหมดได้อธิฐานอ้อนวอนต่อพระเจ้า แต่พระเยซูปฏิเสธไม่เคยรู้จักพวกเขาและวลีสำคัญที่นี่คือ “เจ้าคนงานที่ไม่มีพระบัญญัติ”  พระเยซูหมายถึงสิ่งนี้ว่าอะไร

เราอ่านใน 1 ยอห์น 3: 4

1 ยอห์น 3:4  ผู้ใดที่กระทำบาปก็ละเมิดพระราชบัญญัติด้วย เพราะความบาปเป็นสิ่งที่ละเมิดพระราชบัญญัติ (ESV)

1 ยอห์น 3:4  ทุกคนที่ทำผิดต่อพระราชบัญญัติ และในความเป็นจริงบาปคือการไม่มีพระราชบัญญัติ (NIV)

ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดเจนว่าพวกเขาคือการเชื่อมโยงระหว่างการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าและการรักษาพระราชบัญญัติของพระเจ้าดังนั้นเรามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมในการเชื่อมต่อนี้ ก่อนหน้าข้อนี้ภายในบทเดียวกันเรามีข้อสองข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงดังนี้:

  1. ต้นไม้และผลของมัน
  2. ประตูแคบและประตูกว้าง

ต้นไม้และผลของมัน

ก่อนหน้าย่อหน้านี้พระเยซูกล่าวถึง หมาป่าในชุดแกะและคุณจะรู้จักพวกเขาได้ด้วยผลของเขา

มัทธิว 7:15-20 จงระวังผู้พยากรณ์เท็จที่มาหาท่านนุ่งห่มดุจแกะ แต่ภายในเขาร้ายกาจดุจสุนัขป่า  ท่านจะรู้จักเขาได้ด้วยผลของเขา มนุษย์เก็บผลองุ่นจากต้นไม้หนามหรือ หรือว่าเก็บผลมะเดื่อจากต้นผักหนาม  ดังนั้นแหละต้นไม้ดีทุกต้นย่อมให้แต่ผลดี ต้นไม้เลวก็ย่อมให้ผลเลว
ต้นไม้ดีจะเกิดผลเลวไม่ได้ หรือต้นไม้เลวจะเกิดผลดีก็ไม่ได้  ต้นไม้ทุกต้นซึ่งไม่เกิดผลดีย่อมต้องถูกฟันลงและทิ้งเสียในไฟ  เหตุฉะนั้น ท่านจะรู้จักเขาได้เพราะผลของเขา

เป็นเวลานานแล้วที่ผมคิดเสมอว่าผลเหล่านั้นล้วนเป็นผลดีที่เราควรมีในฐานะคริสเตียน คือ การเป็นพยานกับผู้อื่นและนำพวกเขามาหาพระเยซูคริสต์ การช่วยเหลือผู้อื่นและแน่นอนผลของพระวิญญาณเข้ามาในความคิดของผมคือ (กาลาเทีย 5: 22-23) ฝ่ายผลของพระวิญญาณนั้นคือ ความรัก ความปลาบปลื้มใจ สันติสุข ความอดกลั้นใจ ความปรานี ความดี ความเชื่อ ความสุภาพอ่อนน้อม และการรู้จักบังคับตน

แต่ถ้าผมจริงใจกับตัวเองก็สามารถพบคุณสมบัติของเขาเหล่านี้ได้มีมากมายในโลก โดยไม่ใช่เฉพาะคนในกลุ่มคริสเตียนเท่านั้น ยกเว้นความรักในบริบทของ:“ รักซึ่งกันและกัน” เรา(พระเยซู)รักเจ้าทั้งหลายมาแล้วอย่างไร-ยอห์น 13:34″ ดังนั้นมาดูกันว่าผลประเภทไหนที่พระเจ้าทรงโปรดปรานและเกี่ยวข้องกับการทำตามพระประสงค์ของพระองค์

ต้นไม้ดีที่ให้ผลดีคืออะไร

สดุดี 1:1-3 ความสุขเป็นของบุคคลผู้ไม่ดำเนินตามคำแนะนำของคนอธรรม หรือยืนอยู่ในทางของคนบาป หรือนั่งอยู่ในที่นั่งของคนที่ชอบเยาะเย้ย แต่ความปีติยินดีของผู้นั้นอยู่ในพระราชบัญญัติของพระเจ้า เขาไตร่ตรองถึงพระราชบัญญัติของพระองค์ทั้งกลางวันและกลางคืน  เขาจะเป็นเช่นต้นไม้ที่ปลูกไว้ริมธารน้ำ ซึ่งเกิดผลตามฤดูกาล และใบก็จะไม่เหี่ยวแห้ง การทุกอย่างซึ่งเขากระทำก็จะจำเริญขึ้น

และใครคือหมาป่าในชุดแกะ?

เอเศเคียล 22:26-27  ปุโรหิตของเขาได้ละเมิดราชบัญญัติของเรา และได้ลบหลู่สิ่งบริสุทธิ์ของเรา เขามิได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งที่บริสุทธิ์และสิ่งสามัญ เขามิได้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างของมลทินและของสะอาด เขาได้ซ่อนนัยน์ตาของเขาไว้จากวันสะบาโตของเรา ดังนั้นแหละเราจึงถูกลบหลู่ท่ามกลางเขาทั้งหลาย 27 เจ้านายในท่ามกลางแผ่นดินเป็นเหมือนสุนัขป่าที่ฉีกเหยื่อ ทำให้โลหิตตก ทำลายชีวิตเพื่อจะเอากำไรที่อสัตย์

เราเห็นที่นี่ว่าคนที่ปีติยินดีในพระราชบัญญัติของพระเจ้าถูกนำไปเปรียบเทียบกับต้นไม้ที่ปลูกไว้ลำธารน้ำและให้ผลตามฤดูกาล (เป็นผลไม้ที่ดี)

เช่นกันเราเห็นว่าหมาป่าในชุดแกะนั้นเป็นผู้รับใช้พระเจ้าหรือศิษยาภิบาลที่สอนเรา พวกเขาไม่ได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งที่บริสุทธิ์และสิ่งสามัญ เขาไม่ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างของมลทินและของสะอาด และปิดตาตัวเองในการที่จะรักษาวันสะบาโต !!

สิ่งนี้ฟังดูแล้วไม่ให้ความรู้สึกดีกับเราเลยใช่หรือไม่ นี่ไม่ใช่สิ่งที่สอนกันแน่นอนในคริสตจักรทุกวันนี้  เราถูกบอกให้ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้กับวันที่พระเจ้าประกาศว่าให้เป็นวันบริสุทธิ์ แต่แทนที่โดย ให้เราเลือกวันใดก็ได้ที่เราต้องการ และตอนนี้เราสามารถกินอะไรก็ได้ที่เราต้องการเพราะพระเยซูประกาศว่าอาหารทุกอย่างสะอาดแล้ว (ดูในการพูดเช่นนี้พระเยซูทรงประกาศอาหารทั้งหมด“ สะอาด”) และเราถูกบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องรักษาวันสะบาโตตามที่ให้ไว้ในบัญญัติ 10 ประการอีกต่อไป ซึ่งเป็นหลักคำสอนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและจิตวิญญาณของผู้เชื่อคริสเตียนเป็นอย่างมาก

ประตูแคบและประตูกว้าง

ความเข้าใจผิดทั่วไปอีกประการหนึ่งภายในโบสถ์คริสเตียนที่เกี่ยวข้องกับบทความเกี่ยวกับ ‘ประตูแคบและประตูกว้าง’ ก่อนหน้านี้ข้อความเกี่ยวกับ ‘ต้นไม้และผลของมัน สังเกตว่าข้อความเหล่านี้ทั้งหมดมาก่อนที่เราจะพูดถึงในมัทธิว 7: 21-23 และเกี่ยวข้องโดยตรงกัน

มัทธิว 7:13-14 จงเข้าไปทางประตูแคบ เพราะว่าประตูใหญ่และทางกว้างนั้นนำไปถึงความพินาศ และคนที่เข้าไปทางนั้นมีมาก เพราะว่าประตูซึ่งนำไปถึงชีวิตนั้นก็คับและทางก็แคบ ผู้ที่หาพบก็มีน้อย

เมื่อผมโตขึ้นผมจำได้ว่าเคยเห็นโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่แสดงภาพของประตูแคบ ที่นำไปสู่สวรรค์และอีกด้านหนึ่งเป็นประตูกว้างและเราเห็นคนบาปทั้งหมดกำลังสนุกสนานในงานเลี้ยงสังสรรค์ เฮฮาปาร์ตี้ กินและดื่มไม่สนใจพระเจ้าและจบลงที่ นรก.

ในเวลานั้นผมเชื่อว่าคริสเตียนทุกคนเป็นคนที่เข้าในประตูแคบทั้งสิ้น และทุกสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับพระเจ้า เป็นเรื่องของชาวโลกที่ไม่เชื่อพระเจ้าและพวกเขาเลือกเข้าประตูกว้าง

แต่เราเห็นแล้วว่าเมื่อพระเยซูตรัสว่า “มิใช่ทุกคนที่ร้องแก่เราว่า `พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า’ จะได้เข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์  ” พระองค์ไม่ได้หมายถึงคนที่ไม่เชื่อ (ไม่ใช่คริสเตียน) แต่จริงๆแล้วพระองค์หมายถึงคนที่เชื่อว่าพวกเขาเป็นคริสเตียน!(คริสเตียนที่เดินทางกว้างแต่คิดว่าตัวเองเดินทางแคบ)

โปรดใช้เวลาคิดสักครู่เกี่ยวกับสิ่งนี้! คนที่เดินทางกว้างคือผู้ที่เชื่อว่าพวกเขาเป็นคริสเตียน แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากพระคริสต์!

เราเห็นการยืนยันเรื่องนี้ในลูกา 13: 23-27 พระเยซูพูดอะไรที่คล้ายกันมาก  แต่ตรงนี้เราเห็นว่าพระเยซูตรัสว่า คนเป็นอันมากพยายามจะเข้าไป แต่จะเข้าไปไม่ได้! ในการพยายามที่จะเข้าประตูแคบนั้น เราเห็นว่าพวกเขาสนใจไม่ใช่คนที่ไม่ต้องการมีส่วนร่วมกับพระเจ้า:

ลูกา 13:23-27  มีคนหนึ่งทูลถามพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า คนที่รอดนั้นน้อยหรือ” พระองค์ตรัสแก่เขาทั้งหลายว่า “จงเพียรเข้าไปทางประตูคับแคบ เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า คนเป็นอันมากจะพยายามเข้าไป แต่จะเข้าไม่ได้  เมื่อเจ้าบ้านลุกขึ้นปิดประตูแล้ว และท่านทั้งหลายเริ่มยืนอยู่ภายนอกเคาะที่ประตูว่า `นายเจ้าข้าๆ ขอเปิดให้ข้าพเจ้าเถิด’ และเจ้าบ้านนั้นจะตอบท่านทั้งหลายว่า `เราไม่รู้จักเจ้าว่าเจ้ามาจากไหน’ 26 ขณะนั้นท่านทั้งหลายเริ่มจะว่า `ข้าพเจ้าได้กินได้ดื่มกับท่าน และท่านได้สั่งสอนที่ถนนของพวกข้าพเจ้า’  เจ้าบ้านนั้นจะว่า `เราบอกเจ้าทั้งหลายว่า เราไม่รู้จักเจ้าว่าเจ้ามาจากไหน เจ้าผู้กระทำความชั่วช้า จงไปเสียให้พ้นหน้าเรา’ 

คำพูดสุดท้ายของเปโตรเตือนเราเกี่ยวกับความผิดพลาดของคนไม่มีพระบัญญัติ

พระเยซูอ้างถึง “คนงานที่ไร้พระบัญญัติ” ในขณะที่เปโตรเตือนเราด้วยคำพูดสุดท้ายของเขา ท่านก็จงระวังให้ดี เกรงว่าท่านอาจจะหลงไปกระทำผิดตามการผิดของคนไม่มีพระบัญญัติ  ทั้งคู่อ้างถึง ‘ผิดพระบัญญัติ’ ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญเปโตรเตือนแม้กระทั่งว่าจะสูญเสียความหนักแน่นมั่นคงของท่าน เช่นเดียวกับสิ่งที่พระเยซูกำลังพูดใน มัทธิว 7: 21-23!

2เปโตร 3:17 เพราะเหตุนั้น พวกที่รัก เมื่อท่านทั้งหลายรู้เรื่องนี้ก่อนแล้ว ท่านก็จงระวังให้ดี เกรงว่าท่านอาจจะหลงไปกระทำผิดตามการผิดของคนชั่ว (ผู้ไร้พระบัญญัติ) และท่านทั้งหลายจะสูญเสียความหนักแน่นมั่นคงของท่าน

เปโตรเตือนก่อนหน้าแล้วว่า คำสอนของเปาโลนั้นยากที่จะเข้าใจและคำสอนเหล่านี้จะถูกนำออกนอกบริบทโดยคนที่ไม่รู้จริงและไม่มั่นคง

2เปโตร 3:16 เหมือนในจดหมายของท่านทุกฉบับ ท่านได้กล่าวถึงเหตุการณ์เหล่านั้น และในจดหมายนั้นมีบางข้อที่เข้าใจยาก ซึ่งคนทั้งหลายที่ไม่ได้เรียนรู้และไม่แน่นอนมั่นคงนั้นได้เปลี่ยนแปลงเสีย เหมือนเขาได้เปลี่ยนแปลงข้ออื่นๆในพระคัมภีร์ จึงเป็นเหตุกระทำให้ตัวพินาศ

จำไว้ว่าว่าเปโตรไม่ได้หมายถึงคนไร้พระบัญญัติ(หรือไร้ศีลธรรม)ว่าเป็นคนบาปที่ชั่วร้ายซึ่งสนุกกับการทำผิดพระบัญญัติ แต่เป็น ‘คนเขลาและคนที่ไม่มั่นคง’ ซึ่งเป็นเหมือนหมาป่าในชุดของผู้เชื่อ ผู้ที่เอาข้อความที่เปาโลเขียนออกนอกบริบท! คำสอนของเปาโลถูกนำออกมาจากบริบทอย่างไร คำสอนของเปาโลถูกนำมาใช้ในหลักคำสอนของคริสตจักรโดยสอนว่า พระราชบัญญัติของพระเจ้า ถูกยกเลิกและไม่มีผลกับเราอีกต่อไป นี่ไม่ใช่คำจำกัดความของผู้ไร้พระบัญญัติหรือ:

คนไม่มีพระบัญญัติ = ผู้ที่ไม่เชื่อว่าพระบัญญัติจะใช้กับพวกเขา! = คนงานไร้พระบัญญัติ (คนงานไม่มีกฎระเบียบ)

ผมหวังว่าคุณจะเริ่มเห็นภาพของหมาป่าคือคนที่สอนโดย”ไม่ได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งที่บริสุทธิ์และสิ่งสามัญ เขาไม่ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างของมลทินและของสะอาดและปิดตาตัวเองที่จะรักษาวันสะบาโต” ผู้ไม่มีพระบัญญัติเหล่านั้น เป็นผู้ที่ไม่เชื่อว่าพระราชบัญญัติของพระเจ้าที่ให้ผ่านทางโมเสสจะใช้กับพวกเขา

สรุป:

นี่ไม่ใช่คำสอนที่ถูกใจของหลายคนแน่และเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้ยิน แต่เป็นสิ่งที่เราในฐานะคริสเตียนต้องพิจารณา หวังว่าคุณเข้าใจ ว่าทำไมที่ผมพูดในตอนแรกว่านี่มันเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับผมในพระคัมภีร์ทั้งเล่ม แต่ไม่จำเป็นต้องกลัว เราไม่ได้ถูกขอร้องให้ทำการอัศจรรย์หรือขับผี หรือ ทำเรื่องเรื่องใหญ่โตอื่นใด แต่เราถูกขอให้ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าโดยทำตามคำแนะนำของพระองค์สำหรับเรา ตลอดทั้งเล่มของพระคัมภีร์พระเจ้ายังคงบอกซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า  เชื่อฟังเรา! ให้เราเชื่อฟังและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติของพระองค์ (ดูคำแนะนำของพระองค์สำหรับเรา)

ถ้าพระเจ้าไม่ทรงเปลี่ยนแปลงตามที่พระองค์บอกไว้ใน มาลาคี 3: 6-7 และ ฮิบรู 13: 8

มาลาคี 3:6-7 เพราะว่า เราคือพระเจ้าไม่มีผันแปร บุตรชายยาโคบเอ๋ย เจ้าทั้งหลายจึงไม่ถูกเผาผลาญหมด 7 เจ้าได้หันเหไปเสียจากกฎของเราและมิได้รักษาไว้ตั้งแต่ครั้งสมัยบรรพบุรุษของเจ้า พระเยโฮวาห์จอมโยธาตรัสว่า เจ้าจงกลับมาหาเรา และเราจะกลับมาหาเจ้าทั้งหลาย แต่เจ้ากล่าวว่า `เราทั้งหลายจะกลับมาสถานใด’

ฮิบรู 13:8 พระเยซูคริสต์ยังทรงเหมือนเดิมในเวลาวานนี้ และเวลาวันนี้ และต่อๆไปเป็นนิจกาล 

และพระเยซูทรงพยายามทำตามพระประสงค์ของพระบิดา

ยอห์น 5:30 เราจะทำสิ่งใดตามอำเภอใจไม่ได้ เราได้ยินอย่างไร เราก็พิพากษาอย่างนั้น และการพิพากษาของเราก็ยุติธรรม เพราะเรามิได้มุ่งที่จะทำตามใจของเราเอง แต่ตามพระประสงค์ของพระบิดาผู้ทรงใช้เรามา 

ข้อสรุปที่ด้วยเหตุผลคือ ให้เราทำตามพระประสงค์ของพระบิดาโดยการที่เราทำเหมือนที่พระคริสต์ทำ สำหรับเราที่จะรักซึ่งกันและกันในแบบที่พระเยซูทรงรักเราต้องการให้เราเดินตามที่พระเยซูทำและที่เราจะกลายเป็นเหมือนพระเยซู

เราจะมั่นใจได้ว่าเรารู้จักพระองค์โดยข้อนี้ คือถ้าเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ คนใดที่กล่าวว่าข้าพเจ้ารู้จักพระองค์” แต่มิได้ประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ คนนั้นก็เป็นคนพูดมุสา และความจริงไม่ได้อยู่ในคนนั้นเลย แต่ผู้ใดที่ประพฤติตามพระวจนะของพระองค์ ความรักของพระเจ้าก็สมบูรณ์อยู่ในคนนั้นอย่างแท้จริง ด้วยอาการอย่างนี้แหละเราทั้งหลายจึงรู้ว่าเราอยู่ในพระองค์
ผู้ใดกล่าวว่าตนอยู่ในพระองค์ ผู้นั้นก็ควรดำเนินตามทางที่พระองค์ทรงดำเนินนั้นด้วย (1ยอห์น 2:3-6)

พระเยซูทำตามความประสงค์ของพระบิดาโดยรักษาพระบัญญัติของพระองค์ เมื่อเราพอใจในพระราชบัยญัติของพระเจ้าและทำตามนั้นเราก็เหมือนต้นไม้ที่ปลูกไว้ข้างลำธารของน้ำและมีผลตามฤดูกาลที่เหมาะสม มีผลของการเชื่อฟังโดยการทำตามพระประสงค์ของพระบิดา! ให้ตรวจสอบตัวเองและถามว่า:

  1. เรากำลังทำตามพระประสงค์ของพระบิดาโดยการรักษาพระราชบัญญัติของพระองค์หรือไม่?
  2. เราเป็นสาวกแท้ของพระคริสต์หรือไม่?

ในท้ายที่สุดเราไม่ควรตำหนิศิษยาภิบาลหรือผู้รับใช้คนอื่นๆ เราทุกคนถูกขอให้ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าด้วยกันทั้งสิ้นและรับผิดชอบต่อการเชื่อฟังพระองค์ ถ้าเราไม่ทำตามพระเยซูจะตรัสว่า:

เราไม่เคยรู้จักเจ้าเลย เจ้าผู้กระทำความชั่วช้า'(คนงานที่ไร้พระบัญญัติ) จงไปเสียให้พ้นจากเรา’

ผมหวังว่าพระเจ้าจะตรัสกับคุณผ่านบทความนี้ ขอให้พระเจ้าอวยพรท่านและอย่าลืมทดสอบทุกอย่าง!

อะไรคือพระราชบัญญัติและอะไรที่ไม่ใช่!

25 เม.ย. 20
Sunete
No Comments

โอ ข้าพระองค์รักพระราชบัญญัติของพระองค์จริงๆ เป็นคำรำพึงของข้าพระองค์วันยังค่ำ(สดุดี 119:97)

เมื่อคุณถามคนอื่นว่าพวกเขาเป็นพลเมืองที่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ส่วนใหญ่จะได้คำตอบ พวกเขาเชื่อว่าพวกเขาปฏิบัติตาม โดยทั่วไปแล้วประเทศที่มีระบบกฎหมายประชากรปฏิบัติตามได้ดีและจะมีการคอร์รัปชั่นน้อยก็ย่อมดีกว่าประเทศที่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ประเทศตะวันตกทำได้ดีมากก็เพราะพวกเขามีระบบกฎหมายที่มีพื้นฐานบนคุณค่าของยูเดีย – คริสเตียน (ซึ่งพื้นฐานพระราชบัญญัติจากพระคัมภีร์)

โดยที่เราไม่รู้ตัว ความจริงเราในฐานะพลเมืองเราปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้าไม่พันๆ ข้อ อย่างน้อยก็ต้องเป็นร้อยๆ ข้อที่เราปฏิบัติตาม (การจราจร สภารัฐและรัฐบาลกลาง) กฎหมายส่วนใหญ่นั้นไม่ยากที่จะรักษาเพราะมันอยู่ในสามัญสำนึกของคนเราอยู่แล้วในกฎพื้นฐานบางอย่างเช่นอย่าทำกับคนอื่นในสิ่งที่คุณไม่อยากให้พวกเขาทำกับคุณ

มัทธิว 7:12 เหตุฉะนั้น สิ่งสารพัดซึ่งท่านปรารถนาให้มนุษย์ทำแก่ท่าน จงกระทำอย่างนั้นแก่เขาเหมือนกัน เพราะว่านี่คือพระราชบัญญัติและคำของศาสดาพยากรณ์

เมื่อถามคนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติของพระเจ้า เราจะสังเกตได้ว่าจะเกิดความรู้สึกทางอารมณ์ด้านลบมากกว่าด้านบวก อารมณ์ที่แสดงออกคือ; มันเป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาพระราชบัญญัติของพระเจ้า ทำให้เราเป็นทาสหรือถูกกักขัง ซึ่งคุณแทบจะไม่เคยได้ยินเลยที่มีใครบางคนบอกว่าพวกเขารักพระราชบัญญัติของพระเจ้ามากแค่ไหนหรือว่าพวกเขาพอใจในพระราชบัญญัติของพระเจ้าเพียงใด เหมือนกับกับดาวิดและเปาโล! อ่านสดุดี 119 บทที่ยาวที่สุดในพระคัมภีร์และทั้งหมดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติของพระเจ้าที่ยอดเยี่ยม!

พระเยซูให้บทสรุปที่ดีมากเกี่ยวกับพระราชบัญญัติของพระเจ้าเมื่อถูกถามว่าอะไรคือพระบัญญัติข้อใหญ่ที่สุด:

มัทธิว 22: 36-40 “อาจารย์เจ้าข้า ในพระราชบัญญัตินั้น พระบัญญัติข้อใดสำคัญที่สุด” พระเยซูทรงตอบเขาว่า “`จงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของเจ้า ด้วยสุดจิตสุดใจของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า’ นี่แหละเป็นพระบัญญัติข้อต้นและข้อใหญ่  ข้อที่สองก็เหมือนกัน คือ `จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง’ พระราชบัญญัติและคำพยากรณ์ทั้งสิ้นก็ขึ้นอยู่กับพระบัญญัติสองข้อนี้”

หัวใจของพระบัญญัติคือ ‘ความรัก’ รักพระเจ้าและรักเพื่อนบ้านของคุณ ดังนั้นทำไมคนจำนวนมากถึงมีมุมมองที่ไม่ดีเมื่อกล่าวถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้า?

