พระเยซูจึงเสด็จเข้ามาใกล้ แล้วตรัสกับเขาว่า “ฤทธานุภาพทั้งสิ้นในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดี ทรงมอบไว้แก่เราแล้ว เหตุฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกท่านไว้ ดูเถิด เราจะอยู่กับท่านทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นโลก เอเมน” (มัทธิว 28: 18-20)
พระเยซูเป็นอาจารย์ของเรา
เมื่อเราเป็นสาวกของพระเยซูโดยทั่วไปแล้วเรายอมรับว่าพระเยซูเป็นพระอาจารย์และเป็นครูของเรา ดังนั้นเป้าหมายของเราคือต้องพยายามที่จะเป็นเหมือนพระองค์และทำสิ่งที่พระองค์ทำ เมื่อดูในพจนานุกรมพูดเกี่ยวกับอาจารย์ พบคำจำกัดความที่น่าสนใจ 2 ข้อ
ในพจนานุกรมของ แมร์เรียม เว็บสเตอร์ เราจะพบว่าคำว่า อาจารย์ เป็นคำจำกัดความของบุคคล:
- เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่ยอดเยี่ยมในอดีต (ในด้านวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ) ผู้ที่มีผลงานเป็นแบบอย่างหรืออุดมคติและได้รับการเคารพนับถือ
และที่เกี่ยวกับวัตถุ (เช่น ซีดี ดีวีดี วีดีโอ):
- เป็นต้นฉบับที่สามารถทำสำเนาโดยเฉพาะ: เป็นแม่แบบของต้นฉบับ
ในการเป็นสาวกของพระเยซูในฐานะที่เป็นอาจารย์ของเรา เราต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะเป็นเหมือนพระองค์และทำตามที่พระองค์ทำ
อย่างไรก็ตามในคริสต์ศาสนาดูเหมือนว่าพระเยซูจะต้องรักษาพระราชบัญญัติเพื่อการบรรลุเป้าหมาย แต่เราไม่จำเป็นที่ต้องทำอะไร และเรายังสามารถใช้ชีวิตที่แตกต่างจากการดำเนินชีวิตของพระเยซูได้ เราคิดว่าไม่ต้องเชื่อฟังพระราชบัญญัติของโมเสสอีกต่อไปเพราะพระเยซูทรงปฏิบัติตามพระราชบัญญัติของโมเสสแทนเราแล้ว เราเชื่อว่าเรามีพระบัญญัติใหม่ที่พระเยซูประทานให้เราคือให้เรารักซึ่งกันและกัน เราเชื่อว่าเป็นการดีที่เราจะให้เกียรติบิดามารดาของเราและแน่นอนว่าเราไม่ควรฆ่าคนหรือขโมย แต่เราได้ใช้ชีวิตประจำวันตามแบบที่พระเยซูได้ดำเนินชีวิตอยู่หรือไม่?
ไม่ใช่เป็นหนึ่งในพระมหาบัญชาของพระเยซูหรือ ที่จะให้เราทำตามแบบของพระองค์?
ท่านทั้งหลายเรียกเราว่า พระอาจารย์และองค์พระผู้เป็นเจ้า ท่านเรียกถูกแล้ว เพราะเราเป็นเช่นนั้น ฉะนั้นถ้าเราผู้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระอาจารย์ของท่าน ได้ล้างเท้าของพวกท่าน พวกท่านก็ควรจะล้างเท้าของกันและกันด้วย เพราะว่าเราได้วางแบบแก่ท่านแล้ว เพื่อให้ท่านทำเหมือนดังที่เราได้กระทำแก่ท่าน เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ทาสจะเป็นใหญ่กว่านายก็ไม่ได้ และทูตจะเป็นใหญ่กว่าผู้ที่ใช้เขาไปก็หามิได้ ถ้าท่านรู้ดังนี้แล้ว และท่านประพฤติตาม ท่านก็เป็นสุข (ยอห์น 13:13-17)
เราเห็นด้วยเช่นกันว่าเปาโลสั่งให้เพื่อน ๆ ผู้เชื่อทำตามที่เขาทำเพราะเขาทำตามในสิ่งที่พระเยซูทำ
ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอย่างข้าพเจ้า เหมือนอย่างที่ข้าพเจ้าปฏิบัติตามอย่างพระคริสต์ (1โครินธ์ 11: 1)
ดังนั้น พระเยซูใช้ชีวิตของพระองค์อย่างไรและสาวกของพระองค์ใช้ชีวิตคล้ายกับพระองค์อย่างไร นี่เป็นคำถามที่สำคัญมากสำหรับเราในฐานะคริสเตียนควรถามตัวเอง!
ประมาณ 20 ปีที่แล้วมีสโลแกนที่เป็นที่นิยมมากในกลุ่มคริสเตียน คือคำนี้ WWJD “อะไรคือสิ่งที่พระเยซูจะทำ” ดังนั้นให้ดูสิ่งที่พระเยซูจะทำจริง
อะไรคือสิ่งที่พระเยซูจะทำ (WWJD)
เพื่อทำความเข้าใจและตอบคำถาม: อะไรคือสิ่งที่พระเยซูจะทำ เราต้องดูว่า พระเยซูได้ทำอะไร (WDJD)’
สิ่งที่ดี ที่เรามีบันทึกไว้ดีมากในชีวิตของพระองค์ หากเราต้องสรุปสิ่งที่พระเยซูทำในประโยคเดียวมันเป็นเรื่องง่ายมากนั่นคือ:
พระเยซูได้ทำตามพระประสงค์ของพระบิดา
- ยอห์น 5:30
“เราจะทำสิ่งใดตามอำเภอใจไม่ได้ เราได้ยินอย่างไร เราก็พิพากษาอย่างนั้น และการพิพากษาของเราก็ยุติธรรม เพราะเรามิได้มุ่งที่จะทำตามใจของเราเอง แต่ตามพระประสงค์ของพระบิดาผู้ทรงใช้เรามา” - ยอห์น 7:16
พระเยซูจึงตรัสตอบเขาว่า “คำสอนของเราไม่ใช่ของเราเอง แต่เป็นของพระองค์ผู้ทรงใช้เรามา - ยอห์น 10:37-38
ถ้าเราไม่ปฏิบัติพระราชกิจของพระบิดาของเรา ก็อย่าเชื่อในเราเลย แต่ถ้าเราปฏิบัติพระราชกิจนั้น แม้ว่าท่านมิได้เชื่อในเรา ก็จงเชื่อเพราะพระราชกิจนั้นเถิด เพื่อท่านจะได้รู้และเชื่อว่าพระบิดาทรงอยู่ในเรา และเราอยู่ในพระบิดา” - ยอห์น 12:49-50
เพราะเรามิได้กล่าวตามใจเราเอง แต่ซึ่งเรากล่าวและพูดนั้น พระบิดาผู้ทรงใช้เรามา พระองค์นั้นได้ทรงบัญชาให้แก่เรา เรารู้ว่าพระบัญชาของพระองค์นั้นเป็นชีวิตนิรันดร์ เหตุฉะนั้นสิ่งที่เราพูดนั้น เราก็พูดตามที่พระบิดาทรงบัญชาเรา” - ยอห์น 14:10 ท่านไม่เชื่อหรือว่า เราอยู่ในพระบิดาและพระบิดาทรงอยู่ในเรา คำซึ่งเรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายนั้น เรามิได้กล่าวตามใจชอบ แต่พระบิดาผู้ทรงสถิตอยู่ในเราได้ทรงกระทำพระราชกิจของพระองค์
พระเยซูและพระราชบัญญัติของพระเจ้า
ผมเชื่อว่าผู้เชื่อในพระคัมภีร์ทุกคน มีความเห็นพ้องต้องกันว่าพระเยซูทรงรักษาบัญญัติของโมเสสอย่างสมบูรณ์เพื่อที่จะสามารถทำให้พระบัญญัติสำเร็จ หากพระเยซูรักษาบัญญัติของโมเสส เราซึ่งในฐานะสาวกของพระคริสต์จะไม่ทำเช่นเดียวกันกับพระองค์หรือ?
จริงๆ แล้วพระองค์บอกกับเราอย่างนี้
“อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะทำลายพระราชบัญญัติหรือคำของศาสดาพยากรณ์เสีย เรามิได้มาเพื่อจะทำลาย แต่มาเพื่อจะให้สำเร็จ เพราะเราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถึงฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรหนึ่งหรือจุดๆหนึ่งก็จะไม่สูญไปจากพระราชบัญญัติ จนกว่าจะสำเร็จทั้งสิ้น เหตุฉะนั้น ผู้ใดได้ทำให้ข้อเล็กน้อยสักข้อหนึ่งในพระบัญญัตินี้เบาลง ทั้งสอนคนอื่นให้ทำอย่างนั้นด้วย ผู้นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นผู้น้อยที่สุดในอาณาจักรแห่งสวรรค์ แต่ผู้ใดที่ประพฤติและสอนตามพระบัญญัติ ผู้นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นใหญ่ในอาณาจักรแห่งสวรรค์ เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ยิ่งกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี ท่านจะไม่มีวันได้เข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์ (มัทธิว 5:17-20)
ไม่เพียง แต่พระองค์ระบุอย่างชัดเจนว่าพระองค์ไม่ได้มาเพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติหรือคำพยากรณ์ (มัทธิว 5:18) เพราะเราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถึงฟ้าและดินจะล่วงไป แม้อักษรหนึ่งหรือจุด ๆ หนึ่งก็จะไม่สูญไปจากพระราชบัญญัติ จนกว่าจะสำเร็จทั้งสิ้น (ทั้งหมด > ทั้งพระบัญญัติและคำพยากรณ์) ซึ่งเราเห็นว่าเกิดขึ้นในวิวรณ์ 21-22
ยิ่งไปกว่านั้นพระองค์สั่งเราไม่ให้หละหลวมในคำสั่งและให้เราสอนเขาเหล่านั้นที่จะสอนคนอื่น ๆได้ ต่อไป นี้เป็นการแนะนำโดยตรงจากพระเยซูกับเรา
ดังนั้นถ้าเรามีความเห็นตอนนี้ว่าเราเชื่อฟังคำสั่งของพระเยซูแทนพระราชบัญญัติของโมเสส ถ้าเป็นเช่นนั้นพระวจนะของพระเจ้าในพระคัมภีร์คงต้องเป็นปัญหาอย่างมาก เพราะพระเยซูบอกเราโดยตรงว่า อย่าคิดว่าพระองค์จะมาทำให้ข้อพระบัญญัติของโมเสส บางข้อเบาลง ในความเป็นจริงบอกเราด้วยซ้ำว่าเราจะต้องทำให้ดีกว่าที่พวกฟาริสีทำ
“เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ยิ่งกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี ท่านจะไม่มีวันได้เข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์ (มัทธิว 5:20)
พวกฟาริสีมุ้งเน้นไปที่ข้อความตามตัวอักษรในพระราชบัญญัติ แต่พระเยซูชี้ไปที่ว่าสำหรับเราการที่จะเป็นผู้ชอบธรรมตามที่ฟาริสีหมายถึงนั้นคือการที่เราตามวิญญาณของพระราชบัญญัติไม่ใช่แค่ตามตัวอักษรของพระบัญญัติ
ในการรักษาพระบัญญัติของฟาริสี พวกเขาได้สร้างข้อบัญญัติต่าง ๆ เพิ่มเพื่อป้องกันพวกเขาจากการที่จะไม่ทำลายพระราชบัญญัติของพระเจ้า พระเยซูหมายถึงเหล่านี้เป็นบัญญัติของมนุษย์ที่สร้างขึ้น ซึ่งบัญญัติเหล่านี้พวกฟาริสี กลับให้ความสำคัญมากกว่าพระราชบัญญัติของพระเจ้าเสียอีก ดังนี้เองที่ทำให้พระเยซูทรงเสียพระทัยอย่างมากให้เราอ่านตัวอย่างใน มาระโก7:6-13
พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “อิสยาห์ได้พยากรณ์ถึงพวกเจ้าคนหน้าซื่อใจคดก็ถูก ตามที่ได้เขียนไว้ว่า `ประชาชนนี้ให้เกียรติเราด้วยริมฝีปากของเขา แต่ใจของเขาห่างไกลจากเรา เขานมัสการเราโดยหาประโยชน์มิได้ ด้วยเอาบทบัญญัติของมนุษย์มาอวดอ้างว่า เป็นพระดำรัสสอนเจ้าทั้งหลายละพระบัญญัติของพระเจ้า และกลับไปถือตามประเพณีของมนุษย์ คือการล้างถ้วยเหยือก และสิ่งอื่นๆเช่นนี้อีกหลายสิ่ง เจ้าทั้งหลายก็ทำอยู่” พระองค์ตรัสแก่เขาว่า “เหมาะจริงนะ ที่เจ้าทั้งหลายได้ละทิ้งพระบัญญัติของพระเจ้า เพื่อจะได้ถือตามประเพณีของพวกท่าน เพราะโมเสสได้สั่งไว้ว่า `จงให้เกียรติแก่บิดามารดาของตน’ และ `ผู้ใดด่าแช่งบิดามารดา ผู้นั้นต้องถูกปรับโทษถึงตาย แต่พวกเจ้ากลับสอนว่า `ผู้ใดจะกล่าวแก่บิดามารดาว่า “สิ่งใดของข้าพเจ้าซึ่งอาจเป็นประโยชน์แก่ท่าน สิ่งนั้นเป็นโกระบัน”‘ แปลว่าเป็นของถวายแล้วเจ้าทั้งหลายจึงไม่อนุญาตให้ผู้นั้นทำสิ่งใดต่อไป เป็นที่ช่วยบำรุงบิดามารดาของตน เจ้าทั้งหลายจึงทำให้พระวจนะของพระเจ้าเป็นหมันไปด้วยประเพณีของพวกท่านซึ่งพวกท่านได้สอนไว้ และสิ่งอื่น ๆเช่นนี้อีกหลายสิ่ง เจ้าทั้งหลายก็ทำอยู่” (มาระโก7:6-13)
อย่างที่ทราบว่าพระองค์หมายถึงทั้งสอง คือ คำพยากรณ์ และพระราชบัญญัติของพระเจ้า เช่นเดียวกันที่พระองค์กล่าวถึงฟาริสีว่า นับถือพระเจ้าเฉพาะริมฝีปากของพวกเขาแต่จิตใจของพวกเขา มุ่งเน้นไปที่ตัวอักษรของพระราชบัญญัติ แต่ไม่ใช่วิญญาณแห่งพระราชบัญญัติ
พระองค์ทรงตำหนิพวกเขาเพราะการทำให้พระวจนะของพระเจ้าไร้ประโยชน์ จากสิ่งนี้เราเห็นว่าพระเยซูยึดถือพระราชบัญญัติของพระเจ้าอย่างจริงจังและมีปัญหากับทุกคนที่ปฏิเสธพระวจนะคำ / พระราชบัญญัติของพระเจ้า
ที่น่าประหลาดใจก็คือเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่นำเข้ามาในหลักคำสอนของคริสเตียนเสียด้วย ที่สอนว่าพระเยซูได้ลบล้างพระบัญญัติในเรื่องของอาหารที่ให้กับเราไว้ในเลวีนิติบทที่11 ที่พูดถึงสัตย์ที่เป็นมลทินและไม่เป็นมลทิน กินได้ กินไม่ได้
แม้ว่าในข้อบริบทของทั้งหมดไม่ได้พูดถึงการกินสัตย์ ที่ไม่มีมลทินหรือมลทิน แต่มันเกี่ยวกับการกินที่ไม่ได้ล้างมือ ซึ่งมันผิดกฎบัญญัติที่มนุษย์สร้างขึ้นทำให้คนนั้นเป็นมลทินเพราะการไม่ล้างมือก่อนกิน
ลองคิดดู พระเยซูเรียกพวกฟาริสีว่าคนหน้าซื่อใจคดทำให้พระบัญญัติของพระเจ้าเป็นหมัน เช่นนั้นแหละ ตามความเข้าใจของคริสเตียน ถ้าตามหลักคำสอนในคริสตจักรพระองค์ ตัวพระองค์เองทำให้พระบัญญัติของพระเจ้าเป็นหมันในเรื่องของอาหารที่เป็นมลทินและไม่เป็นมลทินอย่างนั้นหรือ? นี้คงทำให้พระเยซูเป็นคนหน้าซื่อใจคดตัวยงของโลก ?
ลองนึกถึงข้อโต้แย้งที่มักใช้ในการยกเลิกพระบัญญัติเกี่ยวกับอาหารที่ไม่สะอาด ข้อโต้แย้งมีดังนี้:
“มิใช่สิ่งซึ่งเข้าไปในปากจะทำให้มนุษย์เป็นมลทิน แต่สิ่งซึ่งออกมาจากปากนั้นแหละทำให้มนุษย์เป็นมลทิน” (มก7:15มธ15:11)
ข้อโต้แย้งนี้ยังคงใช้ทุกวันนี้เหมือนเมื่อ 2,000 ปีก่อน เป็นเป็นข้อโต้แย้งเดียวกับวันที่พระเจ้าทรงให้พระราชบัญญัติ ดังนั้นคำถามก็คือ: ทำไมพระองค์จึงให้พระราชบัญญัติตั้งแต่แรก?
พระเยซูไม่ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติในเรื่องอาหารที่ให้ไว้กับเราในเลวีนิติบทที่ 11หรือถ้าพระองค์ต้องการที่จะทำผิดพระราชบัญญัติถ้าอย่างนั้น ก็จะไม่สามารถทำให้พระราชบัญญัติสมบูรณ์ได้ ซึ่งบางสิ่งผู้เชื่อในพระคัมภีร์คริสเตียนก็เห็นด้วยกับพระคัมภีร์ ในสิ่งที่พระองค์ทรงทำ! เราสามารถอ่านได้ว่าหากพระองค์ยกเลิกพระราชบัญญัติข้อหนึ่งข้อใดนั้นเป็นการทำผิด ให้เราอ่านใน:
ฉธบ4:2 ท่านทั้งหลายอย่าเสริมเติมคำที่ข้าพเจ้าได้บัญชาท่านไว้และอย่าตัดออก เพื่อท่านทั้งหลายจะรักษาพระบัญญัติของพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ซึ่งข้าพเจ้าได้บัญชาท่าน
และใน:
ฉธบ12:32 ทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าบัญชาท่านไว้นั้น จงระวังที่จะกระทำตาม ท่านอย่าเพิ่มอะไรเข้าหรือตัดอะไรออกไปจากสิ่งเหล่านั้น”
ดังนั้น ถ้าพระเยซุ เต็มเติมพระบัญญัติอย่างสมบูรณ์ นั่นแสดงว่าพระองค์ไม่ได้ลบล้างพระบัญญัติเลยสักข้อเดียวพระองค์ทำให้เห็นชัดเจนใน มัทธิว5:17 “อย่าคิดว่าเรามาเพื่อจะทำลายพระราชบัญญัติหรือคำของศาสดาพยากรณ์เสีย เรามิได้มาเพื่อจะทำลาย แต่มาเพื่อจะให้สำเร็จ”
- มัทธิว19:17
พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “ท่านเรียกเราว่าประเสริฐทำไมเล่า ไม่มีผู้ใดประเสริฐนอกจากพระองค์เดียวคือพระเจ้า แต่ถ้าท่านปรารถนาจะเข้าในชีวิต ก็ให้ถือรักษาพระบัญญัติไว้” - มาระโก12:29-31
พระเยซูจึงตรัสตอบคนนั้นว่า “พระบัญญัติซึ่งเป็นเอกเป็นใหญ่กว่าบัญญัติทั้งปวงนั้นคือว่า `โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด องค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าของเราทั้งหลายเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว และพวกท่านจงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของท่าน ด้วยสุดจิตสุดใจของท่าน ด้วยสิ้นสุดความคิด และด้วยสิ้นสุดกำลังของท่าน’ นี่เป็นพระบัญญัติที่เป็นเอกเป็นใหญ่ และพระบัญญัติที่สองนั้นก็เป็นเช่นกันคือ `จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง’ พระบัญญัติอื่นที่ใหญ่กว่าพระบัญญัติทั้งสองนี้ไม่มี” - มัทธิว23:2-3
“พวกธรรมาจารย์กับพวกฟาริสีนั่งบนที่นั่งของโมเสส เหตุฉะนั้นทุกสิ่งซึ่งเขาสั่งสอนพวกท่าน จงถือประพฤติตาม เว้นแต่การประพฤติของเขา อย่าได้ทำตามเลย เพราะเขาเป็นแต่ผู้สั่งสอน แต่เขาเองหาทำตามไม่ - ยอห์น 15:10
ถ้าท่านทั้งหลายประพฤติตามบัญญัติของเรา ท่านก็จะยึดมั่นอยู่ในความรักของเรา เหมือนดังที่เราประพฤติตามพระบัญญัติของพระบิดาเรา และยึดมั่นอยู่ในความรักของพระองค์ - ลูกา16:17
ฟ้าและดินจะล่วงไปก็ง่ายกว่าที่พระราชบัญญัติสักจุดหนึ่งจะขาดตกไป
ดังนั้นพระเยซูได้ทำอะไร?