ส่วนใหญ่เกิดจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความจริงในพระราชบัญญัติ ในบทความนี้เราจะพยายามสร้างภาพรวมสิ่งที่เป็นพระราชบัญญัติของพระเจ้าและเน้นสิ่งที่มันไม่ใช่พระราชบัญญัติ  เมื่อคุณเข้าใจอย่างแท้จริงว่าพระบัญญัติของพระเจ้าคืออะไรคุณจะเข้าใจว่าทำไมดาวิดบอกว่าเขารักพระราชบัญญัติของพระเจ้าหรือทำไมเปาโลเรียกพระบัญญัติของพระเจ้าว่าเป็นความปีติยินดี ความบริสุทธิ์ ความชอบธรรมและความดี

อะไรที่ไม่ได้เป็นพระราชบัญญัติของพระเจ้า

ผมคิดว่ามันเป็นการดีที่สุดที่จะแก้ไขปัญหานี้ก่อนเพราะความเข้าใจผิดของเราเกี่ยวกับพระบัญญัติของพระเจ้า มันเกี่ยวกับการอ่านพระคัมภีร์และโดยการสันนิษฐานเอาว่านั่นกำลังพูดถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้า ในขณะที่กำลังพูดถึงบัญญัติอื่น

เราพบข้อสำคัญนี้ในกิจการ 15: 8-10 คือเปโตรอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อเขาไปเยี่ยมบ้านนายร้อยและการที่พระเจ้ายอมรับพวกเขาโดยการให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ จากนั้นเขากล่าวว่า  เราไม่ควรใส่แอกอย่างหนักไว้บนไหล่ของคนต่างชาติ ซึ่งพวกเขาหรือบรรพบุรุษของพวกเขายังไม่สามารถแบกไหว

กิจการ 15:8-10 พระเจ้าผู้ทรงทราบจิตใจมนุษย์ได้ทรงรับรองคนต่างชาติ และทรงประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่เขาเหมือนได้ทรงประทานแก่พวกเรา พระองค์ไม่ทรงถือว่าเรากับเขาต่างกัน แต่ทรงชำระใจเขาให้บริสุทธิ์โดยความเชื่อ  ถ้าอย่างนั้นทำไมบัดนี้ท่านทั้งหลายจึงทดลองพระเจ้า โดยวางแอกบนคอของพวกสาวกซึ่งบรรพบุรุษของเราหรือตัวเราเองก็ดีแบกไม่ไหว

คำสำคัญที่นี่คือ “แอกที่ทั้งเราและบรรพบุรุษของเราแบกไม่ไหว” ส่วนใหญ่จะเชื่อว่าเปโตรกำลังพูดถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้า แต่เขาไม่ได้อ้างถึงพระบัญญัติของพระเจ้าเลย เขาอ้างถึงธรรมเนียมของชาวยิว จากบรรพบุรุษของพวกเขา, บัญญัติของมนุษย์ (เทลมุด)

เปโตรกำลังพูดถึงเรื่องราวนี้ในเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่อธิบายไว้ในกิจการ 10: 24-33 ซึ่งเขาไปเยี่ยมบ้านนายร้อยหลังจากเขาได้รับนิมิตจากพระเจ้าเกี่ยวกับผืนผ้าที่เต็มไปด้วยสัตว์ที่ไม่สะอาด สังเกตเห็นสิ่งที่เขาพูดในข้อ 28:

จึงกล่าวแก่คนเหล่านั้นว่า “ท่านทั้งหลายทราบแล้วว่า คนชาติยิวนั้นจะคบให้สนิทกับคนต่างชาติหรือเข้าเยี่ยมก็เป็นที่พระบัญญัติห้ามไว้ (เป็นบัญญัติของยิว)แต่พระเจ้าได้ทรงสำแดงแก่ข้าพเจ้าแล้วว่า ไม่ควรเรียกคนหนึ่งคนใดว่าเป็นที่ห้ามหรือมลทิน (กิจการ 10:28)

มันไม่ขัดกับพระบัญญัติของพระเจ้าที่จะไปเยี่ยมคนต่างชาติหรือเกี่ยวข้องกับคนต่างชาติค่อนข้างตรงกันข้าม พระราชบัญญัติของพระเจ้าบอกเราว่าพวกเขาควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในพวกเขาเอง

เลวีนิติ 19:33-35 เมื่อคนต่างด้าวอาศัยอยู่กับเจ้าในแผ่นดินของเจ้า อย่าข่มเหงเขา คนต่างด้าวที่อาศัยอยู่กับเจ้านั้นก็เหมือนกับชาวเมืองของเจ้า เจ้าจงรักเขาเหมือนกับรักตัวเอง เพราะว่าเจ้าเคยเป็นคนต่างด้าวในแผ่นดินอียิปต์ เราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า  เจ้าอย่ากระทำผิดในการพิพากษา ในการวัดยาว หรือชั่งน้ำหนักหรือนับจำนวน

กันดารวิถี 15:14-16 ถ้าคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่กับเจ้า หรือคนหนึ่งคนใดท่ามกลางเจ้าตลอดชั่วอายุของเจ้าจะใคร่ถวายเครื่องบูชาด้วยไฟ เป็นกลิ่นที่พอพระทัยแด่พระเจ้า ก็ให้เขาทั้งหลายกระทำเหมือนเจ้าทั้งหลายได้กระทำนั้น จะต้องมีกฎอย่างเดียวกันสำหรับชุมนุมชนและสำหรับคนต่างด้าวผู้มาอาศัยอยู่กับเจ้า เป็นกฎถาวรตลอดชั่วอายุของเจ้า คือเจ้าเป็นอย่างใด คนต่างด้าวก็เป็นอย่างนั้นต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์ จะต้องมีพระราชบัญญัติอย่างเดียวกันและลักษณะอย่างเดียวกันสำหรับเจ้าและสำหรับคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่กับเจ้า”

ชาวยิวในเวลานั้นไม่เพียง แต่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติของพระเจ้าเท่านั้น แต่พวกเขายังอยู่ภายใต้บัญญัติของยิวด้วย หนึ่งในหัวข้อในกิจการ 15 คือคำถามว่าผู้เชื่อชาวต่างชาติจำเป็นต้องเข้าสุหนัตหรือไม่ เมื่อคนต่างชาติเปลี่ยนมาเป็นยิวโดยผ่านการเข้าสุหนัตพวกเขาไม่เพียงแต่ต้องรักษาพระบัญญัติของพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบัญญัติของยิวที่พวกยิวคนอื่นบังคับ! นี่คือสิ่งที่เปโตรกำลังต่อต้าน!

เรามีตัวอย่างมากมายนับไม่ถ้วนที่พระเยซูกำลังต่อสู้กับพวกฟาริสีในเรื่องเกี่ยวกับว่าพวกเขาเหล่านี้ที่สร้างพระบัญญัติขึ้นมา มีบางตัวอย่าง:

  • มาระโก 7: 1-13 สาวกของพระเยซูไม่ได้ล้างมือก่อนกิน
  • หรือในคราวนั้นพระเยซูเสด็จไปในทุ่งนาในวันสะบาโต และพวกสาวกของพระองค์หิวจึงเริ่มเด็ดรวงข้าวมากิน (มัทธิว 12: 1, มาระโก 2:23)
  • เปาโลถูกกล่าวหาว่านำคนต่างชาติเข้ามาในพระวิหารและกระทำการทำให้วิหารเป็นมลทิน (กิจการ 21:28) ในขณะที่เราอ่านในกันดารวิถี 15:14 นั่นให้ทุกคนสามารถนำเครื่องบูชามาถวายแด่พระเจ้าได้

คุณสามารถหาตัวอย่างอื่น ๆ อีกมากมาย แต่เมื่อคุณทดสอบในพระคัมภีร์คุณจะพบว่าเหล่านี้ไม่ใช่ พระราชบัญัติของพระเจ้า แต่เป็นบัญญัติของมนุษย์ เป็นประเพณีของบรรพบุรุษของยิวเรียกว่า บัญญัติปากเปล่า (เทลมุด) พระเยซูกล่าวถึงเอาภาระหนักและแบกยากวางบนบ่ามนุษย์ :

มัทธิว 23:2-4 ว่า “พวกธรรมาจารย์กับพวกฟาริสีนั่งบนที่นั่งของโมเสส เหตุฉะนั้นทุกสิ่งซึ่งเขาสั่งสอนพวกท่าน จงถือประพฤติตาม เว้นแต่การประพฤติของเขา อย่าได้ทำตามเลย เพราะเขาเป็นแต่ผู้สั่งสอน แต่เขาเองหาทำตามไม่ ด้วยเขาเอาภาระหนักและแบกยากวางบนบ่ามนุษย์ ส่วนเขาเองแม้แต่นิ้วเดียวก็ไม่จับต้องเลย

ดังที่เราเห็นจากสิ่งที่พระเยซูกล่าวไว้เหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อว่า พระราชบัญญัตินั้นยากเกินกว่าที่จะปฏิบัติตามได้เพราะเราผสมผสาน’บัญญัติของมนุษย์’กับพระราชบัญญัติของพระเจ้า

มีอีกเหตุผลที่เราเชื่อว่าพระราชบัญญัติของพระเจ้าเป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาหรือปฏิบัติตามได้ เป็นเพราะหลักคำสอนของคริสตจักรสอนเราว่าในสมัยพันธสัญญาเดิมคนที่จะได้รับความรอดได้ก็โดยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติของพระเจ้าเท่านั้น  และตอนนี้เป็นยุคพันธสัญญาใหม่คนเราจะได้รับความรอดก็โดยพระคุณผ่านความเชื่อแทน นี่ไม่ใช่แนวคิดในพระคัมภีร์ แต่เป็นหลักคำสอนของคริสตจักร!

ลองพยายามที่หาที่ใดก็ได้ในพันธสัญญาเดิมที่คนอิสราเอลบอกว่าพวกเขาจะพบความรอดโดยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ คุณจะพบว่าไม่มีที่ไหนเลย คุณจะพบว่าความรอดนั้นเกิดจากความเชื่อเพียงอย่างเดียว บางสิ่งที่เปาโลพยายามทำให้ชัดเจนทั้งในโรมและกาลาเทีย เมื่อเปาโลกล่าวในกาลาเทีย 3:11 “ตอนนี้เห็นได้ชัดว่าไม่มีใครชอบธรรมได้ต่อพระพักตร์พระเจ้าโดยปฎิบัติตามพระราชบัญญัติ ‘คนชอบธรรมจะมีชีวิตอยู่โดยความเชื่อ'” จริง ๆ แล้วเขาอ้างถึงพันธสัญญาเดิมในฮาบากุก 2: 4 … แต่ว่าคนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ ดูในโรม 4: 2-3:

โรม 4:2-3 เพราะถ้าอับราฮัมเป็นผู้ชอบธรรมโดยการประพฤติ ท่านก็มีทางที่จะอวดได้ แต่มิใช่จำเพาะพระพักตร์พระเจ้า ด้วยว่าพระคัมภีร์ว่าอย่างไร ก็ว่า `อับราฮัมได้เชื่อพระเจ้า และพระองค์ทรงนับว่าเป็นความชอบธรรมแก่ท่าน’

ดังที่เราเห็นได้ว่าไม่ใช่พันธสัญญาเดิมกับพันธสัญญาใหม่หรือแนวคิดของพันธสัญญาใหม่ความรอดนั้นเกิดขึ้นได้จากความเชื่อ ในความคิดของผมเห็นว่าคนที่พูดแบบนี้ไม่เข้าใจในพันธสัญญาใหม่ และสอนสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากหลักคำสอนของคริสตจักรเท่านั้น

หลักคำสอนของคริสตจักรเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนมีความเข้าใจในแง่ลบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติของพระเจ้า พระเจ้าไม่ต้องการปฎิบัติตามพระราชบัญญัติของพระองค์เพื่อความรอด แต่พระเจ้าต้องการให้เราปรารถนาด้วยใจของเราที่จะปฎิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์และความปรารถนานี้สะท้อนให้เห็นในการกระทำของเราโดยทำสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้ พระองค์ต้องการให้เรารักษาพระราชบัญญัติของพระองค์เพื่อแสดงความรักของเราต่อพระองค์ จำไว้ว่าพระราชบัญญัติของพระองค์นั้นเกี่ยวกับความรัก!

พระบัญญัติในนิยามของเปาโล

แต่ถ้าเป็นตามโรม 7 เปาโลบอกชัดเจนว่าเขาไม่สามารถหยุดทำสิ่งที่ผิดได้อย่างเด็ดขาดดังนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย โรม 7 + 8 เป็นกุญแจสำคัญในการเข้าใจเปาโลเมื่อเขาพูดถึงพระบัญญัติ เพราะในบทเหล่านี้เขาไม่เพียง แต่พูดถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้าเท่านั้น แต่เขายังระบุอีก 3 บัญญัติ:

  1. บัญญัติแห่งบาป (โรม 7:23)
  2. บัญญัติแห่งพระวิญญาณ (โรม 8:2)
  3. บัญญัติแห่งบาปและความตาย (โรม 8:2)

เหล่านี้บทที่ 2 เหล่านี้สมบูรณ์แบบเพื่อแสดงว่าอะไรคือพระบัญญัติของพระเจ้าและอะไรไม่ใช่! หลักคำสอนของคริสตจักรสอนว่าพระราชบัญญัติทำให้เกิดการเป็นทาสและกักขังเรา ที่พวกเขาสอนเช่นนี้ เพราะพวกเขาไม่เข้าใจในสิ่งที่เปาโลบอกเราในบทที่ 2 นี้ เปาโลอธิบายที่นี่สิ่งที่ก่อให้เกิดการเป็นทาสและสิ่งที่เป็นทาสและเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติของพระเจ้าอย่างไร

โรมบทที่ 7 เปาโลวาดภาพความขัดแย้งระหว่างพระบัญญัติของพระเจ้าและบาปเปาโลกล่าวในบทนี้ว่าพระบัญญัติของพระเจ้าคือ:

  • บริสุทธิ์, ชอบธรรมและความดี
  • จิตวิญญาณ
  • ความปีติยินดี

แต่เขาสงสัยว่าทำไมพระราชบัญญัติดี บริสุทธิ์และชอบธรรมทำให้เกิดความขัดแย้งภายในจิตใจของใครบางคน

โรม 7:15 ข้าพเจ้าไม่เข้าใจการกระทำของข้าพเจ้าเอง เพราะว่าข้าพเจ้าไม่ทำสิ่งที่ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะทำ แต่กลับทำสิ่งที่ข้าพเจ้าเกลียดชังนั้น

โรม 7:17 ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงมิใช่ผู้กระทำ แต่ว่าบาปซึ่งอยู่ในตัวข้าพเจ้านั่นเองเป็นผู้ทำ

เปาโลพบคำตอบสำหรับปัญหาของเขาในตอนท้ายของบทที่ 7:

โรม 7:21 ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเป็นกฎอย่างหนึ่ง คือเมื่อใดข้าพเจ้าตั้งใจจะกระทำความดี ความชั่วก็ยังติดอยู่ในตัวข้าพเจ้าเพราะว่าส่วนลึกในใจของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าชื่นชมในพระราชบัญญัติของพระเจ้า แต่ข้าพเจ้าเห็นมีกฎอีกอย่างหนึ่งอยู่ในอวัยวะของข้าพเจ้า ซึ่งต่อสู้กับกฎแห่งจิตใจของข้าพเจ้า และชักนำให้ข้าพเจ้าอยู่ใต้บังคับกฎแห่งบาปซึ่งอยู่ในอวัยวะของข้าพเจ้า

ไม่ใช่พระราชบัญญัติของพระเจ้าที่เป็นทาสหรือก่อให้เกิดความเป็นทาส แต่เป็นบัญญัติแห่งบาปที่ทำเช่นนี้ เปาโลพบบัญญัติหนึ่งในร่างกายของเขาและเรียกมันว่ากฎแห่งบาปนี้ต่อต้านพระราชบัญญัติของพระเจ้าโดยตรงเมื่อเราอ่านในข้อ 23

ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พระเยซูทรงทำเพื่อเราบนกางเขนได้อย่างไรในข้อสุดท้ายของบทที่ 7 และ 2 ข้อแรกของบทที่ 8:

โรม 7:24- 25  โอ ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจจริง ใครจะช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากร่างกายแห่งความตายนี้ได้ ขอบพระคุณพระเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

โรม 8:1-2 เหตุฉะนั้นบัดนี้การปรับโทษจึงไม่มีแก่คนทั้งหลายที่อยู่ในพระเยซูคริสต์ ผู้ไม่ดำเนินตามฝ่ายเนื้อหนัง แต่ตามฝ่ายพระวิญญาณ  เพราะว่ากฎของพระวิญญาณแห่งชีวิตในพระเยซูคริสต์ ได้ทำให้ข้าพเจ้าพ้นจากกฎแห่งบาปและความตาย 

เราอ่านนั้นที่นี่:

บัญญัติของพระวิญญาณแห่งชีวิตทำให้ข้าพเจ้าพ้นจากบัญญัติแห่งบาปและความตาย 

และให้เราอ่านใน 1โครินธิ์ 15:21-22 และต่อไป:

เพราะว่าความตายได้อุบัติขึ้นเพราะมนุษย์คนหนึ่งเป็นเหตุฉันใด การเป็นขึ้นมาจากความตายก็ได้อุบัติขึ้นเพราะมนุษย์ผู้หนึ่งเป็นเหตุฉันนั้น
เพราะว่าคนทั้งปวงต้องตายเกี่ยวเนื่องกับอาดัมฉันใด คนทั้งปวงก็จะกลับได้ชีวิตเกี่ยวเนื่องกับพระคริสต์ฉันนั้น  (1โครินธ์ 15:21-22)

ดังนั้นที่นี่เราพบกฎอีก 2 ข้อที่เปาโลนิยามและเหล่านนี้เชื่อมโยงโดยตรงกับคำสาปของอาดัมและพรของพระคริสต์:

  1. บัญญัติแห่งบาปและความตาย (คำสาปแช่งของอาดัม – ความตายผ่านคนเดียว)
  2. บัญญัติแห่งพระวิญญาณแห่งชีวิต (ดำเนินชีวิตตามพระคริสต์ลบล้างคำสาปแช่งของอาดัม)

พระบัญญัติของพระเจ้าไม่ได้นำความตายมา แต่ “บัญญัติแห่งบาปและความตาย” = “คำสาปของอดัม” ใช่พระเยซูไม่ได้ปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากพระราชบัญญัติแต่พระองค์ให้เราเป็นอิสระจาก “บัญญัติแห่งบาปและความตาย” สิ่งนี้เป็นหัวใจของพันธสัญญาใหม่ (บัญญัติแห่งพระวิญญาณแห่งชีวิต)

เอเศเคียล 36:26-27 Eze 36:26 เราจะให้ใจใหม่แก่เจ้า และเราจะบรรจุจิตวิญญาณใหม่ไว้ในเจ้า เราจะนำใจหินออกไปเสียจากเนื้อของเจ้า และจะให้ใจเนื้อแก่เจ้า และเราจะใส่วิญญาณของเราภายในเจ้า และกระทำให้เจ้าดำเนินตามกฎเกณฑ์ของเรา และเจ้าจะรักษาคำตัดสินของเราและกระทำตาม (จะรักษาพระราชบัญญัติและทำตาม)

ฉันขอแนะนำให้ศึกษาคำจำกัดความทั้งหมดของเปาโลเกี่ยวกับพระบัญญัติและลักษณะต่าง ๆ ของเปาโลมันจะช่วยให้เข้าใจสิ่งที่เปาโลเขียนในจดหมายของเขาทั้งหมด เพื่อให้สรุปสิ่งที่เราพบในรอม 7 และ 8:

  • พระบัญญัติของพระเจ้า (บริสุทธิ์ ชอบธรรม ดี ปีติยินดี พระวิญญาณ ให้รู้ว่าบาป อวยพรเราเมื่อเรารักษาแต่สาปแช่งเราเมื่อเราไม่รักษาหรือทำตาม)
  • บัญญัติแห่งบาป (ตรงข้ามกับพระบัญญัติของพระเจ้า, เป็นทาส, ถูกคุมขัง, ทำให้เกิดผลแห่งบาป)
  • บัญญัติแห่งบาปและความตาย (คำสาปของอาดัมนำมาซึ่งความตาย)
  • พระบัญญัติแห่งพระวิญญาณและชีวิต (ปลดปล่อยเราให้พ้นจากบัญญัติแห่งบาปและความตาย ช่วยเราต่อต้านความบาป ทำให้เรารู้ตัวว่าทำบาป ส่งผลให้เกิดฝ่ายพระวิญญาณ)

ตัวอย่างเกี่ยวกับวิธีช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เปาโลเขียน:

โรม 6:12-14 เหตุฉะนั้นอย่าให้บาปครอบงำกายที่ต้องตายของท่าน ซึ่งทำให้ต้องเชื่อฟังตัณหาของกายนั้น 13 อย่ายกอวัยวะของท่านให้แก่บาป ให้เป็นเครื่องใช้ในการอธรรม แต่จงถวายตัวของท่านแด่พระเจ้า เหมือนหนึ่งคนที่เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว และจงให้อวัยวะของท่านเป็นเครื่องใช้ในการชอบธรรมถวายแด่พระเจ้า 14 เพราะว่าบาปจะมีอำนาจเหนือท่านทั้งหลายต่อไปก็หามิได้(อาจารย์ใหญ่-กาลาเทีย 3:24)  เพราะว่าท่านทั้งหลายมิได้อยู่ใต้พระราชบัญญัติ (บัญญัติบาปและความตาย) แต่อยู่ใต้พระคุณ

สิ่งที่ทำให้หลักคำสอนของคริสตจักรล้มเหลวคือขาดการทดสอบ สิ่งที่พวกเขาเชื่อในพันธสัญญาเดิมดังที่ชาวเบโรอาทำ (กิจการ 17:11) หากพวกเขาจะทดสอบในแนวคิดที่ว่าพระราชบัญญัติทำให้เราเป็นทาส แต่พวกเขาก็จะพบว่าในพระคัมภีร์เดิมจริงๆ แล้วมันตรงกันข้าม:

สดุดี 119:44-48 ข้าพระองค์จะรักษาพระราชบัญญัติของพระองค์สืบๆไปเป็นนิจกาล 45 และข้าพระองค์จะเดินอย่างเสรีเพราะข้าพระองค์ได้แสวงข้อบังคับของพระองค์ 46 ข้าพระองค์จะพูดถึงพระโอวาทของพระองค์ต่อเบื้องพระพักตร์บรรดากษัตริย์และจะไม่ขายหน้า 47 ข้าพระองค์จะปีติยินดีในพระบัญญัติของพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์รัก 48 ข้าพระองค์จะยกมือต่อพระบัญญัติของพระองค์ซึ่งข้าพระองค์รัก และข้าพระองค์จะรำพึงถึงกฎเกณฑ์ของพระองค์

เราได้รับคำเตือนจากเปโตรในคำพูดสุดท้ายของเขาว่าสิ่งที่เปาโลเขียนจะถูกนำออกไปจากบริบทและเราควรระวังเพื่อที่เราจะได้ไม่ถูกพรากไปจากความผิดพลาดของคนที่ไม่มีพระบัญญัติผิดศีลธรรม!

2เปโตร 3:15-17 และจงถือว่า การที่องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราทรงอดกลั้นพระทัยไว้นานนั้นเป็นการช่วยให้รอด ดังที่เปาโลน้องที่รักของเราได้เขียนจดหมายถึงท่านทั้งหลายด้วย ตามสติปัญญาซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดประทานแก่ท่านนั้น 16 เหมือนในจดหมายของท่านทุกฉบับ ท่านได้กล่าวถึงเหตุการณ์เหล่านั้น และในจดหมายนั้นมีบางข้อที่เข้าใจยาก ซึ่งคนทั้งหลายที่ไม่ได้เรียนรู้และไม่แน่นอนมั่นคงนั้นได้เปลี่ยนแปลงเสีย เหมือนเขาได้เปลี่ยนแปลงข้ออื่นๆในพระคัมภีร์ จึงเป็นเหตุกระทำให้ตัวพินาศ 17 เพราะเหตุนั้น พวกที่รัก เมื่อท่านทั้งหลายรู้เรื่องนี้ก่อนแล้ว ท่านก็จงระวังให้ดี เกรงว่าท่านอาจจะหลงไปกระทำผิดตามการผิดของคนชั่ว และท่านทั้งหลายจะสูญเสียความหนักแน่นมั่นคงของท่าน (คนไม่มีพระบัญญัติ = คนที่ไม่เชื่อว่าพระบัญญัติจะใช้กับพวกเขาได้)

คุณอาจเคยได้ยินข้อโต้แย้งว่ามีพระราชบัญญัติมากกว่า 600 กฎและไม่มีใครสามารถปฏิบัติตามได้ทั้งหมด อย่างที่เราเห็นในตอนต้นแล้วในฐานะพลเมืองเราปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างน้อยก็ต้องเป็นร้อยๆ กฎหากไม่เป็นพัน ๆ กฎ  ตอนนี้ คล้ายกันมากกับพระราชบัญญัติของพระเจ้า พระบัญญัติจำนวนมากมันอยู่ในสามัญสำนึกของคนเราอยู่แล้วในกฎพื้นฐาน ส่วนบัญญัติอื่น ๆ นั้นจะนำไปใช้เฉพาะพวกปุโรหิตที่ต้องทำพิธีต่างในพระวิหาร ซึ่งไม่สามารถทำแบบนั้นได้อีกในทุกวันนี้ เพราะพระวิหารถูกทำลายแล้วในปี 70 AD พระราชบัญญัติข้ออื่น ๆ มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มและเช่นเดียวกับที่ถูกกำหนดให้รักษาโดยกลุ่มเป้าหมายนั้นซึ่งคล้ายกับกฎหมายจราจรเกี่ยวกับการขับรถยนต์หากคุณไม่ได้ขับรถ กฎหมายจราจร เหล่านั้นจะไม่สามารถใช้ได้กับคุณ

เมื่อเราดูที่การพิจารณาในยากอบในเรื่องพระบัญญัติที่ให้ทำตาม ในกิจการ 15: 19-21 เกี่ยวกับผู้เชื่อต่างชาติที่เราอ่าน ให้งดเว้นเสียจากสิ่งที่มลทินเนื่องด้วยรูปเคารพ จากการล่วงประเวณี จากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่รัดคอตาย และจากการรับประทานเลือด นอกจากนี้เรายังอ่านบางสิ่งที่คริสเตียนคณะต่างๆ ส่วนใหญ่ข้ามไปด้วย นั้นคือการเรียนพระราชบัญญัติส่วนที่เหลืออื่น ๆ ซึ่งพวกเขาจะเรียนเพิ่มเติมในธรรมศาลาทุกวันสะบาโต!

เราไม่ได้ถูกคาดหวังทันทีจะเข้าใจพระบัญญัติทั้งหมดวิธีที่เราจะนำมาใช้ก็โดยการได้เรียนรู้ พระรชบัญญัติเหล่านั้นในวันสะบาโตเราศึกษาพระบัญญัติของพระเจ้า และอ่านโทราห์พร้อมกันทั่วโลกในทุกวันสะบาโต(วันเสาร์) ซึ่งจะสามารถอ่านโทราห์ทั้งหมดได้ภายในหนึ่งปีครบอย่างสมบูรณ์ในธรรมศาลา โดยเริ่มจากปฐมกาล 1: 1 ทันทีหลังจากงานเลี้ยงฉลองเทศกาลอยู่เพิง (Sukkot) ในวันที่แปดของเทศกาล https://en.wikipedia.org/wiki/Weekly_Torah_portion

พระราชบัญญัติของพระเจ้าไม่ใช่ภูเขาที่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะปีนขึ้นไป แต่เป็นความลาดชันมากกว่าและเมื่อเราทดสอบความคิดที่ว่าพระราชบัญญัติของ พระเจ้านั้นยากเกินไป ด้วยข้อพระคัมภีร์เองเราอ่านพบว่าพระราชบัญญัติของพระเจ้าไม่เป็นภาระหรือยากเกินไปที่จะปฏิบัติตาม:

1 ยอห์น 5:3 เพราะนี่แหละเป็นความรักต่อพระเจ้า คือที่เราทั้งหลายประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ และพระบัญญัติของพระองค์นั้นไม่เป็นที่หนักใจ

ฉธบ 30:11 เพราะว่าพระบัญญัติซึ่งข้าพเจ้าบัญชาท่านในวันนี้ ไม่ได้ปิดบังไว้จากท่าน และไม่ห่างเหินเกินไปด้วย

หวังว่าคุณจะเริ่มเห็นว่าอารมณ์เชิงลบอย่างมากที่เกี่ยวพระราชบัญญัติของพระเจ้านั้นเกิดจากเราไม่เข้าใจพระบัญญัติของพระเจ้าคืออะไร ดังนั้นให้เราเริ่มดูว่าจริงๆ แล้วอะไรคือพระราชบัญญัติของพระเจ้า

พระราชบัญญัติของพระเจ้าคืออะไร

ผมต้องสรุปพระราชบัญญัติของพระเจ้าโดยใช้คำเดียว ที่เราอ่าน:

  • สมบูรณ์แบบ (สดุดี 19: 7)
  • การตัดสินที่ชอบธรรม (เนหมีย์ 9:13)
  • ดี (สุภาษิต 4: 2, โรม 7:12)
  • ชีวิต (สุภาษิต  6:23)
  • ความจริง (สดุดี 119: 142)
  • แสงสว่าง (อิสยาห์ 8: 20, สดุดี 119: 105, สุภาษิต 6:23)
  • ทาง (มาลาคี 2: 8, Psa 119: 32, สดุดี 1: 6, สุภาษิต 6:23)
  • อิสรภาพ (สดุดี 119: 45)
  • บริสุทธิ์ (โรม 7:12)
  • ปีติยิน (สดุดี 1: 2, โรม 7:22)
  • ไม่เป็นภาระหรือยากที่จะทำตาม (ฉธบ 30: 11,1ยอห์น 5: 3)

พระเยซูยังทรงแสดงให้เราเห็นในมัทธิว 22: 36-40 ด้วยว่าหัวใจของพระราชบัญญัติของพระเจ้าคือความรัก เมื่อเราดูความหมายของคำว่าโทราห์จริงๆแล้วมันหมายถึงคำแนะนำ

คำว่า “โทราห์” ในภาษาฮิบรูมาจากรากירהซึ่งในการผันคำกริยา หมายถึง ‘นำทาง’ หรือ ‘สอน’ (เปรียบเทียบเลวีนิติ 10:11) ความหมายของคำนั้นจึงเป็น “การสอน” “หลักคำสอน” หรือ “คำสั่ง”; “คำแนะนำ” เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป พระบัญญัติให้ความรู้สึกสิ่งที่ผิด (https://en.wikipedia.org/wiki/Torah)

พระบัญญัติของพระเจ้า = คำสั่งของพระเจ้าสำหรับเรา เมื่อคุณคิดถึงสิ่งนี้คุณจะเริ่มตระหนักว่าพระวจนะทั้งหมดของพระเจ้าคือคำแนะนำของพระองค์สำหรับเรา เราเห็นในพระคัมภีร์หลายข้อว่าพระราชบัญญัติมีการอ้างว่า “คำพูดของพระองค์” เราเห็นสิ่งนี้ใน 1 ยอห์น 2: 3-6:

เราจะมั่นใจได้ว่าเรารู้จักพระองค์โดยข้อนี้ คือถ้าเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์  คนใดที่กล่าวว่า “ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์” แต่มิได้ประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ คนนั้นก็เป็นคนพูดมุสา และความจริงไม่ได้อยู่ในคนนั้นเลย แต่ผู้ใดที่ประพฤติตามพระวจนะของพระองค์ ความรักของพระเจ้าก็สมบูรณ์อยู่ในคนนั้นอย่างแท้จริง ด้วยอาการอย่างนี้แหละเราทั้งหลายจึงรู้ว่าเราอยู่ในพระองค์ ผู้ใดกล่าวว่าตนอยู่ในพระองค์ ผู้นั้นก็ควรดำเนินตามทางที่พระองค์ทรงดำเนินนั้นด้วย(1 ยอห์น 2:3-6 )

นอกจากนี้เราอ่านในสดุดี 119 เกี่ยวกับสิ่งที่พระราชบัญญัติของพระเจ้าเป็นจริงและคล้ายกับสิ่งที่เราเห็นใน 1 Jn 2: 3-6 เราเห็นว่าคำว่า ‘พระบัญญัตฺของพระองค์’ และ ‘พระคำของพระองค์’ นั้นใช้แทนกันได้ เมื่อเราเริ่มเข้าใจว่าพระบัญญัติของพระเจ้าคืออะไรจริง ๆ แล้วมันจะเปลี่ยนเรา!

เราทุกคนรู้ว่าพระเยซูคือ “พระคำ”:

ยอห์น 1:1 ในเริ่มแรกนั้นพระวาทะทรงเป็นอยู่แล้ว และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า

แต่เราก็อ่านสิ่งที่พระเยซูพูดเกี่ยวกับพระองค์เองด้วย:

ยอห์น 8:12 …. พระเยซูตรัสกับเขาทั้งหลายว่า “เราเป็นความสว่างของโลก ผู้ที่ตามเรามาจะไม่เดินในความมืด แต่จะมีความสว่างแห่งชีวิต”

ยอห์น 14:6 พระเยซูตรัสกับเขาว่า “เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากมาทางเรา

ในทางกลับกันเราเห็นแล้วว่าพระบัญญัติของพระเจ้าคือ:

  • เป็นทางนั้น  (มาลาคี 2: 8, สดุดี 119: 32, สดุดี 1: 6, สุภาษิต 6:23)
  • เป็นความจริง (สดุดี 119: 142)
  • เป็นชีวิต (สุภาษิต 6:23)
  • เป็นแสงสว่าง (อิสยาห์ 8:20, สดุดี 119: 105, สุภาษิต 6:23)

กล่าวอีกนัยหนึ่งพระเยซูคือพระบัญญัติ (พระเยซู = พระคำ = พระราชบัญญัติ)! พระองค์คือพระราชบัญญัติที่เป็นตัวตน!

ถ้าเรารักพระคริสต์เรารักพระราชบัญญัติ บางสิ่งใน  1ยอห์น 2: 3-6 และ 1ยอห์น 5: 2-3 จะช่วยทำให้ชัดเจนสำหรับเรา:

1 ยอห์น 2:3-6 เราจะมั่นใจได้ว่าเรารู้จักพระองค์โดยข้อนี้ คือถ้าเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์  คนใดที่กล่าวว่า “ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์” แต่มิได้ประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ คนนั้นก็เป็นคนพูดมุสา และความจริงไม่ได้อยู่ในคนนั้นเลย แต่ผู้ใดที่ประพฤติตามพระวจนะของพระองค์ ความรักของพระเจ้าก็สมบูรณ์อยู่ในคนนั้นอย่างแท้จริง ด้วยอาการอย่างนี้แหละเราทั้งหลายจึงรู้ว่าเราอยู่ในพระองค์ ผู้ใดกล่าวว่าตนอยู่ในพระองค์ ผู้นั้นก็ควรดำเนินตามทางที่พระองค์ทรงดำเนินนั้นด้วย

1 ยอห์น 5:2-3 เมื่อเราทั้งหลายรักพระเจ้าและได้ประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ เราจึงรู้ว่าเรารักคนทั้งหลายที่เป็นบุตรของพระเจ้า
เพราะนี่แหละเป็นความรักต่อพระเจ้า คือที่เราทั้งหลายประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ และพระบัญญัติของพระองค์นั้นไม่เป็นที่หนักใจ 

เมื่อเราเข้าใจว่าพระเยซูทรงเป็นตัวตนของพระราชบัญญัติและเราในฐานะสาวกของพระองค์ต้องดำเนินชีวิตตามอย่างที่พระองค์ทรงทำ เริ่มมีความหมายมากขึ้น พระเยซูคือตัวอย่างของเราและเราในฐานะที่เป็นสาวกของพระองค์จะต้องปฏิบัติตาม

ข้อพระคัมภีร์เช่น โรม 10:14  ที่ คำว่า จุดจบ จริงๆ แล้ว หมายถึง ‘จุดสิ้นสุดของเป้าหมาย’ หรือ ‘เป้าหมาย’ เริ่มที่จะทำให้เข้าใจมากขึ้น:

โรม 10:4 พระคริสต์ทรงเป็นจุดจบ telos (τέλος)  ของพระราชบัญญัติ  เพื่อให้ทุกคนที่มีความเชื่อได้รับความชอบธรรม

เทโลส telos (จากกรีกςοςสำหรับ “สิ้นสุด”, “วัตถุประสงค์” หรือ “เป้าหมาย”) เป็นจุดสิ้นสุดหรือจุดประสงค์ในความหมายที่ค่อนข้าง จำกัด ที่ใช้โดยนักปรัชญาเช่นอริสโตเติล มันเป็นรากเหง้าของคำว่า “teleology” การศึกษาเกี่ยวกับจุดประสงค์อย่างคร่าว ๆ หรือการศึกษาวัตถุ กับมุมมองไปยังเป้าหมายของพวกเขา เพื่อวัตถุประสงค์หรือความตั้งใจ

สิ่งนี้แสดงให้เห็นในวิธีที่เราสามารถพูดได้ว่าเทโลสแห่งสงครามคือชัยชนะหรือธุรกิจที่สร้างความมั่งคั่ง

เทโลส แห่งพระบัญญัติคือพระคริสต์!

เมื่อเราเชิญพระเยซูเข้ามาในใจเราจะได้เชิญพระราชบัญญัติของพระเจ้าเข้ามาในใจของเราด้วยซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของพันธสัญญาใหม่!

สรุป:

ตอนนี้เรารู้แล้วว่าพระเยซูคือพระราชบัญญัติของพระเจ้ามันไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมดาวิดถึงบอกว่าเขารักพระบัญญัติของพระเจ้าและทำไมเปาโลเรียกพระบัญญัติของพระเจ้าว่าเป็นความปีติยินดี  ความบริสุทธิ์ และความดี อ่านสดุดี 119 และค้นพบอีกว่าพระราชบัญญัติของพระเจ้านั้นวิเศษเพียงใด!

อิสรภาพไม่พบนอกพระราชบัญญัติ นอกพระราชบัญญัติเป็นอนาธิปไตย(ขาดการปกครอง)  เสรีภาพถูกพบในพระราชบัญญัติในพระคริสต์!

ขอให้พระเจ้าอวยพรท่านและอย่าลืมทดสอบทุกสิ่ง!

 

ในคำพูดนี้ที่พระเยซูตรัสว่า อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน

11 เม.ย. 20
Sunete
No Comments

ครั้นพระองค์ได้เสด็จเข้าไปในเรือนพ้นประชาชนแล้ว เหล่าสาวกของพระองค์ก็ได้ทูลถามพระองค์ถึงคำอุปมานั้น พระองค์จึงตรัสแก่เขาว่า “ถึงท่านทั้งหลายก็ยังไม่เข้าใจหรือ ท่านยังไม่เห็นหรือว่าสิ่งใดๆแต่ภายนอกที่เข้าไปภายในมนุษย์จะกระทำให้มนุษย์เป็นมลทินไม่ได้ 19 เพราะว่าสิ่งนั้นมิได้เข้าในใจ แต่ลงไปในท้องแล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป (ทำให้อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน)  พระองค์ตรัสว่า “สิ่งที่ออกมาจากภายในมนุษย์ สิ่งนั้นแหละทำให้มนุษย์เป็นมลทิน (มาระโก 7:17-20)

ผมเพิ่งอ่านบทความว่าประเทศจีนได้จัดประเภทสุนัขใหม่ให้เป็นสัตว์เลี้ยงมากกว่าเป็นสัตย์ที่ใช้เป็นอาหาร เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของ โควิด-19 พวกเราส่วนใหญ่มักเกิดความสงสัยว่า (โดยเฉพาะชาวตะวันตก) มีบางคนกินสุนัขเป็นอาหารด้วยหรือ

เมื่อพระเยซูอ้างถึง ‘อาหารทุกอย่าง’ พระองค์จัดว่าอะไรเป็นอาหาร ในพระคัมภีร์หรืออ้างถึงอาหารที่กินในเวลานั้นทั่วโลก? เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจว่าพระเยซูจัดประเภทอะไรเป็นอาหารโดยอ่านพระคัมภีร์ในบริบทอย่างเหมาะสม

มาระโก 7: 1-23 เป็นข้อพระคัมภีร์สำคัญที่ใช้ทุกวันนี้เพื่อใช้ในการสอนซึ่งเป็นหลักคำสอนของคริสตจักรที่ ว่า พระเยซูทรงประกาศว่าอาหารทุกอย่างสะอาดรวมถึงสิ่งที่แยกประเภทไว้ในพระคัมภีร์ว่าเป็นสัตว์ไม่สะอาดห้ามกินนั้นด้วย (เลวีนิติ 11)

ข้อพระคัมภีร์อื่น ๆ ที่ใช้สำหรับการโต้แย้งนี้คือ:

  • กิจการ 10:15 นิมิตของเปโตรที่เห็นมีภาพผ้าผืนใหญ่และมีสัตว์ที่ไม่สะอาด
  • และสิ่งที่เปาโลเขียนในโรม 14:14

เราจะดูพระคัมภีร์เหล่านี้ในบริบทที่เหมาะสมของเนื้อเรื่องที่พยายามจะบอกกับเรา

มาระโก 7:1-23  สะอาดและไม่สะอาด

เมื่ออ่านเนื้อเรื่องทั้งหมดคุณจะสังเกตเห็นว่าไม่มีการอ้างถึงอาหารที่รับประทานจัดเป็นประเภทเนื้อสัตว์ไม่สะอาดในพระคัมภีร์! เราไม่เห็นว่าพวกฟาริสีอารมณ์เสียเพราะเหล่าสาวกของพระเยซูกำลังกินกุ้งเผาหรือหมูย่าง แต่ที่พวกเขาหัวเสียก็เพราะเหล่าสาวกไม่ได้ล้างมือก่อนที่จะกินอาหารตามธรรมเนียมของตน ซึ่งเป็นบัญญัติของมนุษย์(บัญญัติปากเปล่า/เทลมุด)

มาระโก 7:1-5 ครั้งนั้นพวกฟาริสีกับพวกธรรมาจารย์บางคน ซึ่งได้มาจากกรุงเยรูซาเล็ม พากันมาหาพระองค์ เมื่อเขาได้เห็นเหล่าสาวกของพระองค์บางคนรับประทานอาหารด้วยมือที่เป็นมลทิน คือมือที่ไม่ได้ล้างก่อน เขาก็ถือว่าผิด  เพราะว่าพวกฟาริสีกับพวกยิวทั้งสิ้นถือตามประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษว่า ถ้ามิได้ล้างมือตามพิธีโดยเคร่งครัด เขาก็ไม่รับประทานอาหารเลย และเมื่อเขามาจากตลาด ถ้ามิได้ล้างก่อน เขาก็ไม่รับประทานอาหาร และธรรมเนียมอื่นๆอีกหลายอย่างเขาก็ถือ คือล้างถ้วย เหยือก ภาชนะทองสัมฤทธิ์ และโต๊ะ  พวกฟาริสีกับพวกธรรมาจารย์จึงทูลถามพระองค์ว่า “ทำไมพวกสาวกของท่านไม่ประพฤติตามประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่รับประทานอาหารโดยมิได้ล้างมือเสียก่อน”

ตามบริบทของข้อความทั้งหมดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกินเนื้อสัตว์ที่ไม่สะอาด แต่เกี่ยวข้องกับการกินโดยที่ไม่ได้ล้างมือก่อน ซึ่งตามบัญญัติของมนุษย์ ทำให้คนนั้นไม่สะอาด ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่าคำจำกัดความของพระเยซูเรื่อง ‘อาหารทุกอย่าง’ จะรวมถึงสัตว์ที่ถือว่าไม่สะอาดในบริบทนี้

พระเยซูตอบอย่างชัดเจนในสิ่งที่พระองค์คิดเกี่ยวกับธรรมเนียมและบัญญัติที่มนุษย์สร้างขึ้นมา และเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าใจสิ่งที่พระเยซูพูดจริงกับสาวกของพระองค์ในตอนท้าย เราอ่านคำตอบของพระองค์ตามข้อเหล่านี้

พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “อิสยาห์ได้พยากรณ์ถึงพวกเจ้าคนหน้าซื่อใจคดก็ถูก ตามที่ได้เขียนไว้ว่า `ประชาชนนี้ให้เกียรติเราด้วยริมฝีปากของเขา แต่ใจของเขาห่างไกลจากเรา เขานมัสการเราโดยหาประโยชน์มิได้ ด้วยเอาบทบัญญัติของมนุษย์มาอวดอ้างว่า เป็นพระดำรัสสอน’ เจ้าทั้งหลายละพระบัญญัติของพระเจ้า และกลับไปถือตามประเพณีของมนุษย์ คือการล้างถ้วยเหยือก และสิ่งอื่นๆเช่นนี้อีกหลายสิ่ง เจ้าทั้งหลายก็ทำอยู่” พระองค์ตรัสแก่เขาว่า “เหมาะจริงนะ ที่เจ้าทั้งหลายได้ละทิ้งพระบัญญัติของพระเจ้า เพื่อจะได้ถือตามประเพณีของพวกท่าน  เพราะโมเสสได้สั่งไว้ว่า `จงให้เกียรติแก่บิดามารดาของตน’ และ `ผู้ใดด่าแช่งบิดามารดา ผู้นั้นต้องถูกปรับโทษถึงตาย’ แต่พวกเจ้ากลับสอนว่า `ผู้ใดจะกล่าวแก่บิดามารดาว่า “สิ่งใดของข้าพเจ้าซึ่งอาจเป็นประโยชน์แก่ท่าน สิ่งนั้นเป็นโกระบัน”‘ แปลว่าเป็นของถวายแล้ว เจ้าทั้งหลายจึงไม่อนุญาตให้ผู้นั้นทำสิ่งใดต่อไป เป็นที่ช่วยบำรุงบิดามารดาของตน เจ้าทั้งหลายจึงทำให้พระวจนะของพระเจ้าเป็นหมันไปด้วยประเพณีของพวกท่านซึ่งพวกท่านได้สอนไว้ และสิ่งอื่นๆเช่นนี้อีกหลายสิ่ง เจ้าทั้งหลายก็ทำอยู่” (มาระโก 7:6-13)

ตอนนี้ลองนึกถึงสิ่งนี้: พระองค์เรียกพวกเขาว่าคนหน้าซื่อใจคดเพราะให้เกียรติพระเจ้าด้วยริมฝีปากของพวกเขา แต่ไม่ใช่ด้วยหัวใจของพวกเขาและในการทำตามบัญญัติของมนุษย์(บัญญัติปากเปล่า)ซึ่งเป็นธรรมเนียมของพวกเขานั้น ทำให้พระบัญญัติของพระเจ้าเป็นหมันจากนั้นพระเยซูก็ดำเนินการสอนนั้นต่อไป  แต่ตามหลักคำสอนของคริสตจักรทุกวันนี้เช่นกันที่ประกาศสัตว์ที่ไม่สะอาดตามพระวจนะของพระเจ้าว่าเป็นสัตย์สะอาด ดังนั้นคริสเตียนจึงมีอิสระที่จะกินอะไรได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น หมู หมา แมว  ปู กุ้ง หอย บรรดาสัตย์เลื้อยคลาน ฯลฯ  ซึ่งการกระทำเช่นนั้นทำให้พระวจนะของพระเจ้าเป็นหมันด้วย! จริง ๆ แล้วเหมือนกับว่าจะทำให้พระเยซูเป็นคนปากว่าตาขยิบที่ยิ่งใหญ่กว่าพวกฟาริสีเสียด้วยซ้ำไป

ข้อโต้แย้งที่ใช้โดยหลักคำสอนของคริสตจักรในเรื่องนี้คือคำอธิบายของพระเยซูต่อเหล่าสาวกที่เราสามารถอ่านได้ในข้อ 7: 17-23:

มาระโก7:17-23  ครั้นพระองค์ได้เสด็จเข้าไปในเรือนพ้นประชาชนแล้ว เหล่าสาวกของพระองค์ก็ได้ทูลถามพระองค์ถึงคำอุปมานั้น  พระองค์จึงตรัสแก่เขาว่า “ถึงท่านทั้งหลายก็ยังไม่เข้าใจหรือ ท่านยังไม่เห็นหรือว่าสิ่งใดๆแต่ภายนอกที่เข้าไปภายในมนุษย์จะกระทำให้มนุษย์เป็นมลทินไม่ได้  เพราะว่าสิ่งนั้นมิได้เข้าในใจ แต่ลงไปในท้องแล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป ทำให้อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน” พระองค์ตรัสว่า “สิ่งที่ออกมาจากภายในมนุษย์ สิ่งนั้นแหละทำให้มนุษย์เป็นมลทิน  เพราะว่าจากภายในมนุษย์คือจากใจมนุษย์ มีความคิดชั่วร้าย การล่วงประเวณี การผิดผัวผิดเมีย การฆาตกรรม การลักขโมย การโลภ ความชั่ว การล่อลวงเขา ราคะตัณหา อิจฉาตาร้อน การหมิ่นประมาท ความเย่อหยิ่ง ความโฉด สารพัดการชั่วนี้เกิดมาจากภายใน และทำให้มนุษย์เป็นมลทิน”

ดังนั้นข้อสรุปที่สำคัญในการสรุปที่นี่คือ:

“ สิ่งที่เข้าไปในปากไม่ได้ทำให้คนสกปรก แต่สิ่งที่ออกมาจากหัวใจของคนนั้นทำให้เขาสกปรก”

เพียงคิดสักครู่:

ข้อโต้แย้งทุกวันนี้เหมือนข้อโต้แย้งที่พระเยซูใช้เมื่อ 2,000 ปีก่อน ซึ่งได้ยึดถือกันมาตั้งแต่วันที่พระเจ้าให้พระราชบัญญัติ ดังนั้น  คำถามก็คือ: ทำไมพระองค์จึงให้ธรรมบัญญัติตั้งแต่แรก? 

ดูมันไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลยในเมื่อพระองค์ให้พระราชบัญญัติซึ่งทุกคนต้องปฎิบัติตามหลังจากนั้นก็ยกเลิกพระราชบัญญัตินั้น  ซึ่งได้ใช้กันมานานแล้ว ตั้งแต่วันที่พระเจ้าให้พระราชบัญญัตินั้นกับโมเสสที่ภูเขาซีนาย!

ทุกคนที่เชื่อในพระคัมภีร์เป็นคริสเตียนที่ซื่อสัตย์และจริงใจต่อตนเอง ควรมีคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เราถูกสอนโดยหลักคำสอนของคริสตจักรเกี่ยวกับเรื่องนี้!