- พระเยซูรักษาพระราชบัญญัติทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะตามตัวอักษรแต่ด้วยจิตวิญญาณ
- พระเยซู ยึดถือพระราชบัญญัติทั้งหมด อย่างเคร่งครัด และทรงตำหนิติเตียนคนเหล่านั้นที่ไม่เห็นคุณค่าของพระราชบัญญัติ
- โดยการรักษาพระราชบัญญัติของโมเสสอย่างสมบูรณ์พระองค์ทรงทำให้สำเร็จ และโดยการทำเป็นตัวอย่างว่าจะรักษาอย่างไร
- โดยการที่พระองค์ทรงรักษาพระราชบัญญัติทุกข้อ
– วันสะบาโต (เลวีนิติบที่23)
– วันเลี้ยงฉลอง (เลวีนิติบที่23)
– และทั้งหมดพระบัญญัติอาหาร (เลวีนิติบที่11) - พระองค์ไม่เห็นด้วยกับบัญญัติที่มนุษย์สร้างขึ้น เกี่ยวกับวันสะบาโตและธรรมบัญญัติข้ออื่น ๆ
อิสยาห์ 42:21 สรุปได้อย่างดีว่าพระเยซูได้ทำอะไร
“เพราะเห็นแก่ความชอบธรรมของพระองค์ พระเยโฮวาห์ทรงพอพระทัย ที่จะเชิดชูพระราชบัญญัติและกระทำให้พระราชบัญญัตินั้นมีเกียรติ”
นี่เป็นอีกคำพยากรณ์ที่พระเยซูทรงทำให้สำเร็จ พระเยซูไม่เพียงแต่รักษาพระบัญญัติของพระบิดาเท่านั้น พระองค์ยังขยายความเข้าใจในพระราชบัญญัติชี้ให้เห็นวิญญาณของพระบัญญัติและพระองค์ทำให้พระบัญญัติมีเกียรติอีกครั้ง! ในฐานะที่เราเป็นสาวกของพระองค์เราจะไม่ทำตามตัวอย่างของพระองค์หรอกหรือ ถามตัวเองว่าคุณกำลังทำสิ่งที่พระเยซูได้ทำหรือไม่?
เหล่าสาวกได้ทำตามพระเยซูโดยการทำตามตัวอย่างของพระเยซูหรือไม่?
เราจะมั่นใจได้ว่าเรารู้จักพระองค์โดยข้อนี้ คือถ้าเราประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ คนใดที่กล่าวว่า “ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์” แต่มิได้ประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ คนนั้นก็เป็นคนพูดมุสา และความจริงไม่ได้อยู่ในคนนั้นเลย แต่ผู้ใดที่ประพฤติตามพระวจนะของพระองค์ ความรักของพระเจ้าก็สมบูรณ์อยู่ในคนนั้นอย่างแท้จริง ด้วยอาการอย่างนี้แหละเราทั้งหลายจึงรู้ว่าเราอยู่ในพระองค์ ผู้ใดกล่าวว่าตนอยู่ในพระองค์ ผู้นั้นก็ควรดำเนินตามทางที่พระองค์ทรงดำเนินนั้นด้วย
(1ยอห์น 2:3-6)
ผู้ใดกล่าวว่าตนอยู่ในพระองค์ ผู้นั้นก็ควรดำเนินตามทางที่พระองค์ทรงดำเนินนั้นด้วย (1 ยอห์น 2:6)
ข้อเหล่านี้ไม่สามารถบอกได้ชัดไปกว่านี้ว่าเราต้องเดินตามทางที่พระเยซูทรงเดินซึ่งหมายถึงทำสิ่งที่พระองค์ทำ ในเรื่องการตรวจสอบว่าสาวกทำตามที่พระเยซูทำหรือไม่จุดสนใจหลักของผมจะอยู่ที่เปาโลในฐานะสาวกของพระเยซูเพราะคำสอนของเปาโลมักใช้เพื่อโต้แย้งว่าพระราชบัญญัติของโมเสสได้ถูกยกเลิก ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้เปาโลบอกเพื่อน ๆ ผู้เชื่อในโครินธ์ให้เลียนแบบเขาเพราะเขาเลียนแบบพระคริสต์
1 โครินธ์ 11:1 ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอย่างข้าพเจ้า เหมือนอย่างที่ข้าพเจ้าปฏิบัติตามอย่างพระคริสต์
จากการอ้างอิงของเปาโลเขาเลียนแบบพระเยซูในทุกสิ่งที่ที่พระองค์ทรงทำ ลองดูว่ากรณีนี้เป็นจริงหรือไม่?
อัครทูตเปาโลและเหล่าสาวกรักษาพระบัญญัติของโมเสสหรือไม่
หนังสือกิจการเต็มไปด้วยตัวอย่างที่สาวกของพระเยซูถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สอนผิด สอนตรงกันข้ามกับธรรมบัญญัติของโมเสส ถ้าพวกเขาถูกกล่าวหาอย่างผิด ๆ ว่าสอนต่อต้านธรรมบัญญัติของโมเสส ก็แสดงว่าพวกเขากำลังสอนให้รักษาธรรมบัญญัติของโมเสส
คนแรกที่ถูกฆ่าเพราะเป็นสาวกของพระคริสต์คือสตีเฟน ที่ถูกกล่าวเท็จว่าสอนผิดธรรมบัญญัติของพระเจ้า เราอ่านในกิจการ 6: 11-14
กิจการ 6:11-14 เขาจึงลอบปลุกพยานเท็จว่า “เราได้ยินคนนี้พูดหมิ่นประมาทต่อโมเสสและต่อพระเจ้า” เขายุยงคนทั้งปวงและพวกผู้ใหญ่กับพวกธรรมาจารย์ แล้วเข้ามาจับสเทเฟนและนำไปยังสภา ให้พยานเท็จมากล่าวว่า “คนนี้พูดหมิ่นประมาทสถานบริสุทธิ์นี้และพระราชบัญญัติไม่หยุดเลย เพราะเราได้ยินเขาว่า พระเยซูชาวนาซาเร็ธนี้จะทำลายสถานที่นี้ และจะเปลี่ยนธรรมเนียมซึ่งโมเสสให้ไว้แก่เรา
ดังนั้นความจริงที่ว่าที่นี่พวกเขาปลุก “พยานเท็จ” ซึ่งเกี่ยวกับ
- “เขาพูดต่อต้านพระราชธรรมบัญญัติ”
- และเขาส่งเสริมลัทธิ / หลักคำสอนที่ต้องการที่จะเปลี่ยนธรรมเนียมของโมเสส
เราสามารถสรุปได้ว่าเขาเป็นอย่างไร:
- เขาไม่ได้พูดต่อต้านธรรมบัญญัติของโมเสสหรือเรื่องของธรรมเนียม / คำสอนของโมเสส
- และไม่ได้ประกาศหลักคำสอนที่ต้องการเปลี่ยนธรรมเนียม (รวมถึงธรรมบัญญัติ) ของโมเสส!
การสอนว่าธรรมบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งของโมเสสได้ถูกยกเลิก / เลิกใช้แล้ว แน่นอนว่าทั้งสอง เป็นการสอนต่อต้านธรรมบัญญัติและธรรมเนียมของ โมเสส! และนี่คือสิ่งที่คริสเตียนกระแสหลักที่เชื่อกันอยู่ในทุกวันนี้!
นอกจากนี้เรายังอ่านในกิจการที่เปาโลเผชิญกับคดีในศาลหลายต่อหลายครั้งเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเท็จที่เขาว่าสอนต่อต้านโมเสสและพระราชบัญญัติหรือที่ว่าเขาทำผิดธรรมบัญญัติ
ยากอบอัครสาวกและเป็นสาวกของพระเยซูที่ได้เดินกับพระเยซู เขาได้เป็นพยานเป็นตัวแทนให้กับเปาโลว่า เขารักษาพระราชบัญญัติของพระเจ้าที่ให้เราผ่านทางโมเสส แต่ที่ถูกกล่าวหานั้นมันเป็นความเท็จ เราอ่านสิ่งนี้:
กิจการ 21:21-24 เขาทั้งหลายได้ยินถึงท่านว่า ท่านได้สั่งสอนพวกยิวทั้งปวงที่อยู่ในหมู่ชนต่างชาติให้ละทิ้งโมเสส และว่าไม่ต้องให้บุตรของตนเข้าสุหนัตหรือประพฤติตามธรรมเนียมเก่านั้น เรื่องนั้นเป็นอย่างไร คนเป็นอันมากจะต้องมาประชุมกัน เพราะเขาทั้งหลายจะได้ยินว่าท่านมาแล้ว เหตุฉะนั้นจงทำอย่างนี้ตามที่เราจะบอกแก่ท่าน คือว่าเรามีชายสี่คนที่ได้ปฏิญาณตัวไว้ ท่านจงพาคนเหล่านั้นไปชำระตัวด้วยกันกับเขาและเสียเงินแทนเขา เพื่อเขาจะได้โกนศีรษะ คนทั้งหลายจึงจะรู้ว่าความที่เขาได้ยินถึงท่านนั้นเป็นความเท็จ แต่ท่านเองเป็นผู้ยึดถือและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอยู่
นี่ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำแค่เบาบาง ยากอบเป็นพยานให้กับเปาโลว่าเขารักษากฎของโมเสสไว้ นี่ก็หมายความว่า ยากอบเองจริงจังมากกับบัญญัติที่โมเสสกำหนดไว้และสอนคนอื่นให้เป็นคนถือธรรมบัญญัติแม้แต่ส่วนน้อยที่สุดของพระบัญญัติดังที่พระเยซูทรงสั่งให้เราทำใน มัทธิว 5:19!