และอีกอย่างพระเยซูไม่สามารถยกเลิกพระบัญญัติอาหารที่ให้เราในเลวีนิติ 11 นั้นได้เพราะถ้าพระองค์ทำ พระองค์ก็ทำผิดพระราชบัญญติ และดังนั้นก็ไม่สามารถทำให้พระราชบัญญัติสมบูรณ์ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เชื่อในพระคัมภีร์ คริสเตียนทุกคนเห็นด้วยกับพระองค์ ! เราสามารถอ่านได้ใน:

ฉธบ 4:2 ท่านทั้งหลายอย่าเสริมเติมคำที่ข้าพเจ้าได้บัญชาท่านไว้และอย่าตัดออก เพื่อท่านทั้งหลายจะรักษาพระบัญญัติของพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ซึ่งข้าพเจ้าได้บัญชาท่าน

และใน

ฉธบ 12:32 ทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าบัญชาท่านไว้นั้น จงระวังที่จะกระทำตาม ท่านอย่าเพิ่มอะไรเข้าหรือตัดอะไรออกไปจากสิ่งเหล่านั้น”

ดังนั้นถ้าพระเยซูปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอย่างสมบูรณ์นี้ก็หมายความว่าพระองค์ไม่ได้ยกเลิกพระบัญญัติข้อใดๆ เลย ซึ่งบางอย่างพระองค์พยายามทำให้มันชัดเจนยิ่งขึ้นใน มัทธิว 5:17 อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะทำลายพระราชบัญญัติหรือคำของศาสดาพยากรณ์เสีย เรามิได้มาเพื่อจะทำลาย แต่มาเพื่อจะให้สำเร็จ

เรามีข้อพระคัมภีร์อีกข้อหนึ่งที่อ้างถึงเหตุการณ์เดียวกันและเน้นให้เห็นว่าบริบทที่แท้จริงในมาระโก 7: 1-23 เราพบเรื่องราวเดียวกันในมัทธิว 15: 16-20:

มัทธิว 15:16-20 ฝ่ายพระเยซูตรัสตอบว่า “ท่านทั้งหลายยังไม่เข้าใจด้วยหรือ ท่านยังไม่เข้าใจหรือว่า สิ่งใดๆซึ่งเข้าไปในปากก็ลงไปในท้อง แล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป
แต่สิ่งที่ออกจากปากก็ออกมาจากใจ สิ่งนั้นแหละทำให้มนุษย์เป็นมลทิน ความคิดชั่วร้าย การฆาตกรรม การผิดผัวผิดเมีย การล่วงประเวณี การลักขโมย การเป็นพยานเท็จ การพูดหมิ่นประมาท ก็ออกมาจากใจ สิ่งเหล่านี้แหละที่ทำให้มนุษย์เป็นมลทิน แต่ซึ่งจะรับประทานอาหารโดยไม่ล้างมือก่อน ไม่ทำให้มนุษย์เป็นมลทิน”

ดังนั้นเมื่อเราอ่านข้อความ “ที่พระองค์ประกาศว่าอาหารทั้งหมดสะอาด” พระองค์เพียงแค่พูดว่าการไม่ล้างมือหรือไม่ทำตามบัญญัติของมนุษย์จะไม่ทำให้อาหารที่สะอาดนั้นสกปรก! แทนที่จะทำให้พระบัญญัติของพระเจ้าเป็นโมฆะหรือทำให้พระวจนะของพระเจ้าว่างเปล่า แต่พระเยซูทำให้บัญญัติของมนุษย์ต่างหากที่ถือเป็นโมฆะ!(คือถูกยกเลิก)

กิจการ 10:15 นิมิตของเปโตร

กิจการ 10:15 แล้วจึงมีพระสุรเสียงอีกเป็นครั้งที่สองว่าแก่ท่านว่า “ซึ่งพระเจ้าได้ทรงชำระแล้ว อย่าว่าเป็นของต้องห้าม”

ข้อความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าให้นิมิตกับเปโตรมีผืนผ้าขนาดใหญ่แขวนอยู่ที่สี่มุมและภายในมีสัตว์ทุกชนิดทั้งสัตว์สะอาดและไม่สะอาดแล้วสั่งให้เปโตรฆ่าสัตว์เหล่านั้นกินเป็นอาหาร เมื่อเราอ่านข้อนี้ก่อนอื่นเราสังเกตเห็นว่ามีการปฏิเสธอย่างแรงกล้าของเปโตรต่อสิ่งที่พระเจ้าสั่งให้เขาทำคืออะไรให้เราอ่าน:

วันรุ่งขึ้นคนเหล่านั้นกำลังเดินทางไปใกล้เมืองยัฟฟาแล้ว ประมาณเวลาเที่ยงวันเปโตรก็ขึ้นไปบนหลังคาบ้านเพื่อจะอธิษฐาน ก็หิวอยากจะรับประทานอาหาร แต่ในระหว่างที่เขายังจัดอาหารอยู่ เปโตรได้เคลิ้มไป และได้เห็นท้องฟ้าแหวกออกเป็นช่อง มีภาชนะอย่างหนึ่งเหมือนผ้าผืนใหญ่ ผูกติดกันทั้งสี่มุมหย่อนลงมายังพื้นโลก ในนั้นมีสัตว์ทุกอย่างที่อยู่บนแผ่นดิน คือสัตว์สี่เท้า สัตว์ป่า สัตว์เลื้อยคลานและนกที่อยู่ในท้องฟ้า มีพระสุรเสียงมาว่าแก่ท่านว่า “เปโตรเอ๋ย จงลุกขึ้นฆ่ากินเถิด” ฝ่ายเปโตรจึงทูลว่า “มิได้ พระองค์เจ้าข้า เพราะว่าสิ่งซึ่งเป็นของต้องห้ามหรือของมลทินนั้น ข้าพระองค์ไม่เคยได้รับประทานเลย” แล้วจึงมีพระสุรเสียงอีกเป็นครั้งที่สองว่าแก่ท่านว่า “ซึ่งพระเจ้าได้ทรงชำระแล้ว อย่าว่าเป็นของต้องห้าม”เห็นอย่างนั้นถึงสามครั้ง แล้วสิ่งนั้นก็ถูกรับขึ้นไปอีกในท้องฟ้า เมื่อเปโตรยังคิดสงสัยเรื่องนิมิตที่เห็นนั้นว่ามีความหมายอย่างไร ดูเถิด คนที่โครเนลิอัสใช้ไปนั้น เมื่อถามหาและพบบ้านของซีโมนแล้วก็มายืนอยู่หน้าประตูรั้ว

เปโตรตอบว่า  “มิได้ พระองค์เจ้าข้า เพราะว่าสิ่งซึ่งเป็นของต้องห้าม (สามัญ) หรือของมลทินนั้น จากที่เรารู้สัตว์ที่แสดงให้เห็นโดยการบอกของเปโตรนั้นว่าเพราะข้าพระองค์ไม่เคยรับประทานกินอะไรที่เป็นของสามัญหรือไม่สะอาด แต่คำถามสำคัญที่เราต้องถามคือ ทำไมเปโตรปฏิเสธอย่างแรงกล้าในคำสั่งโดยตรงจากพระเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของมาระโก 7:19? (เพราะว่าสิ่งนั้นมิได้เข้าในใจ แต่ลงไปในท้องแล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป ทำให้อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน”)

ถ้าพระเยซูอธิบายชัดเจนต่อเหล่าสาวกในมาระโก 7:19 ว่าตั้งแต่นี้ต่อไปสัตว์ทุกชนิดได้รับการพิจารณาว่าสะอาดแล้วทำไมเปโตรปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง!

คำอธิบายเดียวคือพระเยซูไม่เคยบอกสิ่งนี้ในมาระโก 7:19 แต่สิ่งนี่ถูกบอกนั้นมาจาก หลักคำสอนของคริสตจักรและไม่มีรากฐานทางพระคัมภีร์เลย!

การตอบสนองของเปโตรแสดงให้เราเห็นอีกสองสิ่ง:

  1. เขายังคงรักษาบัญญัติเรื่องอาหารตามที่เราได้รับในเลวีนิติ 11 แม้หลังจากที่พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์และวันเพนเทคอร์ส
  2. และเขาปฏิเสธที่จะฝ่าฝืนพระราชบัญญัติของพระเจ้าแม้เมื่อพระเจ้าสั่งให้เขาทำเช่นนั้น โดยเขากลับมาพิจารณานิมิตนั้นแทนที่ ว่ามันหมายถึงอะไร

หลักคำสอนของคริสเตียนในทุกวันนี้จะใช้คำว่า “อย่าเรียกสิ่งใดๆ ว่าไม่บริสุทธิ์พระเจ้าทำให้สะอาด” เป็นข้อถกเถียงที่ว่าพระเจ้าประกาศว่าสัตว์ที่ไม่สะอาดนั้นเป็นสะอาดกินได้ทั้งหมดแต่นั่นมันใช่ในกรณีนี้หรือไม่? คงไม่ใช่แน่

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วเปโตรก็สงสัยว่าความหมายของนิมิตคืออะไรและถ้าเราอ่านต่อไปเราจะพบว่าพระเจ้าเปิดเผยต่อเปโตรว่านิมิตนั้นหมายถึงอะไร!

กิจการ 10:25-29 ครั้นเปโตรเข้าไป โครเนลิอัสก็ต้อนรับเปโตร และหมอบที่เท้ากราบไหว้ท่าน ฝ่ายเปโตรจึงจับตัวโครเนลิอัสให้ลุกขึ้นและกล่าวว่า “จงยืนขึ้นเถิด ข้าพเจ้าก็เป็นแต่มนุษย์เหมือนกัน” เมื่อกำลังสนทนากันอยู่ เปโตรจึงเข้าไปแลเห็นคนเป็นอันมากมาพร้อมกัน จึงกล่าวแก่คนเหล่านั้นว่า “ท่านทั้งหลายทราบแล้วว่า คนชาติยิวนั้นจะคบให้สนิทกับคนต่างชาติหรือเข้าเยี่ยมก็เป็นที่พระราชบัญญัติห้ามไว้ แต่พระเจ้าได้ทรงสำแดงแก่ข้าพเจ้าแล้วว่า ไม่ควรเรียกคนหนึ่งคนใดว่าเป็นที่ห้ามหรือมลทิน  เหตุฉะนั้น เมื่อท่านใช้คนไปเรียกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็มาโดยไม่ขัด ข้าพเจ้าจึงขอถามว่าท่านเรียกข้าพเจ้ามาด้วยประสงค์อะไร”

อย่างที่เราพูดเสมอบริบทคือทุกสิ่ง พระเจ้าแสดงให้เปโตรเห็นว่าเขาไม่ควรเรียกคนหนึ่งคนใดว่าเป็นที่ห้ามหรือมลทิน  ดังนั้นพระเจ้าไม่ได้ประกาศสัตว์ที่ไม่สะอาด แต่พระองค์ต้องการสอนบทเรียนให้กับเปโตรว่าอย่าเรียกคนทั่วไปว่าไม่สะอาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนนั้นกำลังแสวงหาพระเจ้า ผมเชื่อว่าพระเจ้ากำลังทดสอบเปโตรตามแบบทดสอบที่พระองค์มอบให้กับอิสราเอลในเฉลยธรรมบัญญัติ 13 (ดูการทดสอบเฉลยธรรมบัญญัติ 13 ในบทความของผม “อ่านคัมภีร์ในบริบทอย่างเหมาะสม

มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบว่าเมื่อเปโตรกล่าวว่า “เป็นเรื่องผิดพระราชบัญญัติสำหรับชาวยิวที่จะคบหาสมาคมหรือเยี่ยมเยียนคนชาติอื่น (คนต่างชาติ)” ว่าเขาไม่ได้อ้างถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้า แต่เป็นบัญญติของมนุษย์(บัญญัติปากเปล่า)เราจะไม่พบที่ไหนในคัมภีร์ที่บอกว่าคนต่างชาติจะต้องถือว่าเป็นคนมีมลทินหรือไม่สะอาด ตรงกันข้ามพระบัญญัติระบุว่าคนต่างชาติที่ไม่ใช่ยิวควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในพวกเขาเอง ให้เราอ่าน:

เลวีนิติ 19:33-35 เมื่อคนต่างด้าวอาศัยอยู่กับเจ้าในแผ่นดินของเจ้า อย่าข่มเหงเขา คนต่างด้าวที่อาศัยอยู่กับเจ้านั้นก็เหมือนกับชาวเมืองของเจ้า เจ้าจงรักเขาเหมือนกับรักตัวเอง เพราะว่าเจ้าเคยเป็นคนต่างด้าวในแผ่นดินอียิปต์ เราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า เจ้าอย่ากระทำผิดในการพิพากษา ในการวัดยาว หรือชั่งน้ำหนักหรือนับจำนวน

กันดารวิถี 15:14-16 ถ้าคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่กับเจ้า หรือคนหนึ่งคนใดท่ามกลางเจ้าตลอดชั่วอายุของเจ้าจะใคร่ถวายเครื่องบูชาด้วยไฟ เป็นกลิ่นที่พอพระทัยแด่พระเยโฮวาห์ ก็ให้เขาทั้งหลายกระทำเหมือนเจ้าทั้งหลายได้กระทำนั้น 15 จะต้องมีกฎอย่างเดียวกันสำหรับชุมนุมชนและสำหรับคนต่างด้าวผู้มาอาศัยอยู่กับเจ้า เป็นกฎถาวรตลอดชั่วอายุของเจ้า คือเจ้าเป็นอย่างใด คนต่างด้าวก็เป็นอย่างนั้นต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์ จะต้องมีพระราชบัญญัติอย่างเดียวกันและลักษณะอย่างเดียวกันสำหรับเจ้าและสำหรับคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่กับเจ้า”

อีกครั้งการอ่านพระคัมภีร์เพียงข้อเดียวในบริบท เราอาจเข้าใจชัดเจนว่าพระคัมภีร์พยายามสอนเราอะไรโดยเฉพาะถ้าเราตีความในพระคัมภีร์ในตัวของมันเองเพียงข้อเดียว มันสามารถนำข้อความออกจากบริบทและทำให้เกิดการขัดแย้งในเนื้อหาได้ (บริบท – ข้อความ = กลลวง)!

โรม 14

โดยทั่วไปทั้งหมดในบทเกี่ยวกับอาหารและบอกเราว่าอย่าตัดสินคนอื่นเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากินหรือไม่กิน นอกจากนี้ยังบอกเราว่าอย่ากินหรือดื่มอะไรที่อาจทำให้คนอื่นสะดุดถึงแม้ว่าคุณจะเชื่อว่ามันไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง ก่อนที่เราจะเริ่มอ่านบทนี้ ที่ละข้อ ๆ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบว่าเปาโลไม่เคยอ้างถึงคำว่า สะบาโตสักเลยสักครั้งเดียวในบทนี้ของจดหมายทั้งหมดถึงชาวโรมัน! เนื่องจากเป็นจดหมายเราต้องพิจารณาเนื้อหาทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจบริบทที่เหมาะสม

เรามาเริ่มด้วยการแบ่งเป็นที่ละข้อ ข้อข้อแรกเป็นกุญแจสำคัญในบททั้งหมด!

โรม 14:1 ส่วนคนที่ยังอ่อนในความเชื่อนั้น จงรับเขาไว้ แต่มิใช่เพื่อให้โต้เถียงกันในเรื่องความเชื่อที่แตกต่างกันนั้น

เปาโลเริ่มต้นบทนี้เพื่อแสดงว่าเขาจะพูดถึงความคิดเห็นประเด็นที่โต้แย้งได้ คำจำกัดความของการโต้แย้งคือ; ไม่เป็นที่ยอมรับและเปิดให้มีคำถามหรือการอภิปราย ดังนั้นเรากำลังพูดถึงความรู้สึกคิดเห็นส่วนตัวและไม่ใช่เป้าหมาย!

พระบัญญัติของพระเจ้าไม่ได้เป็นการแสดงความคิดส่วนตัว ข้อเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์และใช้เพื่อพิจารณาการตัดสินผู้อื่นด้วย! เราอ่านในจดหมายฉบับเดียวกันใน (โรม 2:27) ว่าเปาโลบอกชาวยิวที่เข้าสุหนัตทางร่างกาย แต่ไม่ได้รักษาพระราชบัญญัติ ซึ่งพวกเขาจะถูกตัดสินโดยคนต่างชาติที่รักษาพระราชบัญญัติเดียวกันกับยิว! คุณไม่สามารถตัดสินใครบางคนในเรื่องที่โต้แย้งโดยแสดงความคิดเห็นส่วนตัว นั่นคือสิ่งที่เปาโลพยายามอธิบายให้ชัดเจนในบทนี้ ในทางกลับกันเราได้รับการสอนว่าเราต้องตัดสินคนอื่นตามที่พระราชบัญญัติกำหนด

เมื่อพูดถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้าเราอ่าน:

โรม 2:27 และคนทั้งหลายที่ไม่เข้าสุหนัตซึ่งเป็นตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ประพฤติตามพระราชบัญญัติ เขาจะปรับโทษท่านผู้มีประมวลพระราชบัญญัติและได้เข้าสุหนัตแล้ว แต่ยังละเมิดพระราชบัญญัตินั้น

1โครินธ์ 5:12 ไม่ใช่หน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะไปตัดสินลงโทษคนภายนอก ท่านจะต้องตัดสินลงโทษคนภายในคริสตจักรมิใช่หรือ?

ลูกา 17:3 จงระวังตัวให้ดี ถ้าพี่น้องทำการละเมิดต่อท่าน จงเตือนเขา และถ้าเขากลับใจแล้ว จงยกโทษให้เขา

1 ทิโมธี 5:20 สำหรับผู้ปกครองที่ยังคงกระทำบาป จงว่ากล่าวเขาต่อหน้าคนทั้งปวง เพื่อผู้อื่นจะได้เกรงกลัวด้วย

ยอห์น 7:24 อย่าตัดสินตามที่เห็นภายนอก แต่จงตัดสินตามชอบธรรมเถิด”

ยอห์น 7:51 “พระราชบัญญัติของเราตัดสินคนใดโดยที่ยังไม่ได้ฟังเขาก่อน และรู้ว่าเขาได้ทำอะไรบ้างหรือ”

เศคาริยาห์ 8:16 ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เจ้าทั้งหลายพึงกระทำ จงต่างคนต่างพูดความจริงกับเพื่อนบ้าน จงให้การพิพากษาที่ประตูเมืองของเจ้าเป็นตามความจริงและกระทำเพื่อสันติ

ดังนั้นหากบททั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องโต้แย้งหรือเรื่องของความเห็นและเราถูกขอให้ไม่ตัดสินคนอ่อนแอเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ในขณะที่คัมภีร์สอนให้เราตัดสินพี่น้องของเราเมื่อพูดถึงการทำผิดพระราชบัญญัติของพระเจ้า ว่าที่เราจะสรุปได้ว่า:

  1. ทั้งหมดในบทไม่ได้พูดถึงพระราชบัญญัติของพระเจ้า
  2. แต่เป็นเพียงการพูดถึงความเชื่อส่วนตัวความคิดเห็นหรือบัญญัติของมนุษย์ ( บัญญัติปากเปล่า)เป็นสิ่งที่เราไม่ควรตัดสินคนอื่นตราบใดที่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรที่ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติของพระเจ้า

ตอนนี้เรายอมรับแล้วว่าบทนี้ไม่ได้อ้างถึงพระบัญญัติของพระเจ้าให้เราดำเนินการต่อไปด้วยข้อที่สำคัญที่ถูกนำออกมาจากบริบท อันแรกคือข้อ 5 ซึ่งใช้บอกว่าเราสามารถนมัสการพระเจ้าได้ทุกวันที่เราชอบ ความจริงไม่เกี่ยวกับกรณีนี้เลยเช่นกัน ให้เราอ่าน:

โรม 14:5-6 คนหนึ่งถือว่าวันหนึ่งดีกว่าอีกวันหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งถือว่าทุกวันเหมือนกัน ขอให้ทุกคนมีความแน่ใจในความคิดเห็นของตนเถิด ผู้ที่ถือวันก็ถือเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า และผู้ที่ไม่ถือวันก็ไม่ถือเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่กินก็กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขาขอบพระคุณพระเจ้า และผู้ที่มิได้กินก็มิได้กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า และยังขอบพระคุณพระเจ้า

สิ่งแรกที่เราสังเกตเห็นคือการอ้างอิงถึงสิ่งที่ “คนหนึ่งถือว่า” สิ่งที่มนุษย์พิจารณาว่าเป็นสิ่งบริสุทธิ์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่ ถ้าตราบใดที่มันไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่พระเจ้าสั่งให้เราทำ ดังที่เปโตรและอัครสาวกคนอื่น ๆ กล่าว “ข้าพเจ้าทั้งหลายจำต้องเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์ (กิจการ 5:29).

ดังนั้นวันบริสุทธิ์เหล่านี้หมายถึงอะไรและเป็นวันอะไร? เราอ่านสิ่งนี้ในตอนท้ายของ โรม14:6

ผู้ที่กินเนื้อ (เนื้อสัตว์สะอาดในพระคัมภีร์) ก็กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขาขอบพระคุณพระเจ้า และผู้ที่มิได้กินก็มิได้กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า และยังขอบพระคุณพระเจ้า

การงดอาหารเป็นคำจำกัดความของการอดอาหารซึ่งทำให้มีเหตุผลมากขึ้นว่าบททั้งหมดเกี่ยวกับอาหาร ดังนั้นมันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับวันอดอาหารหรือวันที่ไม่อดอาหาร? เหตุผลนี้สามารถพบได้ในลูกา 18:12

ลูกา 18:11-12 คนฟาริสีนั้นยืนนึกในใจของตนอธิษฐานว่า `ข้าแต่พระเจ้า ข้าพระองค์ขอบพระคุณพระองค์ ที่ข้าพระองค์ไม่เหมือนคนอื่นซึ่งเป็นคนฉ้อโกง คนอธรรม และคนล่วงประเวณี และไม่เหมือนคนเก็บภาษีคนนี้ ในสัปดาห์หนึ่งข้าพระองค์ถืออดอาหารสองหน และของสารพัดซึ่งข้าพระองค์หาได้ ข้าพระองค์ได้เอาสิบชักหนึ่งมาถวาย’

พวกฟาริสีกระตือรือร้นที่จะประกาศให้โลกรู้ว่าพวกเขาถือศีลอดอาหารสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่พระคัมภีร์ไม่ได้ระบุวันที่พวกเขาอดอาหาร จากการเขียนอื่น ๆ ในสมัยนั้นน่าจะเป็นวันที่สองและห้าของสัปดาห์และคริสเตียนได้รับการสนับสนุนไม่ให้ถือวันนั้นเหมือนกับคนหน้าซื่อใจคดอย่างพวกฟาริสี เราพบสิ่งนี้ในงานเขียนศตวรรษแรก ” เดอะ ดิเดค The Didache – บทที่ 8″

เดอะ ดิเดค The Didache (คำสอนของอัครสาวก – เขียนในศตวรรษแรก), บทที่ 8:
“ แต่อย่าให้การอดอาหารของท่านเช่นเดียวกับคนหน้าซื่อใจคดเพราะเขาถือศีลอดอาหารในวันที่สองและห้าของสัปดาห์ แทนที่จะถือศีลอดอหารในวันที่สี่และวันเตรียม” (วันพุธและวันศุกร์)
(http://www.earlychristianwritings.com/text/didache-roberts.html)

สังเกตว่าวันศุกร์กล่าวถึงที่นี่เป็นวัน จัดเตรียม หากวันสะบาโตไม่ได้เป็นวันหยุดพักของพระเจ้ามีไว้สำหรับเราอีกต่อไปตามหลักคำสอนของคริสตจักรก็อาจมีข้อสงสัยว่าแล้วพวกเขาเตรียมอะไรในวันนั้น อย่างไรก็ตามในบริบทนี้แสดงเหตุผลที่ดีว่ามันเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับวันถือศีลอดอาหารหรือไม่ถือศีลอดอาหารและจะอธิบายสิ่งนี้ได้ดีกว่าใน โรม 14:5-6 คนหนึ่งถือว่าวันหนึ่งดีกว่าอีกวันหนึ่ง……ผู้ที่ถือวันก็ถือเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า… ผู้ที่กินก็กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า…..

ข้อเท็จจริงที่ว่านี้คือหลักคำสอนของคริสตจักรพยายามเอาวันสะบาโตมาลงในเนื้อหานี้ ดูไม่มีเหตุผลเอาเสียเลยและแสดงให้เห็นอีกว่าพวกเขาพยายามใช้ข้อพระคัมภีร์เพียงข้อเดียวเพื่อเป็นข้ออ้างสำหรับหลักคำสอนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนในพระคัมภีร์ เพื่อยกระดับสิ่งที่มนุษย์คิดว่าเป็นสิ่งบริสุทธิ์ในระดับเดียวกับสิ่งที่พระเจ้าเรียกว่าบริสุทธิ์นั้น ดูไม่น่าเชื่อถือเลย!