เปาโลในบทเดียวกันยังเป็นพยานเกี่ยวกับสาวกอีกคนของพระคริสต์อานาเนียในฐานะผู้รักษาอย่างเคร่งครัดในธรรมบัญญัติ (พระบัญญัติของโมเสส)
กิจการ 22:12 “มีคนหนึ่งชื่ออานาเนีย เป็นคนมีศรัทธามากตามพระราชบัญญัติ และมีชื่อเสียงดีท่ามกลางพวกยิวทั้งปวงที่อยู่ที่นั่น
ชาวยิว(ที่ต่อต้านพระเยซู) เกลียดเปาโลมากจนเรามีตัวอย่างหนึ่งที่พวกเขาสาบานว่าจะไม่ดื่มหรือกินจนกระทั่งเปาโลตาย เราเห็นสิ่งนี้ในกิจการ 23
กิจการ 23:12-13 ครั้นเวลารุ่งเช้าพวกยิวบางคนได้สมทบกันปฏิญาณตัวว่า เขาทั้งหลายจะไม่กินจะไม่ดื่มอะไรกว่าจะได้ฆ่าเปาโลเสีย คนที่ร่วมกันปองร้ายนั้นมีกว่าสี่สิบคน
เพื่อทำให้เรื่องยาวให้สั้นลงในกรณีนี้; ชาวยิวล้มเหลวในการพยายามฆ่าเปาโลเพราะผู้บัญชาการของกองทัพโรมันได้รับการบอกเล่าเรื่องแผนการและเขาป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น แต่เขายังต้องการค้นหาสิ่งที่พวกเขากล่าวหาว่าเปาโลทำผิดอะไร:
กิจการ23:28-29 ข้าพเจ้า (ผู้บัญชาการ) อยากจะทราบเหตุที่พวกยิวฟ้องเขา ข้าพเจ้าจึงพาเขาไปยังสภาของพวกยิว ข้าพเจ้าเห็นว่าเขาถูกฟ้องในเรื่องอันเกี่ยวกับกฎหมายของพวกยิว แต่ไม่มีข้อหาที่เขาควรจะตายหรือควรจะต้องจำไว้
เราเห็นที่นี่อีกครั้งว่าพวกเขาพยายามกล่าวหาเปาโลในการเทศนาต่อต้านธรรมบัญญัติ แต่พบว่าไม่มีการตั้งข้อหาว่ามีโทษจำคุกหรือเสียชีวิต ทั้งการสอนเรื่องสิ่งที่โมเสสสอนและไม่รักษาวันสะบาโตเป็นกฎที่มีโทษถึงตาย
ในกิจการ25:7-8 เราอ่านเกี่ยวกับคดีต่อต้านเปาโลอีกครั้ง:
กิจการ25:7-8 ครั้นเปาโลเข้ามาแล้ว พวกยิวที่ลงมาจากกรุงเยรูซาเล็มก็ยืนล้อมไว้รอบ และกล่าวความอุกฉกรรจ์ใส่เปาโลหลายข้อ แต่พิสูจน์ไม่ได้ เปาโลจึงแก้คดีเองว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำอะไรผิดกฎหมายของพวกยิว หรือต่อพระวิหาร หรือต่อซีซาร์”
เราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าเปาโลถูกกล่าวหาว่าละเมิดธรรมบัญญัติของโมเสสและสอนต่อต้านกับสิ่งที่โมเสสสอนและทุกครั้งที่เราเห็นพวกเขาไม่สามารถพิสูจน์ได้
เราไม่ได้พูดถึงการละเมิดกฎจราจร นี่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นและความตาย!
ถ้าเช่นนั้น ทั้งเปาโลและยากอบหลอกลวงพวกยิวหรือ?
ไม่พวกเขาไม่ได้หลอกหลวง! โดยการทำเช่นนั้นพวกเขาจะผิดพระราชบัญญัติและทำให้พวกเขาเป็นคนหน้าซื่อใจคด! ดูสิ่งที่เปาโลพูดเมื่อพวกเขาขอร้องไม่ให้เขาไปยังกรุงเยรูซาเล็ม
กิจการ 21:13 ฝ่ายเปาโลตอบว่า “เหตุไฉนท่านทั้งหลายจึงร้องไห้และทำให้ข้าพเจ้าช้ำใจ ด้วยข้าพเจ้าเต็มใจพร้อมที่จะไปให้เขาผูกมัดไว้อย่างเดียวก็หามิได้ แต่เต็มใจพร้อมจะตายที่ในกรุงเยรูซาเล็มด้วยเพราะเห็นแก่พระนามของพระเยซูเจ้า”
เปาโลพร้อมที่จะตายเพื่อพระนามของพระเยซูเจ้า นั่นไม่ใช่สิ่งที่คนโกหกจะทำ
แล้วงานเลี้ยงฉลองและเครื่องบูชาล่ะ?
แล้วงานเลี้ยงตามที่อธิบายไว้ในเลวีนิติ 23 และการถวายเครื่องบูชา? สาวกยังคงรักษาสิ่งเหล่านั้นหรือไม่? เราได้อ่านมาก่อนในกิจการ 21:23 ว่ายากอบขอให้เปาโลปฏิญาณตนเพื่อแสดงว่าเขาจริงจังกับธรรมบัญญัติ คำสัตย์ปฏิญาณนี้น่าจะเป็นสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าคำปฏิญาณของนาศีร์ นอกจากนี้เรายังอ่านใน กิจการ 18:18 “ต่อมาเปาโลได้พักอยู่ที่นั่นอีกหลายวัน แล้วท่านจึงลาพวกพี่น้องแล่นเรือไปยังแคว้นซีเรีย และปริสสิลลากับอาควิลลาก็ไปด้วย เปาโลได้โกนศีรษะที่เมืองเคนเครีย เพราะท่านได้ปฏิญาณตัวไว้ ด้วยว่าเขาทำเช่นนี้ก่อน” เราอ่านเกี่ยวกับคำทำสัตย์ปฏิญาณนี้ใน กันดารวิถี 6: 1-21
ส่วนของคำสัตย์ปฏิญาณนี้คือการถวายสามสิ่งนี้:
- ลูกแกะหนึ่งตัวเป็นเครื่องเผาบูชา
- แกะตัวเมียหนึ่งตัวเป็นเครื่องบูชาไถ่บาป
- และแกะผู้เป็นเครื่องสันติบูชา
นอกเหนือจากนี้ ขนมปังไร้เชื้อหนึ่งกระจาด และธัญบูชาและเครื่องดื่มบูชาคู่กับสันติบูชา พวกเขาจะโกนศรีษะในลานด้านนอกของวิหารเยรูซาเล็มแล้ววางผมลงบนกองไฟเดียวกันกับเครื่องสันติบูชา
จากนี้เราจะเห็นว่าสาวกยังคงรักษาพิธีกรรมของพระวิหารและยังคงถวายเครื่องบูชาจริง
ดังนั้นคำถามตามเหตุผลก็คือ: ทุกวันนี้เราควรจะถวายเครื่องเผาบูชาหรือไม่? คำตอบคือไม่; ด้วยเหตุผลง่ายๆว่าหลังจากการล่มสลายของพระวิหารเยรูซาเล็ม 70 AD โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการ ถวายเครื่องเผาบูชาไม่ได้อยู่ในสถานที่นี้อีกต่อไป เราไม่มีพระวิหารและปุโรหิตที่สามารถช่วยในการทำพิธีถวายเครื่องเผาบูชาได้ตามที่พระราชบัญญัติกำหนด เมื่อพระราชบัญญัติกำหนดให้มีการถวายเครื่องเผาบูชาโดยการช่วยเหลือของปุโรหิตในเฉพาะที่พระวิหารเท่านั้น (ฉธบ 12: 13-14) ดังนั้นก็จะไม่มีการถวายเครื่องเผาบูชาเมื่อไม่มีพระวิหารและปุโรหิต ซึ่งการไม่ทำก็เป็นการเชื่อฟังพระราชบัญญัติ! สิ่งนี้ไม่แตกต่างจากเมื่อชาวยิวถูกเนรเทศหลังจากที่พระวิหารถูกทำลายครั้งแรก นี่ไม่ได้หมายความว่าการถวายเครื่องเผาบูชาถูกยกเลิก แต่ถูกระงับไว้ชั่วคราว เราเห็นว่าในราชอาณาจักรสหัสวรรษพวกเขาจะกลับมาเริ่มใหม่ เราอ่านได้ในเอเสเคียล 40-48 และเศคาริยาห์ 14: 20-21
การที่พระวิหารถูกทำลายไม่ได้ส่งผลในตอนท้ายของพระราชบัญญัติ เห็นเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่อย่างดาเนียลและเพื่อน ๆ ของเขาที่รักษาพระราชบัญญัติแม้ว่าพวกเขาจะถูกเนรเทศ เอเสเคียล เอสเธอร์และมาลาคีเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมอื่น ๆ เราอ่านว่าพระเจ้าให้ความสำคัญกับการเชื่อฟังมากกว่าการเสียสละใด ๆ :
1 ซามูเอล 15:22 และซามูเอลกล่าวว่า “พระเจ้าทรงพอพระทัยในเครื่องเผาบูชา และเครื่องสัตวบูชามากเท่ากับการที่จะเชื่อฟังพระสุรเสียงของพระเจ้าหรือ ดูเถิด ที่จะเชื่อฟังก็ดีกว่าเครื่องสัตวบูชา และซึ่งจะสดับฟังก็ดีกว่าไขมันของบรรดาแกะผู้
ด้วยคำถาม ถ้าเปาโลยังคงรักษางานเลี้ยงฉลองอยู่ เราพบหลายสิ่งในพระคัมภีร์ที่สนับสนุนสิ่งนี้
ครั้งแรกเราพบใน:
กิจการ18:20-21
เมื่อคนเหล่านั้นขอให้ท่านอยู่กับเขาต่อไป ท่านก็ไม่ยอม แต่ได้ลาเขาไปกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะพยายามรักษาเทศกาลเลี้ยงที่จะถึงในกรุงเยรูซาเล็มโดยทุกวิถีทาง แต่ถ้าเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้า ข้าพเจ้าจะกลับมาหาท่านทั้งหลายอีก” แล้วเปาโลได้ลงเรือแล่นออกจากเมืองเอเฟซัส
ส่วนอธิบายว่าทำไมเขาปฏิเสธไม่ได้อยู่ในฉบับ เอ็นไอวี หรือ อีเอสวี แต่สามารถพบได้ใน เคเจวี และ วายแอลที
เราเห็นอีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับเปาโลที่ตั้งใจจะอยู่ในกรุงเยรูซาเล็มเพื่อร่วมเลี้ยงฉลอง วันเพ็นเทคอสต์ Pentecost เขาตั้งใจจะอยู่ที่นั่นเพื่อเทศกาลปัสกาและวันขนมปังไร้เชื้อ แต่สถานการณ์ทำให้เขาต้องรักษางานเลี้ยงฉลองไว้เฉพาะที่ (กิจการ 20: 1-6) นั่นทำให้เขามุ่งมั่นที่จะอยู่ในกรุงเยรูซาเล็มมากขึ้นใน วันบริสุทธ์ต่อไป – วันเพ็นเทคอสต์
กิจการ 20: 1-6 ครั้นการวุ่นวายนั้นสงบแล้ว เปาโลจึงให้ไปตามพวกสาวกมากอดกันแล้วก็ลาเขาไปยังแคว้นมาซิโดเนีย เมื่อได้ข้ามที่นั้นไปแล้วและได้สั่งเตือนสติเขามาก ท่านก็มายังประเทศกรีก พักอยู่ที่นั่นสามเดือน และเมื่อท่านจวนจะลงเรือไปยังแคว้นซีเรีย พวกยิวก็คิดร้ายต่อท่าน ท่านจึงตั้งใจกลับไปทางแคว้นมาซิโดเนีย คนที่ไปยังแคว้นเอเชียกับเปาโลคือโสปาเทอร์ชาวเมืองเบโรอา อาริสทารคัสกับเสคุนดัสชาวเมืองเธสะโลนิกา กายอัสชาวเมืองเดอร์บี และทิโมธี ทีคิกัสกับโตรฟีมัสชาวแคว้นเอเชีย แต่คนเหล่านั้นได้เดินทางล่วงหน้าไปคอยพวกเราอยู่ที่เมืองโตรอัสก่อน ครั้นวันเทศกาลขนมปังไร้เชื้อล่วงไปแล้ว เราทั้งหลายจึงลงเรือออกจากเมืองฟีลิปปี และต่อมาห้าวันก็มาถึงพวกนั้นที่เมืองโตรอัส และยับยั้งอยู่ที่นั่นเจ็ดวัน
เปาโลตั้งใจแน่วแน่ที่จะคงไว้ซึ่งงานเลี้ยงฉลองของพระเจ้า ให้เราอ่าน
กิจการ 20:16 เปาโลได้ตัดสินใจแล่นเรือผ่านเมืองเอเฟซัสเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เวลาในภูมิภาคเอเชียเพราะเขารีบไปถึงกรุงเยรูซาเล็มถ้าเป็นไปได้ในวันเพนเทคอสต์
ดังนั้น เปาโลและสาวกคนอื่น ๆ ได้ทำอะไร?
- พวกเขารักษาพระราชบัญญัติของพระเจ้าตามที่โมเสสสอน
- พวกเขาสอนคนอื่นให้รักษาพระบัญญัติ “เหตุฉะนั้น ผู้ใดได้ทำให้ข้อเล็กน้อยสักข้อหนึ่งในพระบัญญัตินี้เบาลง ทั้งสอนคนอื่นให้ทำอย่างนั้นด้วย ผู้นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นผู้น้อยที่สุดในอาณาจักรแห่งสวรรค์ แต่ผู้ใดที่ประพฤติและสอนตามพระบัญญัติ ผู้นั้นจะได้ชื่อว่า เป็นใหญ่ในอาณาจักรแห่งสวรรค์” (มัทธิว 5:19)
- โดยรักษาพระบัญญัติที่โมเสสสอนพวกเขาให้ถือรักษา:
– วันสะบาโต
– วันเลี้ยงฉลอง
– และทั้งหมดพระบัญญัติเรื่องอาหาร
ในการสรุป:
เราเห็นว่าเปาโลกับเหล่าสาวกเลียนแบบพระคริสต์และดำเนินตามอย่างที่พระเยซูทำ อีกครั้งเราต้องถามตัวเองด้วยคำถาม
หากพวกสาวกเลียนแบบพระคริสต์และดำเนินตามอย่างที่พระเยซูทำ เราก็ควรจะทำหรือไม่?
เหตุใดเราจึงไม่เห็นการเทศนาคำสอนนี้ ในโบสถ์ทั่ว ๆ ไป และเราเองยังถูกทำให้เชื่อตามหลักคำสอนของคริสเตียนกลุ่มใหญ่แทน เราไม่เชื่อฟังพระราชบัญญัติที่โมเสสสอน ในขณะที่พระเยซูและสาวกทำให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าได้ทำตาม?
ในประวัติศาสตร์เราในฐานะผู้ติดตามพระคริสต์เปลี่ยนจากการทำตามตัวอย่างของพระคริสต์เป็นการทำตามบางสิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงหรือไม่?
การมองประวัติศาสตร์เราเห็นว่าในศตวรรษแรกทั้งผู้เชื่อในพระคริสต์ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวหรือชาวกรีกเชื่อฟังพระราชบัญญัติของพระเจ้ารวมถึง การถือรักษาวันสะบาโต งานฉลองและบัญญัติเรื่องการบริโภคอาหาร
ในกิจการ 15: 19-21 เราเห็นการพิจารณาคดีของสภาเยรูซาเล็มเกี่ยวกับคำสั่งที่จะมอบให้แก่คนที่ไม่ใช่ยิว:
เราอ่านว่าผู้เชื่อใหม่ทุกคนควรละเว้นจากสิ่งที่เป็นมลทิน หลีกเลี่ยงสิ่งที่ปนเปื้อนด้วยรูปเคารพและจากการผิดศีลธรรมทางเพศและจากสิ่งที่ถูกรัดคอ และจากเลือด นอกจากนี้เรายังได้อ่านบางสิ่งที่คริสเตียนส่วนใหญ่ข้ามไป ที่ว่าเพื่อพวกเขาจะได้เรียนรู้ พระราชบัญญัติข้ออื่น ๆ ที่เหลือในธรรมศาลาในวันสะบาโต อื่น ๆ ด้วย!
กิจการ 15: 19-21 เหตุฉะนั้นการตัดสินของเราคือเราไม่ควรทำให้คนต่างชาติที่หันมาหาพระเจ้า แต่ควรเขียนถึงพวกเขาเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ปนเปื้อนด้วยรูปเคารพและจากการผิดศีลธรรมทางเพศและจากสิ่งที่ถูกรัดคอ และจากเลือด เพราะตั้งแต่โบราณมาแล้วที่โมเสสมีในทุกเมืองที่ประกาศให้เขาเพราะเขาอ่านทุกวันสะบาโตในธรรมศาลา “
ส่วนสำคัญของการปกครองโดยสภาในกรุงเยรูซาเล็มคือการเรียนรู้คำสอนของโมเสสในวันสะบาโต ที่ ธรรมศาลา!
เราอ่านข้อพระคัมภีร์หลายข้อที่เปาโลสอนชาวต่างชาติ / ชาวกรีกในวันสะบาโตในธรรมศาลา:
กิจการ 13:42 เมื่อพวกยิวได้ออกไปจากธรรมศาลาแล้ว พวกคนต่างชาติก็อ้อนวอนให้ประกาศคำเหล่านั้นให้เขาฟังในวันสะบาโตหน้า(KJV)
กิจการ 18:4 เปาโลได้โต้เถียงในธรรมศาลาทุกวันสะบาโต ได้ชักชวนทั้งพวกยิวและพวกกรีก
เรายังเห็นว่านี่เป็นกรณีของคริสตจักรในโรม เมื่อทำการวิจัยคริสตจักรในกรุงโรมผมพบบทความใน Wikipedia ซึ่งน่าสนใจมาก:
https://en.wikipedia.org/wiki/Epistle_to_the_Romans
โบสถ์ในกรุงโรมดูเพิ่มเติมที่: ศูนย์รวมแห่งแรกของศาสนาคริสต์ในโรมPapyrus, Oxyrhynchus (ภาษากรีก), อียิปต์: ศตวรรษที่ 6 – จดหมายถึงชาวโรมัน 1: 1–16
เรื่องราวโบราณที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของการเริ่มต้นของศาสนาคริสต์ในกรุงโรมนั้นได้รับจากนักเขียนในศตวรรษที่ 4 ที่รู้จักกันในชื่อ แอมบรอส เซียแอสเตอร์ (Ambrosiaster):
มันเป็นที่ยอมรับว่ามีชาวยิวที่อาศัยอยู่ในกรุงโรมในช่วงเวลาของอัครสาวกและชาวยิวที่เชื่อ [ในพระคริสต์] ส่งต่อไปยังชาวโรมันประเพณีที่พวกเขาควรจะยอมรับพระคริสต์ และรักษาพระราชบัญญัติ [โทราห์] .หนึ่ง ไม่ควรประณามชาวโรมัน แต่ควรยกย่องความเชื่อของพวกเขา โดยที่พวกเขาไม่ได้เห็นหมายสำคัญหรือการอัศจรรย์ใด ๆ และไม่เห็นอัครสาวกคนใด ๆ พวกเขาก็ยังยอมรับเชื่อในพระคริสต์ได้แม้แต่ตามพิธีกรรมของชาวยิว
เห็นได้ชัดว่า แอมบรอส เซียแอสเตอร์ ไม่เชื่อว่าเราควรจะรักษาโทราห์ (พระคัมภีร์เดิมห้าเล่มแรก) แต่ก็ชื่นชมไม่น้อยกับ คริสเตียนในกรุงโรมให้ทำตามพระคริสต์ถึงกับว่าพวกเขายึดถือรักษาโทราห์ไปด้วย
ตัวอย่างที่ดีที่คริสเตียนรุ่นแรก รักษาโทราห์ (ธรรมบัญญัติของพระเจ้า) ตามที่โมเสสได้รับและทำตามคำแนะนำใน กิจการบทที่ 15: 20-21 พวกเขาไปที่ธรรมศาลาและเรียนโทราห์
เมื่อทำการวิจัยเรื่องนี้คุณจะพบตัวอย่างอื่น ๆ อีกมากมายที่คริสตจักรในศตวรรษแรกรักษาพระบัญญัติของพระเจ้าตามที่พระเยซูและสาวกของพระองค์ทำและสิ่งนี้เริ่มเปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ หลังจากศตวรรษแรก คุณจะสามารถพบการบันทึกจนถึงศตวรรษที่ 4 ที่ชาวคริสต์รักษาวันสะบาโตและหลังจากคริสตจักรโรมัน เริ่มดำเนินคดีกับผู้ที่ยังคงรักษาวันสะบาโตไว้ ดูเหมือนชาวคริสต์ที่รักษาวันสะบาโตจะเริ่มค่อย ๆ หายไปจากภาพ
ดังนั้นอะไรเปลี่ยนแปลงหลังจากศาสนจักรศตวรรษที่หนึ่ง เพื่อตอบคำถามนี้เราต้องดูสิ่งที่ คริสตจักรบิดาสอนและด้วยการเริ่มต้นนี้ ให้เราถามคำถามตัวเอง:
เราเป็นสาวกของพระคริสต์หรือคริสตจักรบิดา?