อีกข้อที่ใช้ในทำนองเดียวกันกับมาระโก 7:19 คือโรม 14:14

โรม 14:14 ข้าพเจ้ารู้และปลงใจเชื่อเป็นแน่ในองค์พระเยซูเจ้าว่า ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นมลทินในตัวเองเลย แต่ถ้าผู้ใดถือว่าสิ่งใดเป็นมลทิน สิ่งนั้นก็เป็นมลทินสำหรับคนนั้น

เปาโลจัดประเภทอาหารในแบบเดียวกับที่พระเยซูทรงทำซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์ คล้ายกับสิ่งที่เราเห็นในมาระโกบทที่ 7 เราเห็นแล้วว่าบทนี้เกี่ยวกับความคิดเห็นส่วนตัวหรือเรื่องโต้แย้งเนื่องจากบางคนอาจมีความเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สะอาดเพราะ:

  • คนที่ไม่ล้างมือของพวกเขาคล้ายกับมาระโก 7
  • อาหารที่มาจากตลาดและอาจเป็นอาหารที่ถวายแก่รูปเคารพ (เนื้อสัตว์ที่ถวายแก่รูปเคารพแล้วมีขายที่ตลาดในยุคนั้น)
  • ไม่ได้ทำความสะอาดหม้อหรือจานที่บรรจุอาหารตามวิธีการโดยเฉพาะ
  • พวกเขาไม่ได้อธิษฐานก่อนกินอาหาร
  • ฯลฯ …

ดังนั้นเราเห็นเหตุผลส่วนตัวหลายประการว่าทำไมคนคนหนึ่งอาจพิจารณาสิ่งที่ไม่สะอาดและสิ่งที่เปาโลพยายามสอนเราที่นี่คือการยอมรับบุคคลนั้นและไม่ตัดสินพวกเขา เขายังบอกเราด้วยว่าเป็นการดีกว่าที่จะไม่กินหรือดื่มอะไรถ้ามันจะทำให้คนอื่นสะดุด:

โรม 14:19-23 เหตุฉะนั้นให้เรามุ่งประพฤติในสิ่งซึ่งทำให้เกิดความสงบสุขแก่กันและกัน และสิ่งเหล่านั้นซึ่งทำให้เกิดความเจริญแก่กันและกัน
อย่าทำลายงานของพระเจ้าเพราะเรื่องอาหารเลย ทุกสิ่งทุกอย่างปราศจากมลทินก็จริง แต่ผู้ใดที่กินอาหารซึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นหลงผิด ก็มีความผิดด้วย เป็นการดีที่จะไม่กินเนื้อสัตว์หรือดื่มน้ำองุ่นหรือทำสิ่งใดๆที่เป็นเหตุให้พี่น้องสะดุด หรือสะดุดใจหรือทำให้อ่อนกำลัง ท่านมีความเชื่อหรือ จงยึดไว้ให้มั่นต่อพระพักตร์พระเจ้า ผู้ใดไม่มีเหตุที่จะติเตียนตัวเองในสิ่งที่ตนเห็นชอบแล้วนั้นก็เป็นสุข แต่ผู้ที่ยังสงสัยอยู่นั้น ถ้าเขากินก็จะถูกลงพระอาชญา เพราะเขามิได้กินด้วยความเชื่อ ทั้งนี้เพราะการกระทำใดๆก็ตามที่มิได้กระทำด้วยความเชื่อก็เป็นบาปทั้งสิ้น

สรุป

เรื่องการกินอาหารไม่ล้างมือถือเป็นมลทินเป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่มีเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติแต่เกี่ยวกับบัญญัติมนุษย์(บัญญัติปากเปล่า) และเรื่องสัตว์ไม่สะอาดในนิมิตของเปโตรไม่เกี่ยวกับเรื่องอาหารแต่เกี่ยวข้องกับการไม่ให้ถือคนที่ไม่ใช่ยิวว่าเป็นมลทินต้องเปิดโอกาสให้คนต่างชาติเชื่อในพระเจ้าได้รับความรอดเช่นเดียวกับยิว ส่วนเรื่องวันบริสุทธ์หรือวันสะบาโตไม่ได้กล่าวถึงในบริบทเหล่านี้ ที่เกี่ยวข้องคือเรื่องของวันที่ถือศีลอดอาหารที่แตกต่างวันกัน          รวมทั้งการกินเนื้อหรือกินเจของผู้มีความเชื่อที่แตกต่างกัน อย่าตัดสินคนอื่นเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากินหรือไม่กิน ถ้าไม่ผิดต่อพระราชบัญญัติของพระเจ้าก็ควรยอมรับกันไว้ หรือถ้าการกินและดื่มอาจเป็นสาเหตุให้ผู้เชื่อคนอื่นสดุดได้ ก็ไม่ควรกินหรือดื่มก็จะดีกว่า รวมถึงเรื่องการตัดสินกันด้วยความชอบธรรมว่าเราต้องตัดสินผู้เชื่ออื่นที่ทำผิดต่อพระราชบัญญัติของพระเจ้าอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยเขาที่จะคงอยู่ในความเชื่อ

ด้วยการใช้ 3 ข้อเราเห็นว่าโดยกระแสหลักคริสตจักรพยายามสร้างหลักคำสอนที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบริบทของพระคัมภีร์!

  1. มาระโก 7:19 เพราะว่าสิ่งนั้นมิได้เข้าในใจ แต่ลงไปในท้องแล้วก็ถ่ายออกลงส้วมไป ทำให้อาหารทุกอย่างปราศจากมลทิน”(ในการพูดแบบนี้ พระเยซูทรงประกาศว่าอาหารทั้งหมด”สะอาด”)
  2. กิจการ 10:15 แล้วจึงมีพระสุรเสียงอีกเป็นครั้งที่สองว่าแก่ท่านว่า “ซึ่งพระเจ้าได้ทรงชำระแล้ว อย่าว่าเป็นของต้องห้าม”
  3. โรม 14:14 ข้าพเจ้ารู้และปลงใจเชื่อเป็นแน่ในองค์พระเยซูเจ้าว่า ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นมลทินในตัวเองเลย แต่ถ้าผู้ใดถือว่าสิ่งใดเป็นมลทิน สิ่งนั้นก็เป็นมลทินสำหรับคนนั้น

ด้วยการเพิกเฉยจากบริบทของข้อเหล่านี้ทำให้เราหลงเชื่อว่าทุกวันนี้เราสามารถกินอะไรก็ได้ที่เราชอบ พระเยซูไม่ได้ยกเลิกพระบัญญัติที่ให้ไว้กับเราในเลวีนิติ 11 และเมื่ออ่านข้อเหล่านี้ภายในบริบทที่เหมาะสมเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่มีข้อใดสนับสนุนหลักคำสอนนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นคริสตจักรที่สอนเราทุกวันนี้

เราพบว่ามีการตำหนิอย่างมากเกี่ยวกับการสอนประเภทนี้ในพันธสัญญาเดิม:

เอเศเคียล 22:26-27 ปุโรหิตของเขาได้ละเมิดราชบัญญัติของเรา และได้ลบหลู่สิ่งบริสุทธิ์ของเรา เขามิได้แยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งที่บริสุทธิ์และสิ่งสามัญ เขามิได้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างของมลทินและของสะอาด เขาได้ซ่อนนัยน์ตาของเขาไว้จากวันสะบาโตของเรา ดังนั้นแหละเราจึงถูกลบหลู่ท่ามกลางเขาทั้งหลาย  เจ้านายในท่ามกลางแผ่นดินเป็นเหมือนสุนัขป่าที่ฉีกเหยื่อ ทำให้โลหิตตก ทำลายชีวิตเพื่อจะเอากำไรที่อสัตย์

ดูเหมือนว่าพระเจ้ามีเหตุผลที่ดีมาก ว่าทำไมพระองค์บอกเราห้ามกินอะไรที่พระองค์ตรัสว่าไม่สะอาด ยิ่งไปกว่านี้ตอนนี้มีการระบาดของโควิด-19 เราควรคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้! ผมเองเชื่อว่า โควิด-19, โรคซาร์ส ไข้หวัดหมู จะไม่เกิดขึ้นถ้าคนเรายึดรักษาพระบัญญัติของพระเจ้าเรื่องสัตว์สะอาดไม่สะอาด

ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณ:

  • รักษาสิ่งที่พระเจ้าประกาศบริสุทธิ์และสะอาด ให้เป็นสิ่งบริสุทธิ์และสะอาด
  • แยกแยะระหว่างสิ่งบริสุทธิ์และสิ่งสามัญและสิ่งที่สะอาดและไม่สะอาด

ขอให้พระเจ้าอวยพรท่านและอย่าลืมทดสอบทุกอย่าง!

 

อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะทำลายพระราชบัญญัติ

09 เม.ย. 20
Sunete
No Comments

อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะทำลายพระราชบัญญัติหรือคำของศาสดาพยากรณ์เสีย เรามิได้มาเพื่อจะทำลาย แต่มาเพื่อจะให้สำเร็จ เพราะเราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถึงฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรหนึ่งหรือจุดๆหนึ่งก็จะไม่สูญไปจากพระราชบัญญัติ จนกว่าจะสำเร็จทั้งสิ้น เหตุฉะนั้น ผู้ใดได้ทำให้ข้อเล็กน้อยสักข้อหนึ่งในพระบัญญัตินี้เบาลง ทั้งสอนคนอื่นให้ทำอย่างนั้นด้วย ผู้นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นผู้น้อยที่สุดในอาณาจักรแห่งสวรรค์ แต่ผู้ใดที่ประพฤติและสอนตามพระบัญญัติ ผู้นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นใหญ่ในอาณาจักรแห่งสวรรค์  เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ยิ่งกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี ท่านจะไม่มีวันได้เข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์ (มัทธิว 5:17-20)

“อย่าคิดว่า” เป็นคำแรกที่ใช้ที่นี่และพระเยซูกล่าวต่อไปว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย“! แม้ว่าพระเยซูจะใช้คำพูดที่ชัดเจนและแข็งแกร่ง แต่ตอนนี้คริสตจักรส่วนใหญ่สอนตรงกันข้ามอย่างเต็มที่ว่า; เพราะพระเยซูได้ทำให้บัญญัติของโมเสสสมบูรณ์แล้ว เราไม่ต้องรักษาพระบัญญัตินั้นอีกต่อไป

หนึ่งในปัญหาแรกของเรื่องนี้คือการมุ่งเน้นไปที่การเติมเต็มพระบัญญัติในขณะที่พระเยซูไม่กล่าวถึงแค่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติเท่านั้น พระองค์ไม่ได้มาเพื่อยกเลิกสิ่งเหล่านั้น แต่ทำตาม (plēroō – สั่งสอนอย่างเต็มที่) ในสิ่งเหล่านั้น ‘เหล่านั้น’ หมายถึงทั้งพระราชบัญญัติและคำศาสดาพยากรณ์

คำว่า ‘เติมเต็ม’ แปลนี้โดยคริสตจักรหมายความว่า  ‘สิ้นสุด’ หรือ ‘เสร็จสิ้น’ เช่นเมื่อคุณดื่มกาแฟเสร็จแล้วไม่จำเป็นต้องดื่มอีกต่อไป แต่สิ่งนี้จะไม่ตรงกันข้ามกับการยกเลิกวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนภายในบริบทจะเป็นการดีถ้าคุณทำความเข้าใจกับสิ่งที่มีความหมายกับคำว่า เติมเต็ม

เติมเต็ม

เมื่อดูที่ความหมายรากศัพท์ของคำเติมเต็มเราจะเห็นว่ามีการใช้คำภาษากรีก plēroō

πληρόω | plēroō | play-ro’-o
คำจำกัดความของ Thayer :
1) เพื่อทำให้เต็ม เพื่อเติม เช่นเติมให้เต็ม
2) เพื่อให้เต็ม เช่น ทำให้เสร็จสมบูรณ์

พจนานุกรมพระคัมภีร์ (Strong ):
จาก G4134; ที่จะทำให้สมบูรณ์นั่นคือ (ตัวอักษร) เพื่ออัด (ตาข่าย), ยกระดับ (โพรง) หรือ (เปรียบเปรย) ให้แก่ (หรือฝังลึกกระจายอิทธิพล) สร้างความพึงพอใจดำเนินการ (สำนักงาน) เสร็จสิ้น (a) รอบระยะเวลาหรือภารกิจ) ตรวจสอบ (หรือตรงกับการทำนาย) ฯลฯ : – สำเร็จ X หลัง (เป็น) เสร็จสิ้นสิ้นหมดอายุเติม (ขึ้น) เติมเต็ม (เป็น) ทำเต็ม (มา) เต็ม สั่งสอน, สมบูรณ์, อุปทาน

คำว่าplēroōอาจหมายถึง ‘สิ้นสุด’, ‘หมดอายุ’ หรือเสร็จสิ้น แต่ให้ดูที่บริบทและลองใช้คำเหล่านั้นภายในข้อ:

  • เรามิได้มาเพื่อจะทำยกเลิกพระราชบัญญัติหรือคำพยาการณ์แต่มาเพื่อทำให้จบสิ้น
  • เรามิได้มาเพื่อจะยกเลิกพระราชบัญญัติหรือคำพยาการณ์ แต่มาเพื่อทำให้หมดอายุ
  • เรามิได้มาเพื่อจะยกเลิกพระราชบัญญัติหรือคำพยาการณ์แต่มาเพื่อทำให้สำเร็จ

เหล่านี้ทั้งหมดไม่มีเหตุผลเพราะบริบทพยายามชี้ให้เห็นตรงกันข้ามกับ ‘ยกเลิก’ และ ‘สิ้นสุด’, ‘หมดอายุ’ หรือ ‘เสร็จสิ้นไม่ตรงข้ามกับ’ยกเลิก ‘พวกเขามีความหมายคล้ายกันมาก แบบที่ดีกว่าคือ ‘สั่งสอนอย่างเต็มที่’ หรือ ‘สมบูรณ์แบบ’

  • เราไม่ได้มาเพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติหรือคำพยาการณ์แต่มาสอนอย่างถี่ถ้วน
  • เราไม่ได้มาเพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติหรือคำพยาการณ์แต่มาเพื่อทำให้สมบูรณ์

เราพบคำที่ใช้คล้าย ๆ กันในโรม 15:19:

คือด้วยหมายสำคัญและการมหัศจรรย์อันทรงฤทธิ์ ในฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณของพระเจ้า จนข้าพเจ้าได้ประกาศข่าวประเสริฐของพระคริสต์อย่างถ้วนถี่  (โรม 15:19)

หนึ่งในคำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ก็คือเขาจะขยายความพระบัญญัติทำให้มีเกียรติอีกครั้งซึ่งเหมาะกับ “ประกาศอย่างเต็มที่” หรือทำให้ “สมบูรณ์” ในการประกาศ

เพราะเห็นแก่ความชอบธรรมของพระองค์ พระเยโฮวาห์ทรงพอพระทัย ที่จะเชิดชูพระราชบัญญัติและกระทำให้พระราชบัญญัตินั้นมีเกียรติ (อิสยาห์ 42:21 KJV).

ดังนั้นเราสามารถเห็นได้ในบริบทที่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้อ้างถึงการจบหรือทำให้กฎหมายสมบูรณ์ แต่มีการเทศนาอย่างเต็มที่ พระเยซูโดยการเทศนากฎหมายเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบสำหรับเราดังนั้นเราจึงเข้าใจวิธีการรักษาและทำตามที่พระเยซูทำ เป็นที่ชัดเจนว่าสาวกของพระเยซูมีความเข้าใจเดียวกันเพราะทุกคนรักษากฎหมายทั้งหมดหลังจากที่พระเยซูไปหาพระบิดาแม้แต่ผู้ที่เล็กที่สุดตามที่พระเยซูทรงสอนเราในตอนนี้ ดูบทความของผม “เราเป็นสาวกของพระคริสต์หรือของคริสตจักรบิดา”

ศาสดาพยากรณ์

ดังกล่าวแล้วพระเยซูไม่เพียงแต่อ้างถึงพระราชบัญญัติ พระองค์พูดเกี่ยวกับการเป็นไปตามคำของศาสดาพยากรณ์ด้วย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งเรื่องของการอธิษฐานของเรายังคงอธิษฐาน “ขอให้อาณาจักรของพระองค์มาตั้งอยู่ ” และคำทำนายหลายอย่างยังไม่เกิดขึ้น:

  • ราชอาณาจักรของพระเจ้ายังไม่มาถึง!
  • และพระเยซูยังไม่ได้เสด็จกลับมา
  • เรายังคงคาดหวังวันของพระเจ้า
  • สงครามอาร์มาเกดอนยังไม่ได้เกิดขึ้น
  • สวรรค์และโลกยังคงอยู่ที่นี่และเรายังไม่มีสวรรค์ใหม่โลกใหม่หรือเยรูซาเล็มใหม่

บริบทค่อนข้างชัดเจนว่า “จนกว่าทุกอย่างจะสำเร็จ” รวมถึงการพยากรณ์ทั้งหมด!

เป็นที่น่าสนใจมากที่พระเยซูกล่าวว่า ถึงฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรหนึ่งหรือจุดๆหนึ่งก็จะไม่สูญไปจากพระราชบัญญัติ จนกว่าจะสำเร็จทั้งสิ้น:

เพราะเราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถึงฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรหนึ่งหรือจุดๆหนึ่งก็จะไม่สูญไปจากพระราชบัญญัติ จนกว่าจะสำเร็จทั้งสิ้น (มัทธิว 5:18)

นี่เป็นหนึ่งในคำพยากรณ์สุดท้ายที่จะเกิดขึ้น (ดูวิวรณ์ 21) ตามด้วยการสร้างสวรรค์ใหม่ โลกใหม่และเยรูซาเล็มใหม่ หลังจากนี้ “ทั้งหมดสำเร็จ”! เราอ่านสิ่งนี้ใน วิวรณ์ 21: 1-6:

ข้าพเจ้าได้เห็นท้องฟ้าใหม่และแผ่นดินโลกใหม่ เพราะท้องฟ้าเดิมและแผ่นดินโลกเดิมนั้นหายไปหมดสิ้นแล้ว และทะเลก็ไม่มีอีกแล้ว ข้าพเจ้าคือยอห์น ได้เห็นเมืองบริสุทธิ์ คือกรุงเยรูซาเล็มใหม่ เลื่อนลอยลงมาจากพระเจ้าและจากสวรรค์ กรุงนี้ได้จัดเตรียมไว้พร้อมแล้ว เหมือนอย่างเจ้าสาวแต่งตัวไว้สำหรับสามี  ข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังมาจากสวรรค์ว่า “ดูเถิด พลับพลาของพระเจ้าอยู่กับมนุษย์แล้ว พระองค์จะทรงสถิตกับเขา เขาจะเป็นชนชาติของพระองค์ และพระเจ้าเองจะประทับอยู่กับเขา และจะทรงเป็นพระเจ้าของเขา พระเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาทุกๆหยดจากตาของเขา ความตายจะไม่มีอีกต่อไป ความคร่ำครวญ การร้องไห้ และการเจ็บปวดจะไม่มีอีกต่อไป เพราะยุคเดิมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว”  พระองค์ผู้ประทับบนพระที่นั่งตรัสว่า “ดูเถิด เราสร้างสิ่งสารพัดขึ้นใหม่” และพระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า “จงเขียนไว้เถิด เพราะว่าถ้อยคำเหล่านี้เป็นคำสัตย์จริงและสัตย์ซื่อ”  พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า “สำเร็จแล้ว เราเป็นอัลฟาและโอเมกา เป็นปฐมและอวสาน ผู้ใดกระหาย เราจะให้ผู้นั้นดื่มจากบ่อน้ำพุแห่งชีวิตโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย (วิวรณ์ 21:1-6)

เรียงลำดับอย่างสมบูรณ์ตามคำทำนายเป็นการยืนยันสิ่งที่พระเยซูตรัส (ดูอิสยาห์ 65: 17-19)

เพื่อแก้ความสับสนให้เราอ่านแบบเดียวกันในลูกา 16:17:

It is easier for heaven and earth to disappear than for the least stroke of a pen to drop out of the Law. (Luk 16:17)

ฟ้าและดินจะล่วงไปก็ง่ายกว่าที่พระราชบัญญัติสักจุดหนึ่งจะขาดตกไป  (ลูกา 16:17)

ผมไม่คิดว่าพระคัมภีร์จะชัดเจนกว่านี้พระเยซูยังสอนเราไม่ให้ทำลายแม้แต่ที่เล็กที่สุดของข้อบัญญัติในข้อ 19:

มัทธิว 5:19  เหตุฉะนั้น ผู้ใดได้ทำให้ข้อเล็กน้อยสักข้อหนึ่งในพระบัญญัตินี้เบาลง ทั้งสอนคนอื่นให้ทำอย่างนั้นด้วย ผู้นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นผู้น้อยที่สุดในอาณาจักรแห่งสวรรค์ แต่ผู้ใดที่ประพฤติและสอนตามพระบัญญัติ ผู้นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นใหญ่ในอาณาจักรแห่งสวรรค์

ไม่ค่อยมีใครรู้เรื่องนี้ แต่มีเหตุผลที่น่าสนใจอย่างมากว่าทำไมพระเยซูจึงอ้างถึง “สวรรค์และโลก” โดยคำนึงถึงพระราชบัญญัติ เราพบเหตุผลนี้ได้ใน เฉลยธรรมบัญญัติ 30:19

ข้าพเจ้าขออัญเชิญสวรรค์และโลกให้เป็นพยานต่อท่านในวันนี้ว่า ข้าพเจ้าตั้งชีวิตและความตาย พระพรและคำสาปแช่งไว้ต่อหน้าท่าน เพราะฉะนั้นท่านจงเลือกเอาข้างชีวิตเพื่อท่านและเชื้อสายของท่านจะได้มีชีวิตอยู่ (ฉธบ30:19)

พระเจ้าทรงเรียกสวรรค์และโลกให้เป็นพยานเพื่อให้แน่ใจว่าคนของพระองค์รักษาพระบัญญัติของพระองค์!

วิญญาณของพระบัญญัติ

ดังที่เราเห็นคำว่าการเติมเต็มหมายถึง ‘การสอนพระบัญญัติอย่างสมบูรณ์’ หรือ ‘พระบัญญัติที่สมบูรณ์แบบ’ แม้ว่าพระวจนะของพระเจ้าจะระบุว่าพระราชบัญญัติของพระองค์นั้นสมบูรณ์ (ดู สดุดี 19: 7) ความเข้าใจในพระบัญญัติโดยชาวยิวในครั้งนั้นไม่ใช่! ดังที่อิสยาห์พยากรณ์ไว้ว่าพระเมสสิยาห์จะขยายความพระราชบัญญัติและทำให้เป็นที่น่ายกย่องอีกครั้งพระเยซูทรงทำอย่างนั้นในมัทธิว5 ข้อ 21 ถึง 48 ข้อเหล่านี้อ้างอิงถึงข้อ 20:

มัทธิว5:20 เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ยิ่งกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี ท่านจะไม่มีวันได้เข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์

หัวข้อทั้งหมดในข้อ 21 ถึง 48 เริ่มต้นด้วยคำว่า” ท่านทั้งหลายเคยได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า “ซึ่งหมายถึงความเข้าใจที่ชัดเจนว่าชาวยิวมีพระราชบัญญัติในเวลานั้น สังเกตว่าพระเยซูไม่ได้พูดว่า “ตามที่เขียนไว้ว่า” ตามที่พระองค์ทำเมื่ออ้างถึงพระคัมภีร์จริง:

มัทธิว4:4  ฝ่ายพระองค์ตรัสตอบว่า “มีพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า `มนุษย์จะบำรุงชีวิตด้วยอาหารสิ่งเดียวหามิได้ แต่บำรุงด้วยพระวจนะทุกคำซึ่งออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า'”

มัทธิว 4:7 พระเยซูจึงตรัสตอบมันว่า “พระคัมภีร์มีเขียนไว้อีกว่า `อย่าทดลององค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของท่าน'”

มัทธิว4:10 พระเยซูจึงตรัสตอบมันว่า “อ้ายซาตาน จงไปเสียให้พ้น เพราะพระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า `จงนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของท่าน และปรนนิบัติพระองค์แต่ผู้เดียว'”

พระองค์อ้างถึงคำสอนที่พวกเขารู้จักในสมัยนั้นและไม่ใช่ในข้อพระคัมภีร์! นี่เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทราบเพราะพระเยซูต้องรักษาพระบัญญัติอย่างสมบูรณ์เพื่อเป็นเครื่องบูชาที่สมบูรณ์แบบ โดยการเพิ่มพระบัญญัติใหม่พระองค์จะทำผิดพระราชบัญญัติ (ฉธบ 4: 2, ฉธบ 12:32) ทุกสิ่งที่พระองค์ อ้างถึงในข้อเหล่านี้สามารถย้อนกลับไปที่พันธสัญญาเดิม

ตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งคือตัวอย่างสุดท้ายเกี่ยวกับ

มัทธิว 5:43  ท่านทั้งหลายเคยได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า `จงรักเพื่อนบ้าน และเกลียดชังศัตรู’

เราไม่มีคำสั่งให้เกลียดศัตรูในพระคัมภีร์คุณจะไม่พบที่ไหนเลย! ค่อนข้างตรงกันข้ามเมื่อคุณตรวจสอบพันธสัญญาเดิมคุณพบหลายข้อความที่บอกให้เราช่วยศัตรูของเราเมื่อพวกเขาต้องการ

ถ้าเจ้าพบวัวหรือลาของศัตรูหลงมา จงพาไปส่งคืนให้เจ้าของจงได้  ถ้าเห็นลาของผู้ที่เกลียดชังเจ้าล้มลงเพราะบรรทุกของหนัก อย่าได้เมินเฉยเสีย จงช่วยเขายกมันขึ้น (อพยพ 23:4-5).

และ

ถ้าศัตรูของเจ้าหิว จงให้อาหารเขารับประทาน และถ้าเขากระหาย จงให้น้ำเขาดื่ม (สุภาษิต 25:21).

พระเยซูกำลังบอกว่าสำหรับเราที่จะเกินพวกฟาริสีเราต้องใช้วิญญาณของกฎหมายและไม่เพียง แต่จดหมาย ข้อ 21 – 48 กำลังเน้นจิตวิญญาณของกฎหมายตามที่ตั้งใจไว้เสมอ! พระเยซูไม่ได้เพิ่มกฎหมายและใช้คำพูดของพระเยซู “อย่าคิดว่า” เขาลบสิ่งใดออกจากกฎหมาย พระเยซูทรงขยายกฎหมายและทำให้เกียรติอีกครั้ง!

การทดสอบของชาวเบโรอา

ชาวเมืองเบโรอาได้ทดสอบ(กิจการ 17:11) เราเองก็ต้องทดสอบว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นด้วยว่ามันสอดคล้องกับพระคัมภีร์ข้ออื่นในพันธสัญญาเดิมหรือไม่เช่นกัน

ดังนั้น พระคัมภีร์เดิมสนับสนุนสถานอะไร:

  1. พระบัญญัติของโมเสสได้รับการทำให้สำเร็จแล้วดังนั้นจึงไม่มีผลกับเราอีกต่อไป
  2. พระบัญญัติของโมเสสได้รับการทำให้สำเร็จ (ในการสอนอย่างสมบูรณ์ถี่ถ้วน) และยังคงมีผลบังคับใช้กับเราในทุกวันนี้

เมื่อตรวจสอบสิ่งที่พระคัมภีร์เดิมกล่าวไว้เกี่ยวกับตำแหน่งเหล่านี้เราสามารถพบหลายข้อที่นับไม่ถ้วนในพันธสัญญาเดิมที่ระบุว่า “ตลอดชั่วอายุคน” หรือ “ตลอดกาล” เกี่ยวกับพระราชบัญญัติ  บางตัวอย่างเหล่านี้:

อพยพ 31:16-17  เหตุฉะนี้ ชนชาติอิสราเอลจงรักษาวันสะบาโตไว้ คือถือวันสะบาโตตลอดชั่วอายุของเขาเป็นพันธสัญญาเนืองนิตย์  เป็นหมายสำคัญระหว่างเรากับชนชาติอิสราเอลว่า ในหกวันพระเยโฮวาห์ได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก แต่ในวันที่เจ็ดพระองค์ได้ทรงงดการงานไว้ และได้ทรงหย่อนพระทัยในวันนั้น'”

อพยพ  31:13“จงสั่งชนชาติอิสราเอลว่า `เจ้าทั้งหลายจงรักษาวันสะบาโตของเราไว้ เพราะนี่จะเป็นหมายสำคัญระหว่างเรากับเจ้าตลอดชั่วอายุของเจ้า เพื่อเจ้าจะได้รู้ว่าเราคือพระเยโฮวาห์ ผู้ได้กระทำเจ้าให้บริสุทธิ์

อพยพ 12:14 วันนั้นจะเป็นวันที่ระลึกสำหรับเจ้า ให้เจ้าทั้งหลายถือไว้เป็นเทศกาลแด่พระเยโฮวาห์ตลอดชั่วอายุของเจ้า เจ้าจงฉลองเทศกาลนี้และถือเป็นกฎถาวร

อพยพ 12:17 เจ้าทั้งหลายจงถือเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ เพราะในวันนั้นเราได้นำพลโยธาของเจ้าทั้งหลายออกไปจากแผ่นดินอียิปต์ เหตุฉะนี้ เจ้าจงฉลองวันนั้นและถือเป็นกฎถาวรตลอดชั่วอายุของเจ้า 

อพยพ  12:24 ท่านทั้งหลายจงถือพิธีนี้ให้เป็นกฎถาวรของท่านและของลูกหลานท่าน

เลวีนิติ 16:29 ให้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรแก่เจ้าทั้งหลายว่า ในวันที่สิบเดือนที่เจ็ด เจ้าต้องถ่อมใจลง ไม่กระทำการงานสิ่งใด ทั้งตัวชาวเมืองเองหรือคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ท่ามกลางเจ้า

เลวีนิติ 16:31 เป็นวันสะบาโตให้เจ้าทั้งหลายหยุดพักสงบ และเจ้าต้องถ่อมใจลง ทั้งนี้ให้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรตลอดไป 

เลวีนิติ 23:21 และในวันเดียวกันนั้น เจ้าจงประกาศว่าเจ้าจงมีการประชุมบริสุทธิ์แก่เจ้า เจ้าอย่าทำงานหนัก ทั้งนี้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรทั่วไปในที่อาศัยของเจ้าตลอดชั่วอายุของเจ้า 

เลวีนิติ 23:31 เจ้าอย่าทำงานสิ่งใดเลย ทั้งนี้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรตลอดชั่วอายุของเจ้าทั่วไปในที่อาศัยของเจ้า

2 พงศาวดาร 2:4 ดูเถิด ข้าพเจ้ากำลังจะสร้างพระนิเวศเพื่อพระนามพระเยโฮวาห์พระเจ้าของข้าพเจ้า และมอบถวายแด่พระองค์ เพื่อเผาเครื่องหอมต่อพระพักตร์พระองค์ และเพื่อขนมปังหน้าพระพักตร์เนืองนิตย์ และเพื่อเครื่องเผาบูชาทั้งเช้าและเย็น ในวันสะบาโต และในวันข้างขึ้น และวันเทศกาลตามกำหนดของพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเรา ซึ่งเป็นกฎตั้งไว้เป็นนิตย์สำหรับอิสราเอล

สดุดี 119:44 ข้าพระองค์จะรักษาพระราชบัญญัติของพระองค์สืบๆไปเป็นนิจกาล

สดุดี 119:159-160 โอ ข้าแต่พระเยโฮวาห์ ขอทรงพิเคราะห์ว่าข้าพระองค์รักข้อบังคับของพระองค์มากเท่าใด ขอทรงสงวนชีวิตของข้าพระองค์ไว้ตามความเมตตาของพระองค์  ตั้งแต่แรกพระวจนะของพระองค์คือความจริง และคำตัดสินอันชอบธรรมของพระองค์ทุกข้อดำรงอยู่เป็นนิตย์ 

ฉธบ 5:29 โอ อยากให้มีจิตใจเช่นนี้อยู่เสมอไปหนอ คือที่จะยำเกรงเราและรักษาบัญญัติทั้งสิ้นของเรา เขาทั้งหลายก็จะสุขเจริญอยู่ตลอดชั่วลูกหลานของเขาเป็นนิตย์ 

ฉธบ 11:1 “เหตุฉะนี้พวกท่านจงรักพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน จงรักษาพระดำรัสสั่ง กฎเกณฑ์ และคำตัดสิน และพระบัญญัติของพระองค์เสมอไป 

เลวีนิติ 10:15  เนื้อโคนขาที่ถวายและเนื้ออกที่แกว่งถวายเขาจะนำมาบูชาพร้อมกับเครื่องไขมันที่บูชาด้วยไฟ เพื่อแกว่งเป็นเครื่องบูชาแกว่งถวายต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์ สิ่งเหล่านี้เป็นของท่านและบุตรชายทั้งหลายของท่าน ให้เป็นกฎเกณฑ์เนืองนิตย์ ดังที่พระเยโฮวาห์ทรงบัญชาไว้”

เมื่อมองหาข้อพระคัมภีร์ที่สนับสนุนสักข้อหนึ่งที่ว่าหลังจากที่พระเมสสิยาห์เสด็จมาพระบัญญัติของโมเสสก็เลิกใช้” เราพบว่า:

ไม่มีอะไรเลย ไม่มีสักข้อเดียว!

หากพระราชบัญญัติของโมเสสจบสิ้นแล้ว และแทนที่ด้วยพระบัยญัติใหม่เราต้องสามารถค้นพบได้ในคำพยากรณ์ข้อใดข้อหนึ่งดังที่ระบุไว้ในอาโมส 3: 7:

แท้จริงองค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าจะมิได้ทรงกระทำอะไรเลย โดยมิได้เปิดเผยความลึกลับให้แก่ผู้รับใช้ของพระองค์ คือผู้พยากรณ์ (อาโมส 3:7)

พันธสัญญาเดิมไม่ได้ยืนยันสถานะของข้อที่ 1 แต่ยืนยันสถานะข้อที่ 2 ว่าพระราชบัญญัติยังคงมีอยู่สำหรับเราในทุกวันนี้

  1. พระบัญญัติของโมเสสได้รับการทำให้สำเร็จแล้วดังนั้นจึงไม่มีผลกับเราอีกต่อไป
  2. พระบัญญัติของโมเสสได้รับการทำให้สำเร็จ (ในการสอนอย่างสมบูรณ์ถี่ถ้วน) และยังคงมีผลบังคับใช้กับเราในทุกวันนี้

ความเข้าใจผิดในคริสตจักรทุกวันนี้

บางคนอาจพูดว่า “แล้วพันธสัญญาใหม่? พันธสัญญาเดิมพูดถึงพันธสัญญาใหม่โดยมีบัญญัติใหม่มาด้วยหรือไม่”

เมื่อคุณอ่าน เยเรมีย์ 31: 31-34 และ เอเศเคียล 36:26 คุณจะพบว่าอะไรเป็นพันธสัญญาใหม่ไม่ใช่พระบัญญัติ  พระบัญญัติ (tôrâh H8451 ตามที่กล่าวไว้ในข้อ) เหมือนกัน

ในพันธสัญญาใหม่พระเจ้าจะบรรจุจิตวิญญาณใหม่ไว้ในเราจะนำใจหินออกไปเสียจากเนื้อของเรา และพระองค์จะทรงบรรจุพระราชบัญญัติของพระองค์(tôrâh) ไว้ภายในหัวใจและจิตใจของพวกเราและพระองค์จะให้วิญญาณของพระองค์ช่วยเรา เพื่อให้เราสามารรถรักษาพระราชบัญญัติของพระองค์แทนที่เราจะทำลายมัน

เป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงในคริสตจักรทุกวันนี้ที่ว่าพันธสัญญาใหม่เป็นบัญญัติใหม่ ความคิดของพระบัญญัติใหม่ที่ถูกนำมาใช้กับพันธสัญญาใหม่ไม่มีรากฐานในพระคัมภีร์!  ผู้ที่สร้างข้อโต้แย้งนี้มักจะใช้ข้อพระคัมภีร์สองสามข้อจาก อ.เปาโลและสร้างภาพที่สวยงามของไม้กางเขนพร้อมกับข้อความ ‘พันธสัญญาเก่า’ไว้ด้านซ้ายรวมทั้งข้อความ”พระบัญญัติ” และด้านขวามีข้อความ’พันธสัญญาใหม่’และคำว่า ‘พระคุณ’ แต่คุณจะไม่เห็นว่ามีศิษยาภิบาลเข้าถึงข้อพระคัมภีร์โดยตรงเพื่อรู้จริงในสิ่งที่เกี่ยวพันธ์กับพันธสัญญาใหม่ ผมไม่รู้เลยว่าพันธสัญญาใหม่นั้นเกี่ยวกับอะไรนอกจากเรื่องที่ผมเคยถูกสอนโดยคริสตจักร วันนี้มีคริสเตียนกี่คนที่ศึกษาหัวข้อเหล่านี้ด้วยตนเอง?

อ่านด้วยตัวเอง เยเรมีย์ 31: 31-40, เอเศเคียล 36: 22-38 และ ฮิบรู 8: 1-13 (อ้างถึง เยเรมีย์ 31:31) และถามคำถาม 3 ข้อถัดไป:

  1. เกิดอะไรขึ้นกับพันธสัญญาเดิม ?
  2. มีอะไรใหม่ในพันธสัญญาใหม่ ?
  3. และจะทำพันธสัญญาใหม่กับใคร ?

สุดท้ายจะทำให้คุณตกใจเพราะพระเจ้าไม่ได้ทำพันธสัญญาใหม่กับคนต่างชาติ!

สิ่งนี้จะนำเราไปสู่ความเข้าใจผิดครั้งใหญ่อีกครั้งในคริสตจักรทุกวันนี้เกี่ยวกับเรื่องนี้ หลายคนจะพูด แต่พันธสัญญาเดิมมีไว้สำหรับชาวยิวและพันธสัญญาใหม่มีไว้สำหรับคนต่างชาติ ดูข้อพระคัมภีร์ทั้งหมดที่ยกมาในการทดสอบของชาวเมืองเบโรอา มันพูดถึงอิสราเอลตลอดเวลาเช่น:

อพยพ 31:16-17 เหตุฉะนี้ ชนชาติอิสราเอลจงรักษาวันสะบาโตไว้ คือถือวันสะบาโตตลอดชั่วอายุของเขาเป็นพันธสัญญาเนืองนิตย์
เป็นหมายสำคัญระหว่างเรากับชนชาติอิสราเอลว่า ในหกวันพระเยโฮวาห์ได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก แต่ในวันที่เจ็ดพระองค์ได้ทรงงดการงานไว้ และได้ทรงหย่อนพระทัยในวันนั้น'”

สิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้ก็คือพวกเขาต่างกันมากเมื่อพระคัมภีร์พูดถึงชาวอิสราเอลและชาวยิว ยิวเป็นทายาทของวงค์วานยูดาห์ และอีกวงค์วานของอิสราเอล มีคริสเตียนไม่กี่คนที่รู้ว่าอิสราเอลได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาจักรอาณาจักรทางเหนือซึ่งเป็นราชวงศ์ของอิสราเอล (10 เผ่า) และอาณาจักรทางใต้ซึ่งเป็นราชวงศ์ของยูดาห์ (เผ่ายูดาห์และเบนจามิน +บางส่วน ของเผ่าเลวี) ทั้งสองถูกเนรเทศเพราะไม่เชื่อฟังพระราชบัญญัติของพระเจ้า วงศ์วานของอิสราเอลถูกจับก่อนและถูกเนรเทศโดยอัสซีเรีย และหลังจากนั้นวงศ์วานยูดาห์ถูกเนรเทศไปบาบิโลนโดยชาวบาบิโลน และภายหลังมีเพียงวงศ์วานของยูดาห์เท่านั้นที่กลับมายังดินแดนแห่งอิสราเอล แต่วงศ์วานอิสราเอลไม่เคยกลับมา ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงชาวยิวเรามักอ้างอิงถึงวงศ์วานยูดาห์เท่านั้น ดังนั้นในช่วงเวลาของพระเยซูอิสราเอลถูกสร้างขึ้นโดยวงศ์วานของยูดาห์

ทำไมผมพูดถึงทั้งหมดนี้ เพราะมันเป็นกุญแจสำคัญ ที่สำคัญสำหรับเราที่จะเข้าใจว่าจุดประสงค์หลักของพระเจ้าคือการรวม 2 วงค์วานเข้าด้วยกัน คือวงค์วานของอิสราเอลและวงค์วานของยูดาเข้าไว้ในอาณาจักรใหม่ที่เป็นหนึ่งประชาชนของอิสราเอลและไม่ใช่ สร้างคริสตจักรใหม่! นี่คือเหตุผลที่เราอ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปในพันธสัญญาใหม่

มัทธิว 15:24 พระองค์ตรัสตอบว่า “เรามิได้รับใช้มาหาผู้ใด เว้นแต่แกะหลงของวงศ์วานอิสราเอล” 

กิจการ 1:6-76 เมื่อเขาทั้งหลายได้ประชุมพร้อมกัน เขาจึงทูลถามพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า พระองค์จะทรงตั้งราชอาณาจักรขึ้นใหม่ให้แก่อิสราเอลในครั้งนี้หรือ” พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “ไม่ใช่ธุระของท่านที่จะรู้เวลาและวาระซึ่งพระบิดาได้ทรงกำหนดไว้โดยสิทธิอำนาจของพระองค์

กิจการ 9:15 ฝ่ายองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสกับท่านว่า “จงไปเถิด เพราะว่าคนนั้นเป็นภาชนะที่เราได้เลือกสรรไว้ สำหรับจะนำนามของเราไปยังประชาชาติกษัตริย์และชนชาติอิสราเอล 

กิจการ 26:6-7  บัดนี้ข้าพระองค์ต้องมายืนให้พิจารณาพิพากษา ก็เนื่องด้วยเรื่องมีความหวังใจในพระสัญญาซึ่งพระเจ้าได้ตรัสแก่บรรพบุรุษของพวกข้าพระองค์นั้น พวกข้าพระองค์สิบสองตระกูลได้อุตส่าห์ปรนนิบัติพระเจ้าทั้งกลางวันกลางคืน ด้วยหวังใจว่าจะบรรลุถึงความสำเร็จตามพระสัญญานั้น ข้าแต่กษัตริย์อากริปปา เพราะความหวังใจอันนี้พวกยิวจึงฟ้องข้าพระองค์

เราพบการยืนยันเรื่องนี้ในพันธสัญญาเดิมด้วย:

เยเรมีย์  31:10 โอ บรรดาประชาชาติเอ๋ย จงฟังพระวจนะของพระเยโฮวาห์ และจงประกาศพระวจนะนั้นในเกาะทั้งหลายที่ห่างออกไป จงกล่าวว่า `ท่านที่กระจายอิสราเอลนั้นจะรวบรวมเขา และจะดูแลเขาอย่างกับผู้เลี้ยงแกะดูแลฝูงแกะของเขา’

เยเรมีย์  3:18 ในสมัยนั้นวงศ์วานของยูดาห์จะเดินมากับวงศ์วานของอิสราเอล เขาทั้งสองจะรวมกันมาจากแผ่นดินฝ่ายเหนือ มายังแผ่นดินซึ่งเรามอบให้แก่บรรพบุรุษของเจ้าให้เป็นมรดก

สดุดี106:45-48  เพื่อเห็นแก่ท่าน พระองค์ทรงระลึกถึงพันธสัญญาของพระองค์ และกลับทรงกรุณาตามความเมตตาอันอุดมของพระองค์ พระองค์ทรงให้ท่านได้รับความสงสารจากบรรดาผู้ที่ได้ยึดท่านไปเป็นเชลย โอ ข้าแต่พระเยโฮวาห์พระเจ้าของข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอทรงช่วยข้าพระองค์ทั้งหลายให้รอด และขอทรงรวบรวมข้าพระองค์ทั้งหลายจากท่ามกลางประชาชาติต่างๆ เพื่อข้าพระองค์ทั้งหลายจะโมทนาขอบพระคุณพระนามบริสุทธิ์ของพระองค์ และเริงโลดในการสรรเสริญพระองค์ จงถวายสาธุการแด่พระเยโฮวาห์พระเจ้าของอิสราเอลแต่นิรันดร์กาลจนถึงนิรันดร์กาล และขอประชาชนทั้งปวงกล่าวว่า “เอเมน” จงสรรเสริญพระเยโฮวาห์เถิด

มีคาย์ 2:12 โอ ยาโคบเอ๋ย เราจะรวบรวมเจ้าทั้งหลายเป็นแน่ เราจะรวบรวมคนอิสราเอลที่เหลืออยู่ และจะตั้งเขาไว้ด้วยกันเหมือนฝูงแพะแกะที่อยู่ในเมืองโบสราห์ เหมือนฝูงสัตว์ที่อยู่ในคอก เขาจะทำเสียงดังเพราะเหตุมีคนมากมาย

อิสยาห์ 27:12 ต่อมาในวันนั้น พระเยโฮวาห์จะทรงนวดเอาข้าวตั้งแต่แม่น้ำไปจนถึงลำธารอียิปต์ โอ ประชาชนอิสราเอลเอ๋ย เจ้าจะถูกเก็บรวมเข้ามาทีละคนๆ

อิสยาห์ 56:6-8  และบรรดาบุตรชายของคนต่างชาติผู้เข้าจารีตถือพระเยโฮวาห์ ปรนนิบัติพระองค์และรักพระนามของพระเยโฮวาห์ และเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ ทุกคนผู้รักษาวันสะบาโต และมิได้เหยียดหยาม และยึดพันธสัญญาของเรามั่นไว้ คนเหล่านี้เราจะนำมายังภูเขาบริสุทธิ์ของเรา และกระทำให้เขาชื่นบานอยู่ในนิเวศอธิษฐานของเรา เครื่องเผาบูชาของเขาและเครื่องสักการบูชาของเขา จะเป็นที่โปรดปรานบนแท่นบูชาของเรา เพราะนิเวศของเราเขาจะเรียกว่าเป็นนิเวศอธิษฐาน สำหรับบรรดาชนชาติทั้งหลาย”องค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าผู้ทรงรวบรวมอิสราเอลที่กระจัดกระจาย ตรัสว่า “เราจะรวบรวมคนอื่นมาไว้กับเขา นอกจากคนเหล่านั้นที่ได้รวบรวมไว้แล้ว”

โอเซยา 1:11 และวงศ์วานยูดาห์กับวงศ์วานอิสราเอลจะรวมเข้าด้วยกัน และเขาทั้งหลายจะตั้งผู้หนึ่งให้เป็นประมุข และจะพากันขึ้นไปจากแผ่นดินนั้น เพราะวันของยิสเรเอลจะสำคัญมาก

อย่างที่คุณอ่านในพระคัมภีร์เกี่ยวกับพันธสัญญาใหม่และจากข้อสังเกตในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ พันธสัญญาใหม่นั้นมีเฉพาะกับวงค์วานของยูดาห์และวงศ์วานอิสราเอลเท่านั้น วิธีเดียวที่คนต่างชาติจะได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรใหม่ของอิสราเอลและพันธสัญญาใหม่นี้คือโดยการต่อกิ่งเข้าไปในอาณาจักรใหม่ตามที่เปาโลกล่าวถึงในโรม 11: 11-24 เราไม่ได้อ่านต้นเกี่ยวกับเรื่องต้นมะกอก 2 ต้น แต่เป็นต้นมะกอกป่าที่แตกหน่อ ‘หน่อมะกอกป่า’ (คนต่างชาติ) ได้รับการต่อกิ่งเข้าไปในต้นหนึ่งต้น หลังจากพระคัมภีร์ข้อนี้เปาโลเขียน:

โรม 11:25-27  เหตุฉะนั้น พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่อยากให้ท่านทั้งหลายเขลาในข้อความลึกลับนี้ เกลือกว่าท่านจะอวดรู้ คือเรื่องที่บางคนในพวกอิสราเอลได้มีใจแข็งกระด้างไป จนถึงพวกต่างชาติได้เข้ามาครบจำนวน และเมื่อเป็นดังนั้น พวกอิสราเอลทั้งปวงก็จะได้รับความรอด ตามที่มีคำเขียนไว้แล้วว่า `พระผู้ช่วยให้รอดจะเสด็จมาจากเมืองศิโยน และจะทรงกำจัดอธรรมให้สูญสิ้นไปจากยาโคบ นี่แหละเป็นพันธสัญญาของเรากับเขาทั้งหลาย เมื่อเราจะยกโทษบาปของเขา’ 

จากความคิดทั้งหมดที่ว่า พันธสัญญาเดิมมีไว้สำหรับชาวยิวและพันธสัญญาใหม่มีไว้สำหรับคนต่างชาติที่ไม่มีรากฐานในพระคัมภีร์เลย เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเดียวเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้ต้นเดียวและเป็นลูกของอับราฮัมทุกคนแม้จะเชื่อในพระคริสต์ ไม่มีต้นมะกอก 2 ต้น และมีร่างกาย 2 ร่างและพระบัญญัติ 2 พระบัญญัติ สำหรับชาวยิวหนึ่งและอีกหนึ่งสำหรับชาวต่างชาติ

1โครินธ์ 12:13 เพราะว่าถึงเราจะเป็นพวกยิวหรือพวกต่างชาติ เป็นทาสหรือมิใช่ทาสก็ตาม เราทั้งหลายได้รับบัพติศมาโดยพระวิญญาณองค์เดียวเข้าเป็นกายอันเดียวกัน และพระวิญญาณองค์เดียวกันนั้นซาบซ่านอยู่

เราอ่านในโรม 2: 23-29 ว่าชาวยิวผู้โอ้อวดในพระราชบัญญัติ แต่พวกเขาลบหลู่พระเจ้าด้วยการละเมิดพระราชบัญญัติเสียเอง ในขณะที่คนต่างชาติซึ่งไม่มีพระราชบัญญัติได้ประพฤติตามพระราชบัญญัติโดยปกติวิสัยนั้นไม่ใช่มี 2 พระราชบัญญัติ แต่เป็นพระบัญญัติเดียวกันทั้งหมดและสำหรับทุกคน! เปาโลกล่าวด้วยเช่นกันว่า“ คนที่เป็นยิวแท้ คือคนที่เป็นยิวภายใน และการเข้าสุหนัตแท้นั้นเป็นเรื่องของจิตใจตามจิตวิญญาณ มิใช่ตามตัวบทบัญญัติที่เขียนไว้”:

โรม 2:23-29  ท่านผู้โอ้อวดในพระราชบัญญัติ ตัวท่านเองยังลบหลู่พระเจ้าด้วยการละเมิดพระราชบัญญัติหรือเปล่า เพราะมีเขียนไว้แล้วว่า `คนต่างชาติพูดหมิ่นประมาทต่อพระนามของพระเจ้าก็เพราะท่านทั้งหลาย’ ถ้าท่านประพฤติตามพระราชบัญญัติ พิธีเข้าสุหนัตก็เป็นประโยชน์จริง แต่ถ้าท่านละเมิดพระราชบัญญัติ การที่ท่านเข้าสุหนัตนั้นก็เหมือนกับว่าไม่ได้เข้าเลย เหตุฉะนั้น ถ้าผู้ที่ไม่ได้เข้าสุหนัตยังประพฤติตามความชอบธรรมแห่งพระราชบัญญัติแล้ว การที่เขาไม่ได้เข้าสุหนัตนั้นจะถือเหมือนกับว่าเขาได้เข้าสุหนัตแล้วไม่ใช่หรือ และคนทั้งหลายที่ไม่เข้าสุหนัตซึ่งเป็นตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ประพฤติตามพระราชบัญญัติ เขาจะปรับโทษท่านผู้มีประมวลพระราชบัญญัติและได้เข้าสุหนัตแล้ว แต่ยังละเมิดพระราชบัญญัตินั้น  เพราะว่ายิวแท้ มิใช่คนที่เป็นยิวแต่ภายนอกเท่านั้น และการเข้าสุหนัตแท้ก็ไม่ใช่การเข้าสุหนัตซึ่งปรากฏที่เนื้อหนังเท่านั้น คนที่เป็นยิวแท้ คือคนที่เป็นยิวภายใน และการเข้าสุหนัตแท้นั้นเป็นเรื่องของจิตใจตามจิตวิญญาณ มิใช่ตามตัวบทบัญญัติ คนอย่างนั้นพระเจ้าสรรเสริญ มนุษย์ไม่สรรเสริญ

เขายังพูดอีกว่า:

กาลาเทีย 3:26-29  เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นบุตรของพระเจ้าโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์ เพราะเหตุว่า ทุกคนในพวกท่านที่รับบัพติศมาเข้าร่วมในพระคริสต์แล้ว ก็ได้สวมชีวิตพระคริสต์ จะไม่เป็นยิวหรือกรีก จะไม่เป็นทาสหรือไทย จะไม่เป็นชายหรือหญิง เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระเยซูคริสต์
และถ้าท่านเป็นของพระคริสต์แล้ว ท่านก็เป็นเชื้อสายของอับราฮัม คือเป็นผู้รับมรดกตามพระสัญญา

โดยการเข้าสุหนัตของจิตใจคุณจะกลายเป็นบุตรของอับราฮัมและบุตรของพระเจ้าและโดยสิ่งนี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอลและพันธสัญญาของพระเจ้ากับวงศ์วานของยูดาห์และวงศ์วานของอิสราเอล!