การสอนของคริสตจักรบิดา
เพราะจะถึงเวลาที่คนจะทนต่อคำสอนอันถูกต้องไม่ได้ แต่เขาจะรวบรวมครูไว้ให้สอนในสิ่งที่เขาชอบฟัง ตามความปรารถนาของตนเอง และเขาจะบ่ายหูจากความจริง หันไปฟังเรื่องนิยายต่าง ๆ (2ทิโมธี4:3-4)
เราเห็นใน ทิโมธี ว่าเปาโลเตือนเวลาที่จะมาถึงว่าคนจะทนต่อคำสอนอันถูกต้องไม่ได้ เปาโลเล็งเห็นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นแล้วในช่วงแรก ๆ ในตอนปลายศตวรรษแรกเราเห็นว่าสิ่งนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
ในช่วงต้นศตวรรษที่สองเราสามารถพบงานเขียนที่เริ่มต่อต้านสิ่งที่ประกาศในพระกิตติคุณ
เมื่อผมถามเพื่อนของผมว่ามันอยู่ที่ไหนในพระคัมภีร์ที่เป็นคำสั่งให้เรานมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์แทนวันเสาร์วันสะบาโตเขาตอบผมว่าพบครั้งแรกจากคริสตจักรบิดาโดยบิชอปคนที่สามแห่ง อันทิโอก เขาไม่พบสิ่งใดในพระคัมภีร์เพราะไม่มีที่ไหนเลยที่จะพบได้ในพระคัมภีร์!
ผมจะไม่มีวันลืมคำพูดนี้เพราะมันไม่เพียงแต่แสดงให้ผมเห็นว่าการนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์เป็นบัญญัติที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่มันก็แสดงให้ผมเห็นเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้พวกเขาพยายามเปลี่ยนการนมัสการจากวันสะบาโตเป็นวันอาทิตย์ และนี่อาจเป็นที่มา:
อิกนาทีเอียส Ignatius ปิช๊อปคนที่สามของ อันทิอ๊อค ผู้เสียชีวิตในปี 108 เขียนว่า:
“ ดังนั้นถ้าคนเหล่านั้นที่ถูกสอนมาตามกฎเกณฑ์ดั้งเดิมแบบโบราณตามคำสั่งของสิ่งต่าง ๆ แต่ตอนนี้มีความหวังใหม่โดยไม่ต้องยึดถือวันสะบาโตอีกต่อไป แต่อยู่ในการยึดรักษาวันแห่งพระเจ้า ซึ่งชีวิตของเราก็ฟื้นขึ้นมาอีกครั้งโดยพระองค์…ขอให้เราอย่ารักษาวันสะบาโตตามแบบชาวยิวอีกต่อไปที่พวกเขาชื่นชมยินดีกับการไม่ทำอะไร โดยการไม่ทำงาน สำหรับ“ คนที่ไม่ทำงานก็อย่าให้เขากิน”“ ขอให้เพื่อนทุกคนของพระคริสต์รักษาวันของพระเจ้าเป็นเทศกาลเป็นวันฟื้นคืนชีพ เป็นราชินีและหัวหน้าของทุกวัน [ของสัปดาห์]” https: / /en.wikipedia.org/wiki/Epistle_of_Ignatius_to_the_Magnesians
ผมไม่อยากเชื่อสายตาเมื่อเห็นสิ่งนี้! ไม่เพียง แต่ขัดกับพระบัญญัติของพระเจ้าโดยตรงและสิ่งที่พระเยซูสั่งเราใน มัทธิว 5:19 มันแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจุดเริ่มต้นของการต่อต้านกลุ่มคริสเตียนยิว (ani-Semitism) ที่ยึดพระบัญญัติโดยถูกเรียกว่า “พวกยิวขี้เกียจ” (ชื่นชมยินดีกับการไม่ต้องทำอะไร)!
ผมเชื่อว่านี่เป็นหนึ่งในงานเขียนที่รู้จักกันครั้งแรกของของคริสตจักรบิดาที่เราเห็นว่า การต่อต้านชาวยิวนั้นเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลง จากคริสตจักรศตวรรษแรกถึงคริสตจักรที่เรารู้ในทุกวันนี้
เราจะดูคำพูดเพียงไม่กี่คำจากบรรพบุรุษของคริสตจักรยุคแรก แต่คุณจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการต่อต้านชาวยิว( Anti-Semitism) นั้นมีบทบาทสำคัญเพียงใด
บางส่วนของการต่อต้านชาวยิว ของคริสตจักรบิดา
อิกนาทีเอียส บิช๊อบ แห่งอันทิอ๊อค (98-108A.D.) – จดหมายถึงแม๊กนีเสียนส์ Magnesians
เพราะถ้าพวกเรายังคงฝึกปฏิบัติตามแบบศาสนายิว เรายอมรับว่าเราจะยังคงไม่ได้รับความโปรดปรานของพระเจ้า…มันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องที่พูดเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และการดำเนินชีวิตของพระองค์เป็นเหมือนยิว สำหรับศาสนาคริสต์ไม่เชื่อในศาสนายิว แต่ศาสนายิวต้องอยู่ภายใต้ศาสนาคริสต์
“ จดหมายถึงบาร์นาบัส” บทที่ 4vs 6-7 (ระหว่าง 130A.D. และ 138 A.D. )
จงระวังตัวให้ดีและอย่าทำบาปไปเลยและพูดว่าพันธสัญญานั้นเป็นของเขาและของเรา มันเป็นของเรา แต่พวกเขาสูญเสียมันอย่างสมบูรณ์หลังจากที่โมเสสได้รับมัน
โอริเจน แห่ง อเล็ก แซนเดรีย (185-254 A.D. ) – นักเขียนและครูผู้ ที่มีส่วนในการสร้างหลักคำสอนคริสเตียนยุคแรก
เราอาจยืนยันด้วยความมั่นใจอย่างเต็มที่ว่าชาวยิวจะไม่กลับไปสู่สถานการณ์ก่อนหน้านี้เพราะพวกเขาก่ออาชญากรรมที่น่ารังเกียจที่สุดในการก่อกบฏต่อพระผู้ช่วยให้รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ดังนั้นเมืองที่พระเยซูต้องถูกทรมานและได้ถูกทำลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชนชาติยิวจึงถูกขับไล่ออกจากประเทศของตน และพระเจ้าได้ทรงเรียกคนกลุ่มอื่นแทนแต่งตั้งให้พวกเขาได้รับพระพรสมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ (A.D. 314-337) – อ้างถึงโดย S. R. E. Humbert, “Adversus Graecorum Calumnias,” ใน J. P. Migne, Patrologie, p. 143
คริสเตียนต้องยึดถือทุกวันอาทิตย์ เพราะการฟื้นคนชีพของพระคริสต์ ในวันอาทิตย์ ดังนั้นทุกวันสะบาโตให้ถือเป็นวันประณาม (สาปแช่ง) ชาวยิว”
ยอห์น คริสซอสทัม (344-407 A.D. ) – หนึ่งใน “ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด” ของบรรพบุรุษคริสตจักร รู้จักในนาม“ The Golden Mouthed” ฝีปากทองคำ
ธรรมศาลานั้นเลวร้ายยิ่งกว่าซ่องโสเภณี … มันเป็นถ้ำของวายร้าย และเป็นที่ฟื้นฟูของสัตว์ป่า … วิหารของปีศาจที่อุทิศให้กับลัทธิบูชารูปเคารพ ที่หลบภัยของกลุ่มโจรและถ้ำปีศาจ มันเป็นการชุมนุมทางอาญาของชาวยิว สถานที่นัดพบเพื่อลอบสังหารพระคริสต์ บ้านที่แย่กว่าบาร์ขายเครื่องดื่ม. ถ้ำแห่งหนึ่ง, บ้านที่มีชื่อเสียงไม่ดี, บ้านที่มีความชั่วร้าย, ที่อยู่อาศัยของความชั่วช้า นรกแห่งหายนะ” ข้าพเจ้าจะพูดสิ่งเดียวกันเกี่ยวกับจิตวิญญาณของพวกเขา สำหรับข้าพเจ้า ก็เกลียดธรรมศาลา เกลียดชาวยิวด้วยเหตุผลเดียวกัน จาก“ รากฐานของของคริสเตียน การต่อต้านชาวยิว” โดย เมลคัม เฮย์ Malcolm Hay
เซนต์ออกัสติน St. Augustine (ค. 354-430 A.D. ) คำสารภาพ 12.14
ข้าพระองค์เกลียดมากเพียงใดกับศัตรูพระคัมภีร์ของพระองค์! ข้าพระองค์หวังอย่างยิ่งที่พระองค์จะสังหารพวกเขาเสีย (ชาวยิว) ด้วยดาบสองคมของพระองค์เพื่อไม่ให้มีใครคัดค้านพระคำของพระองค์! ข้าพระองค์คงจะดีใจมากถ้าพวกเขาตายเพื่อตัวพวกเขาเองและข้าพระองค์อยู่เพื่อพระองค์!