สรุป

พระเยซูใช้คำที่แข็งแกร่งมากเพื่อเน้นความชัดเจนว่าพระองค์ไม่ได้มาเพื่อทำให้พระบัญญัติจบสิ้น  แต่พระองค์มาขยายความเพื่อทำให้มันง่ายสำหรับเราที่จะเข้าใจ พระองค์กำลังอ้างถึง 2 เหตุผลในพระคัมภีร์ ถึงฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรหนึ่งหรือจุดๆหนึ่งก็จะไม่สูญไปจากพระราชบัญญัติ จนกว่าจะสำเร็จทั้งสิ้น  ดังนั้นถ้าคุณตื่นขึ้นมาและสังเกตว่าโลกยังอยู่ที่นี่ให้จำสิ่งที่พระเยซูตรัสไว้:

ฟ้าและดินจะล่วงไปก็ง่ายกว่าที่พระราชบัญญัติสักจุดหนึ่งจะขาดตกไป  (ลูกา16:17)

ขอให้พระเจ้าคุ้มครองท่านและอย่าลืมทดสอบทุกอย่าง!

 

เทศกาลในพระคัมภีร์

30 มี.ค. 20
Sunete
No Comments

เทศกาลต่าง ๆ ที่พระเจ้ากำหนดสำหรับมนุษย์

พระคัมภีร์กล่าวว่า ”ต่อไปนี้เป็นเทศกาลเลี้ยงตามกำหนดแด่พระเจ้าเป็นการประชุมบริสุทธิ์ ซึ่งเจ้าจะต้องประกาศตามเวลากำหนดให้เขาทราบ” (เลวีนิติ23:4) 

 เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (เป็นเดือนปีใหม่ของยิวเดือนนิแสน)

เทศกาลปัสกา Passover

เป็นวันเฉลิมฉลองให้ระลึกถึงเมื่อพระเจ้าทรงใช้โมเสสให้ปลดปล่อยชาวอิสราเอลออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ดังที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อพยพ12:21-27 และเลวีนิติ 23:4-8 เป็นเทศกาลเลี้ยงตามกำหนดแด่พระเจ้า เป็นการประชุมบริสุทธิ์

เทศกาลปัสกา Passover ขนมปังไร้เชื้อ Unleavened Bread ผลแรก (First Fruits)  ทั้งสามเหตุสำคัญเหล่านี้ อยู่ระหว่างเดือน มีนาคมและเมษายน และยังเป็นวันสิ้นพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ พระองค์เป็นแกะวันปัสกา และเป็นผลแรก “ (1โครินธ์15:20)

วันปัสกาเริ่มวันที่ 14 นิแสนวันพุธเป็นวันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์และถูกฝังในอุโมงค์ในวันเดียวกัน วันที่15 นิแสนเป็นเริ่มวันขนมปังไร้เชื้อต่อเนื่องไปเจ็ดวัน และจากนั้นเป็นวัน ผลแรกซึ่งเป็นวันที่พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์หลังจากวันสะบาโตตรงกับตอนเย็นวันเสาร์เริ่มต้นของวัน ผลแรก

 เทศกาลผลแรก The Feast of First fruits  

ที่มา อพยพ23:14-16  จงถือเทศกาลถวายแก่เราปีละสามครั้ง  จงถือเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อตามเวลาที่กำหนดไว้ (ในเดือนอาบีบ/นิแสน อันเป็นเดือนซึ่งเราบัญชาไว้ เจ้าจงกินขนมปังไร้เชื้อเจ็ดวันตามที่เราสั่งเจ้าไว้แล้ว เพราะในเดือนนั้นเจ้าออกจากอียิปต์ อย่าให้ผู้ใดมาเฝ้าเรามือเปล่าเลย) จงถือเทศกาลเลี้ยงฉลองการเก็บเกี่ยว ถวายพืชผลแรกที่เกิดจากแรงงานของเจ้า ซึ่งเจ้าได้หว่านพืชลงในนา เจ้าจงถือเทศกาลเลี้ยงฉลองการเก็บพืชผลปลายปี เมื่อเจ้าเก็บพืชผลจากทุ่งนาอันเป็นผลงานของเจ้า……..

ผู้ยึดถือวันปัสกาทุกวันนี้ จะถือวันปัสกากินขนมปังไร้เชื้อ ไม่มีขนมปังผสมเชื้อยีสต์ในบ้านเลยและจะถวายผลแรกของรายได้ให้กับพระเจ้าในวันนี้ของปี เพื่อพันธกิจของพระองค์หรือให้คนยากจนและเป็นสิ่งที่ผู้เชื่อทุกคนควรทำ

เทศกาล วันเพนตาคอสท์ Weeks (Pentecost) หรือฮิบรูเรียก Shavuot

1 เป็นเวลาเจ็ดสัปดาห์หลังจากวันปัสกา เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นงานฉลองสัปดาห์เนื่องจากเกิดขึ้นหลังจากเจ็ดสัปดาห์ หรือหลังจากวันปัสกา 50 วัน (เลวีนิติ 23:15-22)  เพนตาคอสท์ เป็นวันที่ชาวยิวได้รับโทราห์ หรือพระบัญญัติของพระเจ้าจากโมเสสที่ภูเขาซีนายในพันธสัญญาเดิม

2 ในพันธสัญญาใหม่เป็นวันที่ สาวกของพระเยซูได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในวันเพนตาคอสท์ และของประทานต่าง ๆ กิจการ2:1-5 หลายคนที่สามารถพูดภาษาอื่น ๆ เพื่อประกาศพระกิตติ  ที่เรียกว่าภาษาแปลก ๆ ความจริง เปโตรไม่ได้พูดภาษาแปลก ๆ ดูจากที่เขาเป็นผู้อธิบาย ใน กิจการ 2:14-16 เปโตรมีของประทานในการรักษาโรคและประกาศเรื่องข่าวประเสริฐของพระเจ้าอย่างกล้าหาญ โดยฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์

3 The Feast of Weeks เทศกาลแห่งสัปดาห์ วันเพนตาคอสท์  เทศกาลเก็บเกี่ยวผลแรก

เลวีนิติ 23:9 -14  พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า  “จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า เมื่อเจ้ามาถึงแผ่นดินซึ่งเราให้เจ้า และเกี่ยวพืชผลของ แผ่นดินนั้น เจ้าจงเอาฟ่อนข้าวที่เกี่ยวในรุ่นแรกนำไปให้ปุโรหิต และปุโรหิตจะนำฟ่อนข้าวนั้น แกว่งไปแกว่งมาถวายต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์ เพื่อเจ้าจะเป็นที่โปรดปราน รุ่งขึ้นหลังวันสะบาโตปุโรหิตจะแกว่งถวาย  ในวันที่เจ้าแกว่งถวายฟ่อนข้าว เจ้าจงถวายลูกแกะผู้อายุหนึ่งขวบไม่มีตำหนิเป็นเครื่องเผาบูชาถวายแก่พระเจ้า

สำหรับวันเพนตาคอสท์ทุกวันนี้  ผู้เชื่อที่ยึดรักษาวันสะบาโตของพระเจ้า จะยึดถือปฏิบัติ วันเพนตาคอสท์ เป็นงานเลี้ยงฉลองผู้เชื่อมาร่วมสามัคคีธรรมกันและระลึกถึง วันที่พระเจ้าประทานพระบัญญัติและพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จเข้ามาในชีวิตผู้เชื่อ และจะมีการถวายผลรายได้ของตนมอบให้พระเจ้า เพื่อใช้ในงานพระราชกิจของพระองค์หรือเพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ยากจน และสนับสนุนผู้รับใช้อะไรอื่น ๆ

                                                                                                                                                                                                                                                     

              เทศกาลเป่าแตร Trumpets (Rose Hashanah)                                                                                 

ในวันที่หนึ่งเดือนที่เจ็ดเจ้าจงมีการประชุมบริสุทธิ์ เจ้าอย่าทำงานหนัก เป็นวันให้เจ้าทั้งหลายเป่าแตร(กันดารวิถี29:1)

เลวีนิติ23::24  “จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ด เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันสะบาโต เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร

เป่าแตรเกี่ยวข้องในพันธสัญญาใหม่ อย่างไร ดูใน วิวรณ์ 11:15/ 1เธสะโลนิกา4:16-17 / มัทธิว 24:31

ปัจจุบันเป็นวันสะบาโตใหญ่ ไม่ทำงาน ผู้เชื่อจะมาประชุมกันเป็นงานกินเลี้ยงฉลองและสามัคคีธรรมกับผู้เชื่อคนอื่น ๆ  นำอาหารมาร่วมกัน เป็นงานเพื่อระลึกถึงพระเจ้า และฟังคำเทศนาจากผู้รับใช้รวมถึง การถวายเงินให้กับพระเจ้าเพื่อพันธกิจต่าง ๆ  และช่วยเหลือคนยากจน

วันลบมลทิน The Day of Atonement (ยำคิพพัวร์ Yom Kippur)

เลวีนิติ 16: 21- 22 และอาโรนจะเอามือทั้งสองวางบนหัวแพะที่มีชีวิตนั้น และกล่าวคำสารภาพบรรดาความชั่วช้าของคนอิสราเอล และการละเมิดทั้งหมด และบาปทั้งสิ้นให้ตกลงบนหัวแพะนั้น และให้คนที่เตรียมมือไว้พร้อมแล้วมานำแพะไปปล่อยเสียในถิ่นทุรกันดาร  แพะนั้นจะแบกความชั่วช้าทั้งหมดไปยังที่เปลี่ยว แล้วเขาก็ปล่อยให้แพะนั้นเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร และ เลวีนิติ 16:29-31

เลวีนิติ 23:27-32 ในวันเดียวกันนั้นเจ้าอย่าทำงานใด ๆ เพราะเป็นวันทำการลบมลทิน ที่จะทำการลบมลทินของเจ้าต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า ในวันเดียวกันนั้น  จะเป็นวันสะบาโตสำหรับหยุดพักสงบแก่เจ้า และเจ้าจงถ่อมใจลง เริ่มแต่เวลาเย็นในวันที่เก้าของเดือน เจ้าต้องรักษาวันสะบาโตจากเวลาเย็นถึงเวลาเย็น”

วันลบมลทิน สำหรับผู้เชื่อในปัจจุบัน  เป็นวันสะบาโตไม่ทำงาน และเป็นวันถือศีลอดอาหาร ไม่กินไม่ดื่มอะไรตั้งแต่วันตกดินถึงวันตกดินวันใหม่ ผู้เชื่อจะมารวมกันสามัคคีธรรมฟังคำเทศนา หรืออยู่บ้านเฝ้าเดี่ยวกับพระเจ้า

เทศกาลอยู่เพลิง Tabernacles (Sukkot) หรือ The Feast of Booths เต็น

ในวงศ์วานพวกอิสราเอลให้เข้าอยู่ในเพิง  เพื่อตลอดชั่วอายุของเจ้าจะได้ทราบว่า เมื่อเราพาคนอิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์นั้นเราได้ให้เขาอยู่ในเพิง เราคือพระเจ้าของเจ้า

เลวีนิติ23:39-44  แล้วในวันที่สิบห้าของเดือนที่เจ็ดเมื่อเจ้าได้เก็บพืชผลที่ได้จากแผ่นดินนั้นเข้ามาแล้ว เจ้าจงมีเทศกาลเลี้ยงแห่งพระเยโฮวาห์เจ็ดวัน ในวันแรกจะเป็นวันสะบาโต และในวันที่แปดจะเป็นวันสะบาโต

ในพันธสัญญาใหม่พูดถึง  พระเยซูในเทศการอยู่เพิง ยอห์น 7:1-14  กิจการ 18:21

เทศกาลอยู่เพลิงหรืออยู่เต็นท์

ทุกวันนี้ผู้เชื่อที่รักษาวันสะบาโตในแต่ละปีจะรอโอกาสเข้าร่วมในเทศกาลนี้ จะมีการรวมกลุ่มใหญ่ต่างคนต่างเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายในเทศกาลนี้ จะมีรายการต่าง ๆ ในเต็นท์ใหญ่ ได้สามัคคีธรรมทำความรู้จักกับผู้เชื่อคนอื่น ๆการร้องเพลงพิเศษการแสดงของเด็ก ๆ ทุกอย่างทำเพื่อถวายเกียรติและสรรเสริญพระเจ้าเท่านั้น และฟังคำเทศนา และมีการถวายทรัพย์ สำหรับพันธกิจของพระเจ้า แต่ละคนหรือครอบครัว จะอยู่ในเต้นของตน 7 วันจะใช้เวลาร่วมกัน วันที่ 8 เป็นวันสะบาโต วันตามที่พระเจ้ากำหนด  บางที่ก็ไม่อยู่เต็นท์พวกเขาอาจ เช่ารีสอร์ท หรือโรงแรม

 เทศกาลฮานูกกาห์ Hanukkah ไม่มีในพระราชบัญญัติของพระเจ้าที่ถูกกำหนดให้รักษา

ฮานูกกาห์ Hanukkah ซึ่งหมายถึง “การอุทิศตน” เป็นเทศกาลที่ระลึกถึงการชำระให้บริสุทธิ์และการไถ่คืนพระวิหาร  ฉลองในเดือนธันวาคม เทศกาลนี้ ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในพระบัญญัติของพระเจ้าในพระคัมภีร์  เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ฮานูกกาห์  ถือว่าเป็นเทศกาลชาวยิว“ ที่สำคัญไม่น้อย” ในทุกวันนี้ก็จัดอันดับพร้อมเทศกาลปัสกาและ พูริม Purim เป็นหนึ่งในวันหยุดซึ่งเป็นที่รักของครอบครัวชาวยิวอย่างมาก

จากตำนานเมื่อ มัคคาบีส์ (Maccabees) บุกเข้ามาในพระวิหารเพื่อจะยึดคืนจากชาวกรีกพวกเขาก็จุดตะเกียงทันทีในพระวิหารเขาพบว่ามีน้ำมันแค่ขวดเดียว น้ำมันหนึ่งขวดซึ่งพอแค่วันเดียว แต่น้ำมันที่มีแค่วันเดียวนั้นสามารถจุดตะเกียงอยู่ได้นานถึงแปดวันเป็นการอัศจรรย์ ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นการอวยพรจากพระเจ้าหรือ เรียกอีกอย่างว่าเทศกาล แสงสว่าง ในยอห์น10:22-23 น่าจะเป็นเทศกาลฮานุกคาห์ ที่พระเยซูร่วมด้วย

บางที่ผู้เชื่อที่รักษาวันสะบาโต ไม่ฉลองคริสต์มาสจะฉลองเทศกาลนี้แทนก็ได้ เรียกเทศกาล “แสงสว่าง” 

สรุปตอนท้าย:

เทศกาลตามพระคัมภีร์มีดังนี้

  • วันสะบาโต ประจำสัปดาห์ทุกวันเสาร์ เลวีนิต 23:3

เทศกาลตามพระคัมภีร์เป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดพระองค์สั่งให้ทำตามไม่เฉพาะคนอิสราเอลหรือยิวเท่านั้นรวมถึงผู้เชื่อที่ถูกต่อกิ่งเข้ากับอิสราเอลแล้วด้วย ดูใน โรม11:17-18 บอกผู้ไม่ใช่ยิวว่าเป็นผู้ที่ถูกต่อกิ่งและไม่มีรากต้องอาศัยรากจากอิสราเอล ก็สมควรที่จะทำตามชนชาติอิสราเอลชนชาติของพระเจ้าว่าเขาปรนนิบัติพระเจ้าอย่างไร

การกำหนดวันปัสกาจะตรงกับวันอะไรนั้นเราจะถือตามปฏิทินยิวโดยเทียบกับวันเดือนสากล เช่น :

  • วันปัสกาปีนี้ 2020 จะเริ่มเย็นวันพุธที่ 8 เมษายนและสิ้นสุดในวันพฤหัส ที่ 16 เมษายน

ต้องทำอะไรบ้าง:  ที่บ้านกินขนมปังไร้เชื้อ( ทำเองก็ได้ เหมือนโรตี) คือไม่มีขนมปังที่ผสมเชื้อยีสต์เลยในบ้านตลอด 7 วัน และวันขนมปังไร้เชื้อวันแรก ถือเป็นวันสะบาโตใหญ่ ไม่ทำงานแต่มาชุมกันกับผู้เชื่อคนอื่น ๆ  ทานอาหารร่วมกันต่างคนต่างนำมาเอง และมีรายการระลึกถึงพระเจ้าระลึกถึงพระเยซูผู้เป็นแกะวันปัสกาให้เรา มีการหักขนมปังไร้เชื้อและดื่มไวน์ด้วย ร่วมสามัคคีธรรมฟังคำเทศนาแบ่งปันคำพยาน ขอบคุณพระเจ้า

  • วันเพนตาคอสท์ Weeks (Pentecostกรีก /Shavuot ฮิบรู) เริ่มนับจากวันปัสกาจะเป็น 50 วันเป็นวันวันเพนตาคอสท์ สำหรับในปี 2020 ตรงกับ วันศุกร์ 29 พฤษภาคม ถือ หนึ่งวัน

วันเพนตาคอสท์ เป็นวันสะบาโตพิเศษ ผู้เชื่อสามัคคีธรรมทานอาหารร่วมกันในที่ประชมฟังเทศนา และมีการถวายทรัพย์ สำหรับพระราชกิจของพระเจ้า ถ้าไม่มีใครที่เราจะร่วมด้วยก็ถือคนเดียว ไม่ทำอะไรเป็นวันหยุดพักใช้เวลากับการศึกษาพระคัมภีร์ 5 เล่มแรกและศึกษาในพะรคัมภีร์ใหม่ในหนังสือกิจการ

  • เทศกาลเป่าแตร Trumpets (Rose Hashanah) ปี 2020 ตรงกับวันที่ 19 กันยายน

วันสะบาโตใหญ่ ผู้เชื่อจะมาประชุมกันเป็นงานกินเลี้ยงฉลองและสามัคคีธรรมกับผู้เชื่อคนอื่น ๆ  นำอาหารมาร่วมกัน เป็นงานปาร์ตี้เพื่อระลึกถึงพระเจ้า และฟังคำเทศนาจากผู้รับใช้รวมถึง การกลับมาของพระเยซูคริสต์!การถวายเงินให้กับพระเจ้าเพื่อพันธกิจต่าง ๆ  และถวายเพื่อช่วยเหลือคนยากจน

  • วันลบมลทิน Day of Atonement (Yom Kippur)

สำหรับปีนี้ 2020 เป็น วันจันทร์ที่ 28  กันยายน เป็นวันสาระภาพบาปของเรากับพระเจ้า

ไม่ทำงานวันถือศีลอดอาหารประจำปีไม่กินไม่ดื่ม เริ่มเย็นวันที่ 27 สิ้นสุด เย็นวันที่ 28 กันยายน ร่วมประชุมและฟังคำเทศนา ถ้าไม่มีใครร่วมด้วยถือเองที่บ้าน ใช้เวลากับพระเจ้าลำพัง

เทศกาลอยู่เพลิง Tabernacles (Sukkot)

เทศกาลอยู่เพลิงหรืออยู่เต็นท์ ปีนี้ 2020  วันที่ 3 -9 ตุลาคม วันที่ 10 เป็นวันสะบาโต                                                                  

โดยจะเริ่มจากเย็นวันที่ 2 ตุลาและสิ้นสุดเย็นวันที่ 9 ตุลาคม สถานที่แล้วแต่โบสถ์เลือกว่าจะเอาที่ไหนอย่างไร บางครอบครัวที่อยู่ห่างไกลกลุ่มใหญ่ ก็จะถือเทศกาลนี้โดยการกางเต็นท์หลังบ้านจัดงานกินเลี้ยงช่วยกันทำอาหารในครอบครัวหรืออาจเชิญเพื่อน ๆ อ่านพระคัมภีร์ด้วยกัน มีการเล่นเกมส์เรื่องในพระคัมภีร์หรือทำงานศิลปะร่วมกันเพื่อระลึกถึงพระเจ้า และอื่น ๆ ทำทุกอย่างที่เราทำได้เพื่อแสดงความจริงใจยึดถือตามคำสั่งของพระเจ้า เพื่อเราเราจะรับการอวยพรหากเชื่อฟังและทำตามพระบัญญัติของพระเจ้า เลวีนิติ 26:2-13 และเราจะรับโทษหากไม่เชื่อฟังและไม่ทำตามพระบัญญัติของพระเจ้า เลวีนิติ 26:14-33 เราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำตาม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเราด้วย เพราะบางที่เราอาจไม่สะดวกแต่เราก็ยังสามารถระลึกถึงเทศกาลนี้ได้ เพราะเป็นเทศกาลที่พระเจ้ากำหนด

“ และเพราะนี่แหละเป็นความรักต่อพระเจ้า คือที่เราทั้งหลายประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ และพระบัญญัติของพระองค์นั้นไม่เป็นที่หนักใจ” (1ยอห์น 5:3)

 

การอ่านพระคัมภีร์ในบริบทให้เหมาะสม

30 มี.ค. 20
Sunete
No Comments

ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทนำของเว็บไซต์เมื่อเรานำข้อความออกจากบริบทเราจะเหลือแค่กลลวง ( context-text = con) การอ่านพระคัมภีร์ในบริบทให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยให้เราสามารถเข้าใจสิ่งที่พระคัมภีร์พยายามสอนเรา

สิ่งสำคัญประการแรกเพื่อทำความเข้าใจให้ถูกต้องโดยการอ่านทุกข้อโดยรอบ นั่นคือการอ่านข้อก่อนหน้านั้นและอ่านข้อหลังจากนั้นพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนพยายามสื่อสาร จำเป็นก็ต้องอ่านทั้งหมดเป็นตอนๆ ในเนื้อหานั้น ๆ เพื่อได้ความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้คือฮิบรูบทที่ 4 เพื่อให้เข้าใจฮีบรู 4 คุณต้องอ่านฮีบรูบทที่ 3 ก่อน

เมื่อคุณอ่านจดหมาย เช่น จดหมายถึง โรม หรือ กาลาเทีย ไม่เพียงแค่เข้าใจ วรรค ตอน ที่คุณอ่านเท่านั้น คุณต้องอ่านข้อความทั้งหมดเพื่อเข้าใจในเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของจดหมายนั้นคืออะไร และโดยการวิจัยก็สามารถเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจเหตุผลและกลุ่มเป้าหมายของจดหมาย สิ่งนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจบริบทได้ถูกต้อง

ตัวอย่าง:

โคลิสี 2:16  เหตุฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านในเรื่องการกินการดื่ม ในเรื่องการถือเทศกาล วันต้นเดือน หรือวันสะบาโต

พระคัมภีร์ข้อนี้บ่อยมากที่ถูกตีความว่า เราไม่จำเป็นต้องรักษาเทศกาลงานเลี้ยง หรือวันสะบาโตอีกต่อไป แต่เมื่อคุณดูบริบททั้งหมดคุณจะเห็นว่ามันไม่ใช่กรณีนั้น

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าทำไมเปาโลถึงเขียนถึงชาวโคโลสี เปาโลเขียนจดหมายฉบับนี้ในระหว่างที่เขาถูกจำคุกครั้งแรกในกรุงโรม ส่งจดหมายไปยังโบสถ์โคโลสีหลังจากที่เขาได้รับรายงานว่าโบสถ์ที่โคโลสี กำลังถูกบรรดาครูสอนเท็จเข้า แซก แซง เพื่อสร้างความแน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจในพระกิตติคุณอย่างแท้จริง ดีกว่าที่จะเข้าใจผิดโดยครูหรืออาจารย์ผู้สอนที่เท็จ (โคโลสี 1:25; 2: 1–2)

ดังนั้นประเด็นสำคัญที่นี่คือการแนะนำคำสอนผิด เมื่อเราอ่านข้อก่อน โคโลสี 2:16 และหลังจากนั้นเราจะได้ภาพรวมที่ดีขึ้นของบริบทของข้อนั้น โดยการอ่านโดยรอบ

โคโลสี 2:8 จงระวังให้ดี เกรงว่าจะมีผู้ใดทำให้ท่านตกเป็นเหยื่อด้วยหลักปรัชญาและด้วยคำล่อลวงอันไม่มีสาระ ตามธรรมเนียมของมนุษย์ ตามหลักการต่างๆที่เป็นของโลก ไม่ใช่ตามพระคริสต์

โคลิสี 2:16  เหตุฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านในเรื่องการกินการดื่ม ในเรื่องการถือเทศกาล วันต้นเดือน หรือวันสะบาโต

โคโลสี 2:20-23 ถ้าท่านตายกับพระคริสต์พ้นจากหลักการต่าง ๆ ที่เป็นของโลกแล้ว เหตุไฉนท่านจึงมีชีวิตอยู่เหมือนกับว่าท่านยังอยู่ฝ่ายโลก ยอมอยู่ใต้กฎต่าง ๆ (เช่น “อย่าแตะต้อง” “อย่าชิม” “อย่าเอามือหยิบ” ซึ่งทั้งหมดจะพินาศเมื่อทำดังนั้น) อันเป็นหลักธรรมและคำสอนของมนุษย์ จริงอยู่สิ่งเหล่านี้ดูท่าทีมีปัญญา คือการเต็มใจนมัสการ การถ่อมตัวลง และการทรมานกาย แต่ไม่มีประโยชน์อะไรในการต่อสู้กับความต้องการของเนื้อหนัง

ข้อความพาดหัวข้อใน NIVให้คำสรุปที่ดีในหัวข้อนี้:

เป็นอิสรภาพจากกฎเกณฑ์ของมนุษย์ตลอดชีวิตกับพระคริสต์

หัวข้อทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวกับบัญญัติของมนุษย์และข้อบังคับที่ไม่เกี่ยวกับบัญญัติของพระเจ้า! ดังนั้นจึงไม่ได้พูดถึงว่า:  อย่าให้ใครตัดสินคุณเมื่อคุณ ไม่รักษา”งานเลี้ยงฉลองหรือวันสะบาโตซึ่งจะขัดต่อพระบัญญัติของพระเจ้า โดยแทนการพูดถึงวิธีทำหรือไม่ทำเช่น อย่าแตะต้อง” “อย่าชิม” “อย่าเอามือหยิบ” กฎที่ครูเท็จแนะนำให้รู้จัก นี่เป็นตัวอย่างที่ดีในการนำข้อความออกไปจากบริบททำให้คุณเหลือ แค่กลลวง

สิ่งนี้ให้ประเด็นสำคัญอันดับแรก:

ประเด็นที่ 1: อย่าอ่านข้อเดียวตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจหัวข้อทั้งหมดที่ผู้เขียนเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร การอ่านข้อก่อนและหลังและในบางกรณี อ่านส่วนสุดท้ายของบทก่อนหน้านี้หรือเริ่มต้นของบทถัดไป เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับเนื้อหาที่ถูกต้อง

และเมื่อคุณอ่านข้อพระคัมภีร์ข้อนี้ต้องตรวจสอบคำแปลอื่น ๆ ด้วยโดยทั่วไปผมใช้ เอ็นไอวี NIV เพราะง่ายต่อการอ่าน แต่เมื่อศึกษาหัวข้อผมจะอ่านฉบับคิงเจมส์ (KJV) และการแปลของ ยัง ลิเทอเรล (YLT)

เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีเผื่อคุณอาจพลาด:

กิจการ 18: 20-21 (NIV) เมื่อคนเหล่านั้นขอให้ท่านอยู่กับเขาต่อไป ท่านก็ไม่ยอม แต่ได้ลาเขาไปกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะกลับมาอีกถ้าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า”แล้วเปาโลได้ลงเรือแล่นออกจากเมืองเอเฟซัส

กิจการ 18:20-21 (KJV) เมื่อคนเหล่านั้นขอให้ท่านอยู่กับเขาต่อไป ท่านก็ไม่ยอม แต่ได้ลาเขาไปกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะพยายามรักษาเทศกาลเลี้ยงที่จะถึงในกรุงเยรูซาเล็มโดยทุกวิถีทาง แต่ถ้าเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้า ข้าพเจ้าจะกลับมาหาท่านทั้งหลายอีก” แล้วเปาโลได้ลงเรือแล่นออกจากเมืองเอเฟซัส

เหตุผลในการปฏิเสธของเขาคือให้ไว้ในฉบับ KJV และใน YLT แต่ไม่มีในฉบับ NIV และ ESV ในการแปล

นอกจากการใช้การแปลมากกว่าหนึ่ง คุณอาจต้องการค้นหาความหมายของต้นตอของคำสำคัญเฉพาะในข้อ ในกรณีของพันธสัญญาใหม่จะดีที่จะเข้าใจคำภาษากรีกที่ใช้และสำหรับพันธสัญญาเดิมจะเป็นการดีที่จะตรวจสอบภาษาฮิบรู

ตัวอย่างที่ดีน่าจะเป็น โรม10:4

โรม10:4  เพราะว่าพระคริสต์ทรงเป็นจุดจบของพระราชบัญญัติ เพื่อให้ทุกคนที่มีความเชื่อได้รับความชอบธรรม

คุณคงไม่เข้าใจชัดเจนไปกว่านี้ที่ว่า  ‘พระคริสต์คือจุดจบของพระราชบัญญัติ’ ก็จบคดีเลย! หรือมันคืออะไร? ให้ดูที่ความหมายรากของคำว่า ‘สิ้นสุด’ คำในภาษากรีกที่ใช้สำหรับการสิ้นสุดคือ telos (τέλος):

telos (จากกรีก ςος สำหรับ “สิ้นสุด”, “จุดประสงค์” หรือ “เป้าหมาย”) คือจุดสิ้นสุดหรือจุดประสงค์ในความหมายที่ค่อนข้าง จำกัด ที่ใช้โดยนักปรัชญาเช่นอริสโตเติล มันเป็นรากเหง้าของคำว่า “teleology” การศึกษาเกี่ยวกับจุดประสงค์อย่างคร่าว ๆ หรือการศึกษาวัตถุที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป้าหมายหรือความตั้งใจ
สิ่งนี้แสดงให้เห็นในวิธีที่เราสามารถพูดได้ว่า เป้าหมาย(telos) ของสงครามคือเพื่อชัยชนะหรือเป้าหมาย(telos)ของ ธุรกิจคือสร้างความมั่งคั่งร่ำรวย

ดังนั้นพระคริสต์จึงเป็นเป้าหมาย (วัตถุประสงค์ความตั้งใจหรือเป้าหมายสุดท้าย) ของพระบัญญัติ ที่วาดภาพข้อในมุมมองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เป้าหมาย(telos)ของพระบัญญัติคือพระคริสต์!

อีกตัวอย่างที่ดีใน ฮิบรู 7:12

ฮิบรู 7:12  เพราะเมื่อตำแหน่งปุโรหิตเปลี่ยนแปลงไปแล้ว พระราชบัญญัติก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย

เมื่อเราอ่านข้อนี้ด้วยตัวของมันเองมันดูชัดเจนมากพระบัญญัติเปลี่ยนแปลงและสามารถนำมาใช้เป็นข้อโต้แย้งได้อย่างง่ายดาย เมื่อผมอ่านครั้งแรกการตอบสนองของผมคือมัน เปลี่ยนแปลงจริง นอกจากนั้นผมยังสนใจที่จะค้นหาคำภาษากรีกดั้งเดิมที่ใช้ในข้อนี้เพราะคำว่า ‘เปลี่ยนแปลง’ สามารถมีความหมายต่างกัน 2 แบบและสามารถอธิบายได้อย่างง่ายดายด้วยการใช้เรื่องของเงินเป็นตัวอย่าง:

  1. เมื่อผมมี 1,000 ดอลลาร์สหรัฐและเดินทางไปยุโรปผมต้องเปลี่ยนเป็นเงินยูโรเพื่อให้สามารถซื้อของได้ นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงของเงินเองจากประเภทหนึ่งไปอีกประเภทหนึ่ง
  2. เมื่อผมมี 1,000 ดอลลาร์สหรัฐและผมให้เงินนี้กับเพื่อนดังนั้นเงินในตัวเองจะไม่เปลี่ยนแปลงมันแค่เปลี่ยนมือหรือเปลี่ยนเจ้าของผู้ถือเงิน

แล้วอันไหนที่ใช้ใน ฮิบรู 7:12 เมื่อเราตรวจสอบคำภาษากรีกดั้งเดิมที่ใช้เราจะได้รับ:

μετατίθημι | metatithēmi | เมท-ทา–ทิธ-เอย์-มี
จาก G3326 และ G5087 ในการถ่ายโอนนั่นคือ (อย่างแท้จริง) การเคลื่อนย้าย   (โดยปริยาย) การแลกเปลี่ยน  (สะท้อน) การเปลี่ยนด้าน หรือ (เปรียบเปรย) บิดเบือน: – พกพา เปลี่ยน เอาออก แปล หมุน

ดังนั้นในกรณีนี้หมายถึงการถ่ายโอนเปลี่ยนด้านหรือดำเนินการมากกว่า สิ่งที่ข้อพระคัมภีร์นี้พูดถึง คือเมื่อเราเปลี่ยนจากฐานะปุโรหิตทางโลก (คำสั่งของอาโรน) ไปสู่ฐานะปุโรหิตแห่งสวรรค์ (คำสั่งของเมลคีเซเดค) ข้อกำหนดของพระบัญญัติก็ถูกโอนเช่นกัน ดังนั้นพระเยซูไม่ได้เป็นฐานะปุโรหิตตามกฏของโลกซึ่งต้องเป็นปุโรหิตเป็นผู้ถือครองต่อจากอาโรน (เลวี) แต่พระองค์เป็นฐานะปุโรหิตตามกฎแห่งสวรรค์ซึ่งขึ้นอยู่กับคำสั่งของเมลคีเซเดค

สิ่งนี้นำเราไปสู่ประเด็นที่ 2

ประเด็นที่ 2: ใช้การแปลที่ต่างกัน ต้องไม่อ่านแค่แปลครั้งเดียวพอ ต้องตรวจสอบคำสำคัญสำหรับความหมายของรากศัพท์ในภาษาเดิมเหล่านั้นด้วย หรือพยายามที่จะหาวิธีที่จะรู้บางที่อาจเป็นช่วงที่ใช้ในคริสตจักรศตวรรษที่แรก

เป็นเรื่องง่ายมากที่จะเลือกตัวเลขในข้อพระคัมภีร์ เป็นพื้นฐานในคำเทศนาหรือแม้กระทั่งหลักคำสอนในข้อเหล่านั้น แต่สิ่งที่เราเชื่อ การพูดนั้นต้องสอดคล้องกับข้อพระคัมภีร์ข้ออื่น ๆ ด้วย รวมถึงพันธสัญญาเดิมดังที่เปาโลกล่าวกับทิโมธีใน 2 ทิโมธี 3; 16-17 :

2 Ti 3:16-17 All Scripture is breathed out by God and profitable for teaching, for reproof, for correction, and for training in righteousness, that the man of God may be competent, equipped for every good work.

2 ทิโมธี 3; 16-17  พระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในเรื่องความชอบธรรม เพื่อคนของพระเจ้าจะดีรอบคอบ พรักพร้อมที่จะกระทำการดีทุกอย่าง

โปรดจำไว้ว่าเมื่อสาวกเขียนอะไรบางอย่างคนอื่น ๆ จะทดสอบสิ่งที่พวกเขาเขียน ถึงในพระคัมภีร์ที่พวกเขาสามารถเข้าถึงได้ในเวลานั้น พระคัมภีร์เป็นสิ่งที่เรารู้ว่าเป็นพันธสัญญาเดิมหรือรู้ว่าในเวลานั้นเป็น ทานัคห์ TaNaKh ซึ่งมี 3 ส่วน:

  1. ทราห์ (‘การสอน’ หรือที่รู้จักในชื่อหนังสือห้าเล่มของโมเสส)
  2. Nevi’im (ศาสดาพยากรณ์  โยชูวา ซามูเอล อิสยาห์ … )
  3. และ Ketuvim ( การเขียน / พระคัมภีร์’ สดุดี โยบ  พงศาวดาร … )

ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้พบได้ในกิจการ 17:11 เราพบว่าลูกา ยกย่องชมเชย ชาวซีเรียที่ทดสอบทุกสิ่งที่เปาโลกล่าวถึงในพระคัมภีร์โดย ตรวจดู ข้อความเหล่านั้นเป็นจริงตามที่พระคัมภีร์เขียนหรือไม่ :

กิจการ 17:10-12 พอค่ำลงพวกพี่น้องจึงส่งเปาโลกับสิลาสไปยังเมืองเบโรอา ครั้นถึงแล้วท่านจึงเข้าไปในธรรมศาลาของพวกยิว
ชาวเมืองนั้นสุภาพกว่าชาวเมืองเธสะโลนิกา ด้วยเขาได้รับพระวจนะด้วยความเต็มใจ และค้นดูพระคัมภีร์ทุกวัน หวังจะรู้ว่า ข้อความเหล่านั้นจะจริงดังกล่าวหรือไม่ เหตุฉะนั้น มีหลายคน(ชาวยิว)ในพวกเขาได้เชื่อถือ กับสตรีผู้มีศักดิ์ชาติกรีก ทั้งผู้ชายไม่น้อย

มันสำคัญมากที่จะหยุดตรวจสอบและทำความเข้าใจในความสำคัญของสิ่งนี้! พวกเขาทดสอบทุกสิ่งที่เปาโลกล่าวถึงในพันธสัญญาเดิม ( ทานัคห์ TaNaKh) เพื่อดูว่าสิ่งที่เปาโลกล่าวนั้นสอดคล้องกับสิ่งที่พระคัมภีร์เดิมกล่าวไว้หรือไม่ เราพบด้วยว่ามีชาวยิวหลายคนเชื่อ ซึ่งเราสามารถสรุปได้ว่าสิ่งที่กล่าวถึงนั้นสอดคล้องกับข้อพระคัมภีร์!

เปาโลเป็นพยานถึงสิ่งนี้ในการทดลองของเขาเมื่อเราอ่านในกิจการ 26:

กิจการ 26:22 เป็นเพราะพระเจ้าได้ทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ ข้าพระองค์จึงมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้และเป็นพยานได้ต่อหน้าผู้น้อยผู้ใหญ่ ข้าพระองค์ไม่พูดเรื่องอื่นนอกจากเรื่องซึ่งบรรดาศาสดาพยากรณ์กับโมเสสได้กล่าวไว้ว่าจะมีขึ้น…. ว่าพระคริสต์จะต้องทนทุกข์ทรมานและในฐานะที่เป็นคนแรกที่จะฟื้นขึ้นมาจากความตายจะประกาศความสว่างให้กับคนของพระองค์และคนต่างชาติ

ดังนั้นสิ่งนี้ให้เรามี 3 ประเด็นสำคัญสำหรับการอ่านพระคัมภีร์ในบริบทที่เหมาะสม:

ประเด็นที่ 3: การทดสอบของชาวเบโรอา สิ่งที่เราเชื่อคือว่าข้อความบางตอนที่ถูกกล่าวถึง ต้องตรงกับในพระคัมภีร์จริง (รวมถึงพันธสัญญาเดิม)! ถ้ามันไม่ตรงกับส่วนอื่นในพระคัมภีร์แล้วความเข้าใจของเราในสิ่งที่เราอ่านก็ไม่ถูกต้องและเราต้องศึกษาพระคัมภีร์ในลักษณะเดียวกับที่ชาว เบโรอาทำเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้อง

ประเด็นที่ 4: มีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับประเด็นที่ 3 พระเจ้าให้เราในพระคัมภีร์เพื่อทดสอบ กับผู้เผยพระวจนะหรืออาจารย์แม้ว่าบุคคลนั้นจะทำการอัศจรรย์ หรือทำงานรับใช้เกิดผลมากมายก็ตาม เราต้องทดสอบในพระคัมภร์ เพื่อดูว่าบุคคลนั้นมาจากพระเจ้าหรือ เป็นผู้พยากรณ์เท็จทั้ง ครู อาจารย์ นอกจากการทดสอบบุคคลเหล่านั้นว่า เขา หรือเธอ มาจากพระเจ้าเราสามารถใช้แบบทดสอบนี้เพื่อตรวจสอบว่าความเข้าใจของเราเกี่ยวกับสิ่งที่เราอ่านนั้นถูกต้องหรือไม่ เราสามารถค้นหาการทดสอบนี้ได้ในเฉลยธรรมบัญญัติ 13 ผมใช้ ประเด็นที่ 1 ที่นี่โดยการรวมข้อสุดท้ายของบทก่อนหน้าเพื่อให้ได้บริบทที่เหมาะสมสำหรับบทนี้:

ฉธบ 12:32ุ “ทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าบัญชาท่านไว้นั้น จงระวังที่จะกระทำตาม ท่านอย่าเพิ่มอะไรเข้าหรือตัดอะไรออกไปจากสิ่งเหล่านั้น”

ฉธบ 13:1-5″ถ้าในหมู่พวกท่านเกิดมีผู้พยากรณ์หรือผู้ฝันเห็นเหตุการณ์ขึ้น และสำแดงหมายสำคัญหรือการมหัศจรรย์แก่ท่าน
Deu 13:2 และหมายสำคัญหรือการมหัศจรรย์ซึ่งเขาบอกท่านนั้นสำเร็จจริง ถ้าเขากล่าวว่า `ให้เราติดตามพระอื่นกันเถิด’ ซึ่งเป็นพระที่ท่านไม่รู้จัก`และให้เรามาปรนนิบัติพระนั้น’ ท่านอย่าเชื่อฟังคำของผู้พยากรณ์หรือผู้ฝันเห็นเหตุการณ์คนนั้น เพราะพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านลองใจท่านดู เพื่อให้ทรงทราบว่า ท่านทั้งหลายรักพระเจ้าของท่านด้วยสุดจิตสุดใจของท่านหรือไม่ ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน และยำเกรงพระองค์ และรักษาพระบัญญัติของพระองค์ และเชื่อฟังพระสุรเสียงของพระองค์ และท่านจงปรนนิบัติพระองค์ และติดสนิทอยู่กับพระองค์ แต่ผู้พยากรณ์หรือผู้ฝันเห็นเหตุการณ์คนนั้นต้องมีโทษถึงตาย เพราะว่าเขาได้สั่งสอนให้กบฏต่อพระเจ้าของท่าน ผู้ทรงนำท่านออกจากแผ่นดินอียิปต์ และทรงไถ่ท่านออกจากเรือนทาส เขากระทำให้ท่านทิ้งหนทางซึ่งพระเจ้าของท่านบัญชาให้ท่านดำเนินตามเสีย ดังนั้นแหละท่านจะต้องล้างความชั่วเช่นนี้จากท่ามกลางท่าน

ดังนั้นการทดสอบคือการดูว่าบุคคลนั้นกำลังนำคุณออกจากบัญญัติของพระเจ้าและต่อต้านการเชื่อฟังเสียงของพระองค์และทำตามศาสนาอื่น! ข้อสุดท้ายในบทก่อนนี้ได้บอกทั้งหมด:

ฉธบ12:32  “ทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าบัญชาท่านไว้นั้น จงระวังที่จะกระทำตาม ท่านอย่าเพิ่มอะไรเข้าหรือตัดอะไรออกไปจากสิ่งเหล่านั้น”

เราพบอีกที่คล้ายกันใน ฉธบ 4:2 :

ฉธบ 4:2 ท่านทั้งหลายอย่าเสริมเติมคำที่ข้าพเจ้าได้บัญชาท่านไว้และอย่าตัดออก เพื่อท่านทั้งหลายจะรักษาพระบัญญัติของพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ซึ่งข้าพเจ้าได้บัญชาท่าน

นี้ให้เราประเด็นที่ 4:

ประเด็นที่ 4 – เฉลยธรรมบัญญัติ 13 ทดสอบ : ทดสอบสิ่งที่คุณอ่านกับเฉลยธรรมบัญญัติ 13 หากคุณเชื่อว่าเป็นการสอนต่อต้านการรักษาพระบัญญัติของพระเจ้าหรือเพิ่มเข้ามาความเข้าใจในสิ่งที่คุณอ่านนั้นไม่ถูกต้อง เราได้รับคำสั่งอย่างชัดเจนว่าไม่ให้เพิ่มหรือลบออกจากพระบัญญัติ (ฉธบ 12:32 และ ฉธบ 4: 2)

อีกข้อสำคัญในพระคัมภีร์ที่ให้ทดสอบทุกอย่างคือ อาโมส 3.7:

แท้จริงองค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าจะมิได้ทรงกระทำอะไรเลย โดยมิได้เปิดเผยความลึกลับให้แก่ผู้รับใช้ของพระองค์ คือผู้พยากรณ์  (อาโมส 3: 7)

เราเห็นตัวอย่างที่ดีมากในกิจการ 15: 13-18

ครั้นจบแล้วและนิ่งอยู่ ยากอบจึงกล่าวว่า “ท่านพี่น้องทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้า
ซีโมนได้บอกแล้วว่า พระเจ้าได้ทรงเยี่ยมเยียนคนต่างชาติครั้งแรก เพื่อจะทรงเลือกชนกลุ่มหนึ่งออกจากเขาทั้งหลายเพื่อพระนามของพระองค์  คำของศาสดาพยากรณ์ก็สอดคล้องกับเรื่องนี้ ดังที่ได้เขียนไว้แล้วว่า ภายหลังเราจะกลับมา และจะสร้างพลับพลาของดาวิดซึ่งพังลงแล้วขึ้นใหม่ ที่ร้างหักพังนั้นเราจะก่อขึ้นอีก และจะตั้งขึ้นใหม่ เพื่อคนอื่นๆจะได้แสวงหาองค์พระผู้เป็นเจ้า คือบรรดาคนต่างชาติซึ่งเขาเรียกด้วยนามของเรา องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกระทำสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ได้ตรัสไว้ พระเจ้าทรงทราบถึงกิจการทั้งปวงของพระองค์ตั้งแต่แรกสร้างโลกมาแล้ว’ (กิจการ 15: 13-18)

เราเห็นว่ายากอบที่บอกว่าคำของศาสดาพยากรณ์ก็ตรงกับสิ่งที่เปโตรพูดดังนั้นจึงเชื่อว่าสิ่งนี้สอดคล้องกับพระคัมภีร์

เมื่อคุณเชื่อว่าพระเจ้าเปิดเผยสิ่งใหม่สำหรับคุณและมันขัดแย้งกับข้อพระคัมภีร์อื่น ๆ (ประเด็น 3) หรือไม่ใช่คำของศาสดาพยากรณ์ที่พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าสิ่งที่คุณเชื่อว่าพระเจ้าเปิดเผยกับคุณไม่ได้มาจากพระเจ้า! ลัทธิใหม่จำนวนมากถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของการเปิดเผยเหล่านี้เรียก การเปิดเผยไม่มีรากฐานในพระวจนะของพระเจ้า

ทดสอบทุกอย่างกับพระวจนะของพระเจ้า (ประเด็นที่ 3):

อย่าดับพระวิญญาณ  อย่าประมาทคำพยากรณ์  จงพิสูจน์ทุกสิ่ง สิ่งที่ดีนั้นจงยึดถือไว้ให้มั่น (1 เธสะโลนิกา 5:19-21)

นี้นำเราถึงประเด็นสุดท้าย:

ประเด็นที่ 5 – อาโมส 3:7 ทดสอบ: อะไรก็ตามที่ได้รับกระตุ้นเพื่อเปิดเผยใหม่จากพระเจ้า จะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่พระเจ้าได้เปิดเผยผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ในพระคัมภีร์

บทสรุปประเด็นสำคัญ

  • ประเด็นที่ 1: อย่าอ่านข้อเดียวตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจหัวข้อทั้งหมดที่ผู้เขียนเขียนเกี่ยวกับอะไร การอ่านข้อก่อนและหลังและในบางกรณีอ่านส่วนสุดท้ายของบทก่อนหน้านั้นหรือจุดเริ่มต้นของบทถัดไป เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับบริบทที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการอ่านจดหมาย ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจวัตถุประสงค์ของจดหมายและกลุ่มเป้าหมายคือใคร
  • ประเด็นที่ 2: ใช้การแปลที่ต่างกัน ต้องไม่อ่านแค่แปลครั้งเดียวพอ ต้องตรวจสอบคำสำคัญสำหรับความหมายของรากศัพท์ในภาษาเดิมเหล่านั้นด้วย หรือพยายามที่จะหาวิธีที่จะรู้บางที่อาจเป็นช่วงที่ใช้ในคริสตจักรศตวรรษที่แรก
  • ประเด็นที่ 3 – ชาวเมืองเบโรอา ทดสอบ: สิ่งที่เราเชื่อคือว่าข้อความบางตอนที่ถูกกล่าวถึง ต้องตรงกับในพระคัมภีร์จริง  ถ้ามันไม่ตรงกับส่วนอื่นในพระคัมภีร์แล้วความเข้าใจของเราในสิ่งที่เราอ่านก็ไม่ถูกต้องและเราต้องศึกษาพระคัมภีร์ในลักษณะเดียวกับที่ชาว เบโรอาทำเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้อง
  • ประเด็นที่ 4 – เฉลยธรรมบัญญัติ 13 ทดสอบ: ตรวจสอบสิ่งที่คุณอ่านใน เฉลยธรรมบัญญัติ 13 หากคุณเชื่อว่าเป็นการสอนต่อต้านการรักษาพระบัญญัติของพระเจ้าความเข้าใจของคุณเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอ่านนั้นไม่ถูกต้อง เราได้รับคำสั่งอย่างชัดเจนว่าไม่ให้เพิ่มหรือลบออกจากพระบัญญัติ (ฉธบ 12:32 และ ฉธํบ 4: 2)
  • ประเด็นที่ 5 – อาโมส 3 ทดสอบ: อะไรก็ตามที่ได้รับกระตุ้นเพื่อเปิดเผยใหม่จากพระเจ้า จะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่พระเจ้าได้เปิดเผยผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ในพระคัมภีร์

ผลสรุป:

การพยายามทำความเข้าใจในบริบทที่ถูกต้องนั้นเหมือนกับการวาดเส้นในทิศทางที่ถูกต้อง มันเป็นไปไม่ได้ที่จะลากเส้นได้ถูกทิศทางโดยเริ่มจากเพียงจุดเดียว เช่นเดียวกับการพยายามเข้าใจหัวข้อในพระคัมภีร์เพียงข้อเดียวหรือหลักคำสอนพระคัมภีร์ที่ใช้ข้อพระคัมภีร์เพียงข้อเดียว ดังนั้นเพื่อให้สามารถวาดเส้นในทิศทางที่ถูกต้องเราต้องมีจุดตรวจสอบอย่างน้อยสองจุดขึ้นไป ยิ่งผ่านการตรวจสอบมาก เราก็ยิ่งได้ความแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะช่วยให้เราสามารถระบุสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้  เพราะจะไม่ได้ใกล้เคียงกับเส้นที่กำหนดไว้โดยจุดอื่น ๆ ที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว เพราะมันคล้ายกันมากเมื่อเราอ่านข้อในพระคัมภีร์

ตรวจสอบว่าสิ่งที่คุณเชื่อนั้นสอดคล้องกับพระวจนะของพระเจ้า (ทั้งภาคพันธสัญญาเก่าและพันธสัญญาใหม่) โดยใช้หัวข้อสำคัญง่าย ๆ 5 นี้

ขอพระเจ้าอวยพรคุณและอย่าลืมทดสอบทุกสิ่ง!