ทำไมถึงต่อต้านชาวยิวอย่างมากขนาดนี้ ? โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าหนึ่งในเหตุผลสำคัญคือการที่พระวิหารถูกทำลาย 70 AD บวกการพลัดถิ่นของชาวยิว มีส่วนเกี่ยวข้องกับชาวยิวในความล้มเหลวเป็นผู้แพ้ พวกเขาเห็นการทำลายพระวิหาร เป็นการลงโทษชาวยิว และการที่พระเจ้าลงโทษพวกเขาเพราะพวกเขาทำผิด เช่นการสังหารพระบุตรของพระเจ้า (พระเยซู)
เช่นเดียวกับที่เราเห็นในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง วันก่อนที่สงครามจะสิ้นสุดลงชาวเยอรมันทุกคนที่เป็นนาซีในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่ยอมแพ้ก็ไม่มีใครเป็นพวกนาซีหรืออยากจะเกี่ยวข้องกับพวกนาซีเลยสักคน
โดยพื้นฐานแล้วคริสเตียนที่เป็นคนต่างชาติต้องการที่จะแยกตัวออกจากชาวยิวโดยการสร้างความแตกต่าง เช่นเดียวกับวันสะบาโตโดยแทนที่ด้วยวันอาทิตย์ตามที่ อิกนาทีเอียส เสนอ:
เหตุฉะนั้นให้เราไม่ถือรักษาวันสะบาโตอีกต่อไปตามแบบคนยิวที่ชื่นชมยินดีกับวันขี้เกียจและไม่ทำงาน สำหรับ“ คนที่ไม่ทำงานก็อย่าให้เขากิน” ให้เพื่อน ๆ ทุกคนของพระคริสต์ให้ถือวัน อาทิตย์เป็นวันของพระเจ้าเป็นวันเทศกาลวันคืนชีพ เป็นราชินีแห่งวันและเป็นหัวหน้าของวันทั้งหมด [ของสัปดาห์]”
ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ผมเชื่อ คือตามที่เปาโลกล่าวไว้แล้วใน 2 ทิโมธี 4: 3-4 “เพราะจะถึงเวลาที่คนจะทนต่อคำสอนอันถูกต้องไม่ได้ แต่เขาจะรวบรวมครูไว้ให้สอนในสิ่งที่เขาชอบฟัง ตามความปรารถนาของตนเอง และเขาจะบ่ายหูจากความจริง หันไปฟังเรื่องนิยายต่าง ๆ
ใครก็ตามที่ต้องการหลักคำสอนที่ถูกต้องและทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า เหมือนที่พระเยซูได้ทำ น่าจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่อิกนาทีเอียสเสนอนั้น ต่อต้านพระราชบัญญัติของพระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์โดยตรง แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีคนงาน และคนรับใช้มันฟังดูเหมือนเพลงไพเราะในหู? ที่สามารถโทรเรียกใช้ คนงานคนรับใช้ของคุณ ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์
เมื่อพระเยซูพูดถึงวันสะบาโตถูกสร้างขึ้นเพื่อมนุษย์และมนุษย์ไม่ใช่สำหรับวันสะบาโตนั่นแสดงให้ผมเห็นว่าผู้สร้างของเรารู้ถึงการสร้างของพระองค์ พระองค์รู้ว่ามันไม่ดีสำหรับมนุษย์ที่จะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์ 52 สัปดาห์ในหนึ่งปี เช่นเดียววันหยุดพัก ของการสร้างของพระองค์ที่เราพบว่ามีปีสะบาโตสำหรับการทำไร่ ทำนาเพื่อพักดิน
เมื่อรวมปัจจัยสำคัญเหล่าเข้าด้วยกัน ผมเชื่อว่าทำให้คริสตจักรหลุดลอยไปจากคริสตจักรในศตวรรษแรกทำให้เกิดศาสนาใหม่โดยสิ้นเชิง
ถึงเวลานั้นไม่มีความแตกต่างระหว่างกรีกหรือยิวอย่างที่เปาโลกล่าวไว้ในโรม 10:12 ทุกวันนี้เราเห็น 2 ศาสนาที่แตกต่างและในศาสนาคริสต์ก็มีนิกายต่าง ๆ มากมาย บางคนแนะนำหมายเลขมีมากกว่า 30,000 นิกาย บางสิ่งที่ไม่ยากที่จะเชื่อดั่งใน 2 ทิโมธี 4:3 “เพราะจะถึงเวลาที่คนจะทนต่อคำสอนอันถูกต้องไม่ได้ แต่เขาจะรวบรวมครูไว้ให้สอนในสิ่งที่เขาชอบฟัง ตามความปรารถนาของตนเอง ”
สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือมีเพียงไม่กี่นิกายเท่านั้นที่ติดตามพระคริสต์ในแบบเดียวกับที่ชาวคริสต์ศตวรรษแรกทำ ฟังดูคุ้น ๆ ใช่มั้ย พระเยซูพูดว่าอย่างไรอีกครั้ง?
ลูกา13:23-25 มีคนหนึ่งทูลถามพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า คนที่รอดนั้นน้อยหรือ” พระองค์ตรัสแก่เขาทั้งหลายว่า”จงเพียรเข้าไปทางประตูคับแคบ เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า คนเป็นอันมากจะพยายามเข้าไป แต่จะเข้าไม่ได้ เมื่อเจ้าบ้านลุกขึ้นปิดประตูแล้ว และท่านทั้งหลายเริ่มยืนอยู่ภายนอกเคาะที่ประตูว่า `นายเจ้าข้าๆ ขอเปิดให้ข้าพเจ้าเถิด’ และเจ้าบ้านนั้นจะตอบท่านทั้งหลายว่า `เราไม่รู้จักเจ้าว่าเจ้ามาจากไหน’
คริสตจักรบิดาและพระราชบัญญัติของโมเสส
เราเห็นว่าเหล่าสาวกเดินไปตามที่พระเยซูทำทุกวิถีทางรวมถึงการรักษาพระราชบัญญัติทั้งหมดพวกเขาสอนให้เดินตามที่พระเยซูทำและเป็นผู้เลียนแบบพระคริสต์
นิกายนาซารีนส์
เราอ่านเกี่ยวกับเปาโลดังต่อไปนี้:
กิจการ 24: 5 ด้วยข้าพเจ้าทั้งหลายเห็นว่า ชายคนนี้เป็นคนพาลยุยงพวกยิวทั้งหลายให้เกิดการวุ่นวายทั่วพิภพ และเป็นตัวการของพวกนาซาเร็ธนั้น
เปาโลถูกเรียกว่าเป็นผู้นำของนิกายนาซารีน พูดอีกอย่างนิกายนาซารีนเป็นผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ สาวกของพระองค์ที่พระเยซูพูดถึงใน พระมหาบัญชาของพระคริสต์ ในฐานะที่เป็นสาวกของพระองค์ เราได้เห็นแล้วว่าพวกเขารักษาพระราชบัญญัติ ตามที่พระเยซูทำรวมทั้งวันสะบาโต งานเลี้ยงฉลองและกฎเรื่องอาหารทั้งหมด เรายังเห็นด้วยซ้ำว่าพวกเขายังคงเข้าร่วมพิธีในพระวิหารรวมถึงการถวายเครื่องบูชาจนถึง 70 AD
เหตุผลที่ผมมุ่งเน้นไปที่นิกายนาซารีนก็เพราะเรามีงานเขียนของคริสจักรบิดที่กล่าวถึง นิกายนาซารีนตามคำอธิบายพวกเขาตรงตามที่เราเห็นแล้วว่าส่วนใหญ่เป็นชาวยิวที่เชื่อในพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ เกิดจากหญิงพรหมจารี ตายเพื่อเราที่ไม้กางเขน และฟื้นคืนพระชนม์ และพวกเขายังคงรักษาพระราชบัญญัติที่ได้จากโมเสส (โทราห์) พวกเขาถูกติดตราว่าเป็นผู้ติดตามนิกายนาซารีน เป็นคนนอกศาสนาที่ยังคงรักษาพระราชบัญญัติที่โมเสสกำหนดไว้เช่น วันสะบาโต เทศกาลเลี้ยงฉลองและพระบัญญัติเรื่องอาหาร
โดยพื้นฐานแล้ว ทุกคนที่ติดตามนิกายนาซารีนถูกเรียกว่าเป็นพวกศาสนานอกรีต( นาซารีนนอกรีต) ! ซึ่งรวมถึง เปโตร , มาระโก, มัทธิว, ยากอบ, ยอห์น, เปาโล และอัครสาวกและสาวกของพระเยซูคนอื่นๆ
ถ้าพยายามค้นหาสาวกที่แท้จริงหนึ่งคนของพระคริสต์ในพันธสัญญาใหม่ที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูลโดยรวมตามที่คริสตจักรบิดาระบุว่าเป็นคนนอกศาสนา! คุณจะไม่พบใคร!
แต่เรากลับเห็นว่าบรรพบุรุษของคริสตจักรยุคแรก ๆ นั้นต้องการที่จะแยกความแตกต่างจากเขาเหล่านั้นเดินตามอย่างที่พระเยซูทำและพวกเขาถูกเรียกว่า นิกายนาซารีน
มาดูคำพูดของ แอพแฟเนียส แห่งศตวรรษที่สี่ “คริสตจักรบิดา”
“แต่สมาชิกพรรคนิกายนี้ ไม่ได้เรียกตัวเองว่าคริสเตียน แต่เรียก“ นาซารีนส์” อย่างไรก็ตามพวกเขาเป็นยิวที่สมบูรณ์ พวกเขาไม่ใช้เพียงพันธสัญญาใหม่แต่ใช้พันธสัญญาเดิมด้วยเหมือนกับที่ชาวยิวทำ พวกเขาไม่มีความคิดที่แตกต่างกัน แต่สารภาพทุกอย่างตามที่พระบัญญัติที่ให้ประกาศและในรูปแบบของยิว – ยกเว้นความเชื่อในพระเมสสิยาห์ !สำหรับพวกเขายอมรับทั้งการฟื้นคืนชีพของคนตายและการทรงสร้างของพระเจ้าทุกสิ่งและประกาศว่าเป็นพระเจ้าองค์เดียว และบุตรชายของพระองค์คือเยชูวาพระเมสสิยาห์ พวกเขาได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีในภาษาฮิบรู เพราะว่าในบรรดาพวกเขามีพระบัญญัติทั้งฉบับศาสดาพยากรณ์และ…จดหมาย…ที่อ่านเป็นภาษาฮีบรูเหมือนกับพวกยิวเป็นแน่ พวกเขาแตกต่างจากชาวยิวและแตกต่างจากคริสเตียนเฉพาะในต่อไปนี้ พวกเขาไม่เห็นด้วยกับชาวยิวเพราะศรัทธาในพระเมสสิยาห์ แต่เนื่องจากพวกเขายังคงถูกพันธนาการตามพระราชบัญญัติ – การเข้าสุหนัตวันสะบาโตและหยุดพัก – พวกเขาไม่สอดคล้องกับคริสเตียน พวกเขาไม่ใช่อะไรนอกจากเป็นชาวยิว พวกเขามีพระกิตติคุณตามมัทธิวครบถ้วนในภาษาฮีบรู เพราะเห็นได้ชัดว่าพวกเขายังคงเก็บรักษาสิ่งนี้ไว้ในตัวอักษรฮีบรูตามที่เขียนไว้ในตอนแรก ” (แอพแฟเนียส Epiphanius; Panarion 29)
ในคำพูดที่อ้างถึงนี้ แอพแฟเนียส ยืนยันว่านิกาย นาซารีนส์ ยังคงรักษาโทราห์เช่นเดียวกับชาวยิวอื่น ๆ ! นอกจากนี้ยังอธิบายถึง นาซารีนส์ในแบบที่เราพบสาวกรุ่นแรกของพระคริสต์ดำเนินชีวิตอย่างไร
เมื่อเราอ่านที่นี่เราเห็นว่าพวกเขาแตกต่างจาก วิธีของนาซารีนส์นมัสการ เหมือนเปาโล เปโตรอัครสาวกและสาวกรุ่นแรก ๆ ทั้งหมดได้ทำ และโดยการออกจากทางเดิมของคริสตจักรในศตวรรษแรก ๆ ที่ติดตามพระคริสต์ พวกเขาสร้างศาสนาใหม่ขึ้นมาโดยตามหลักคำสอนของมนุษย์.
ในจดหมายถึงออกัสติน และ เจอโรม ยอมรับอย่างน่าอัศจรรย์เกี่ยวกับ นิกายนาซารีนส์:
ในเรื่องการอภิปราย ด้วยเหตุนี้ หรือข้าพเจ้าควรบอกความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับการสรุปนี้:: ตั้งแต่การประกาศพระกิตติคุณของพระคริสต์ชาวยิวที่เชื่อก็ทำได้ดีในการรักษาพระราชบัญญัติเช่นในการถวายเครื่องบูชาอย่างที่เปาโลทำในการเข้า สุหนัตเด็ก ๆ เหมือนที่เปาโลทำในกรณีทิโมธีและรักษาวันสะบาโตของชาวยิวเหมือนกับที่ชาวยิวทุกคนคุ้นเคย หากสิ่งนี้เป็นจริง เราตกอยู่ในหลักคำสอนที่ขัดแย้ง (ของคนเหล่านั้น) ที่เชื่อในพระคริสต์ ซึ่งถูกสาปแช่งโดยคริสตจักรบิดาสำหรับผู้สอนผิด นั่นพวกเขาได้ผสมผสานพิธีกรรมจากพระราชบัญญัติกับพระกิตติคุณของพระคริสต์และการยอมรับความเชื่อของพวกเขา ในสิ่งที่ใหม่โดยไม่ต้องกลับไปหาสิ่งที่เก่าในสมัยของเรามีนิกายหนึ่งอยู่ท่ามกลางชาวยิวทั่วธรรมศาลาทั้งหมดของภาคตะวันออกซึ่งเรียกว่านิกายของ พวกละทิ้งศาสนา และถูกประณามโดยพวกฟาริสี สมัครพรรคพวกในนิกายนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “นาซารีนส์” พวกเขาเชื่อในพระคริสต์พระบุตรของพระเจ้าซึ่งเกิดจากหญิงพรหมจารีนางมารีย์ และพวกเขากล่าวว่า พระองค์ผู้ที่ทนทุกข์ทรมานภายใต้ปอนเทียสปีลาตและฟื้นคนชีพอีกครั้ง ก็เป็นเช่นเดียวกับผู้ที่เราเชื่อ แต่ในขณะที่พวกเขาต้องการที่จะเป็นทั้งชาวยิวและชาวคริสต์พวกเขาไม่ได้เป็นอะไรสักอย่าง ดังนันข้าพเจ้าขอวิงวอนท่าน คิดเสียว่าท่านได้ถูกเรียกให้มารักษาแผลเล็กน้อยของข้าพเจ้าซึ่งไม่มีอะไรจะพูดนอกจากการถูกทิ่มแทงมีรอยขีดข่วนจากเข็ม เพื่ออุทิศความสามารถของท่านในศิลปะการรักษาแผลอันเจ็บปวดนี้ซึ่งถูกเปิดออกโดยหอก ด้วยแรงผลักดันของหอก เพราะแน่นอนว่าไม่มีสัดส่วนระหว่างความผิดของเขาที่แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ที่คริสตจักรบิดาความคิดเห็นเกี่ยวกับพระคัมภีร์และความผิดของเขาที่ขักชวนเข้ามาในคริสตจักรเป็นโรคระบาดของพวกนอกรีตที่น่ารังเกียจที่สุด อย่างไรก็ตามหากเราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรับชาวยิวเข้าสู่คริสตจักรพร้อมกับประเพณีที่กำหนดโดยธรรมบัญญัติของของพวกเขา ถ้ากล่าวโดยย่อก็จะเป็นการประกาศความถูกต้องตามธรรมบัญญัติสำหรับพวกเขาที่จะดำเนินการต่อในคริสตจักรของพระคริสต์ ในสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคยกับการปฏิบัติในธรรมศาลาของซาตานข้าพเจ้าจะบอกความคิดเห็นของข้าพเจ้าว่าในความเป็นจริง พวกเขาจะไม่มาเป็นคริสเตียน แต่พวกเขาจะทำให้พวกเรากลายเป็นยิว (เจอโรม; จดหมาย 75)
(1)“ Minæans” เด่นชัดเป็นละติน จากภาษาฮิบรู (MINIM) (เอกพจน์คือ MIN) ซึ่งเป็นคำในภาษาฮิบรูสมัยใหม่หมายถึง“ผู้ละทิ้งศาสนา” แต่เดิมเป็นคำย่อสำหรับวลีภาษาฮีบรูแปลว่า “บรรดาผู้เชื่อในพระเยชูวาชาวนาซารีน”
ออกัสตินและเจอโรมบอกเราว่าหลักคำสอนของนาซารีนส์ ซึ่งยังคงรักษาโทราห์เริ่มต้นด้วย“การประกาศเรื่องของพระคริสต์” และนี่เป็นหลักคำสอนที่เปาโลรักษาไว้ แต่“คริสตจักรบิดา”ของศาสนาคริสต์ ประกาศว่าเป็นหลักคำสอนที่ผิด
ดังนั้น การบันทึกของคริสตจักรบิดา ออกัสตินและเจอโรม นิกายนาซารีน เริ่มต้นโดยพระคริสต์และเปาโล และคริสเตียนที่ไม่ใช่ยิวเริ่มต้นขึ้น เมื่อความเชื่อของนิกายนาซารีนถูกปฎิเสธและหาว่าสอนผิด โดย”คริสตจักรบิดา”
ตอนนี้แสดงให้เราเห็นว่ามีสองกลุ่มที่แตกต่างกัน:
- กลุ่มนิกายนาซารีนส์ เริ่มต้นจากพระคริสต์ และเปาโลเป็นหนึ่งในผู้นำที่สอนเราให้เดินตามที่พระเยซูทรงดำเนินและเป็นผู้เลียนแบบพระองค์
- กลุ่มคริสเตียนไม่ใช่ยิว ที่ปฏิเสธต่อพระราชบัญญัติในพระคัมภีร์เดิม และเรียกผู้ที่ยึดถือพระราชบัญญัติทั้งหมดว่าเป็นพวก ลัทธินาซารีนส์ พวกนอกรีตและผู้สอนผิด
ดังนั้น ในการสรุปคำถามของผมกับคุณ:
คุณเป็นสาวกของพระคริสต์หรือเป็นสาวกของคริสตจักรบิดา?
เป็นเพียงข้อคิดตอนปิดท้าย:
พระเยซูทรงรักเพื่อนบ้านของพระองค์อย่างที่พระองค์ทรงบัญชา หากเราเป็นสาวกของพระองค์และเดินตามที่พระองค์ทรงเดินโดยทำสิ่งที่พระองค์ทำเราต้องรักเพื่อนบ้านเหมือนที่พระองค์ทรงรัก
“เราให้บัญญัติใหม่ไว้แก่เจ้าทั้งหลายคือให้เจ้ารักซึ่งกันและกัน เรารักเจ้าทั้งหลายมาแล้วอย่างไร เจ้าจงรักกันและกันด้วยอย่างนั้น ถ้าเจ้าทั้งหลายรักกันและกัน ดังนี้แหละคนทั้งปวงก็จะรู้ได้ว่าเจ้าทั้งหลายเป็นสาวกของเรา” (ยอห์น 13:34-35)
ขอพระเจ้าอวยพรท่านและอย่าลืมทดสอบทุกสิ่ง!
Other Resources used:
https://thenazareneway.com/sabbath/39_prohib_sabbath.htm
https://www.ucg.org/bible-study-tools/booklets/sunset-to-sunset-gods-sabbath-rest/jesus-christ-and-the-sabbath
https://www.119ministries.com/
https://en.wikipedia.org/wiki/Nazirite
anti-Semitism
http://www.yashanet.com/library/fathers.htm
https://en.wikipedia.org/wiki/Epistle_of_Ignatius_to_the_Magnesians